
บางคนก็บอกว่า ศาลตัดสินไปแล้วไม่ควรรื้อฟื้น เพราะจะเป็นการทำลายขบวนการยุติธรรม
จะกลายเป็นว่า มีการพยายามลบล้างคำตัดสิน ทำให้คนผิดกลายเป็นคนถูก
ลองคิดอีกแง่ดีไหมครับ
คืออย่าคิดว่าเป็นการพิจารณาที่ตัว "ทักษิณ ชินวัตร"
แต่ให้คิดว่าเป็นการ "ทบทวนกระบวนการยุติธรรม" เพื่อ "ความยุติธรรม"
อะไรผิดก็ว่าผิดไป อะไรถูกก็ว่าถูกไป อะไรกฎหมายเอื้อมถึงก็ถึงไป อะไรไม่ถึงก็ต้องปล่อย
แล้วค่อยหาทางเอื้อมให้ถึงตามกรอบตามกฎบทบัญญัติอันถูกอันควร
อย่างที่เคยยกตัวอย่างมาแล้ว กรณีอัล คาโปน ในอเมริกา
ทางการพยายามจัดการอย่างไรก็ไม่ถึง ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าอัลนั้นค้าของเถื่อน ฆ่าคน และทำผิดกฎหมายอื่น ๆ สารพัด
แต่กระบวนการยุติธรรมของอเมริกาไม่ยอมบิดเบือนกฎหมายเพื่อเล่นงาน
สุดท้าย ทางการก็ได้ช่องในเรื่องภาษี เอาอัล คาโปน เข้าคุกได้ในเรื่องหนีภาษี
เมื่อกฎหมายเป็นกฎหมาย ไม่ใช่เครื่องมือของอำนาจ เมื่อยุติธรรมคือยุติธรรม ไม่ใช่เครื่องมือทางการเมือง
บ้านเมืองอเมริกาก็เดินหน้ามาจนถึงทุกวันนี้
หลังปฏิวัติ สิ่งที่ตามมาก็คือการทำลายล้างทักษิณและเครือข่าย
สิ่งนี้ยุติธรรมไหม ?
คำตัดสินที่ออกมาคลุมเครือไหม
เช่น เรื่องที่ดินรัชดา อันนี้ไม่ต้องพูดมาก เบื่อแล้ว
เรื่องยึดทรัพย์สี่หมื่นหกพันล้าน ยึดเพราะถือว่าเป็นลาภมิควรได้ ไม่ได้ยึดเพราะทุจริตคดโกง
ยึดเพราะเห็นว่านโยบายของทักษิณเอื้อประโยชน์ให้ตัวเอง ทำให้หุ้นมีมูลค่าสูงขึ้น
แต่ถามว่านโยบายผิดอะไร ผิดตรงไหน ก็มีคำตอบว่า นโยบายไม่ผิดอะไร ไม่ผิดตรงไหน แต่เอื้อ
เฮ้อ...
แล้วเอื้อก็ดันเอื้อเฉพาะตัวทักษิณ คนอื่นไม่เอื้อ ไม่ยึด
เฮ้อ...
นโยบายไม่ผิด แต่เอื้อ แค่นี้ก็มึนตื๊บ
การจะใช้การตีควาทางกฎหมายเพื่อเอาผิดกันนั้นมันทำได้ แต่ด้วยสามัญสำนึกล่ะ ?
มันถูกไหม ? ควรไหม ?
กรณีทักษิณ มันทำให้ประเทศไทยล้าหลังไปหลายร้อยปีครับ
แบบนี้จะไม่มีใครกล้าหือ กล้าคิด กล้ากระทำ กล้าเปลี่ยนแปลง
ต้องสยบยอมค้อมคำนับให้กับอำนาจนอกระบบอยู่ตลอด
เพราะหือเมื่อไร ก็โดนทั้งคุกและยึดทรัพย์
ทบทวนเพื่อความยุติธรรม ไม่ใช่ทบทวนเพื่อทำความสะอาดทักษิณ แต่คือการทำความสะอาดพิษเน่า ๆ จากการปฏิวัติ
บิดเบี้ยวและเสียหายมาหลายปีแล้วครับ
ในบ้านเมือง ใครก็เลวได้ ผิดได้ แต่กระบวนการยุติธรรมนั้น จะเลวไม่ได้ ผิดไม่ได้
ถ้ากระบวนการยุติธรรมบกพร่อง ผิดพลาด เราก็ต้องยอมรับและแก้ไขทบทวน
ไม่ใช่อ้างตรรกะบวม ๆ เพียงแค่ว่า ตัดสินไปแล้ว ต้องเคารพ
เฮ้อ...