ตอนนี้รักษาฟรี แต่ ตัวยาโดนตัดไปหลายตัวครับ รักษาแบบไม่มีคุณภาพ คุณเป็นข้าราชการไม่รู้หรอครับ
ว่ารายชื่อยา ในบัญชียาหลัก โดนตัดออกไปหลายรายการ
การนำ 30 บาทกลับมา โดยให้การรักษา ครอบคลุมเหมือนเดิม ผมว่า มันก็มีประโยชน์กับประชาชนทั่วไปดีอยู่แล้วครับ
ต้องมองว่า โครงการ 30 บาท กะโครงการ รักษาฟรี ของปชป น่ะ มันเป็นการเอาโครงการเก่าเค้ามาเปลี่ยนชื่อ เพื่อให้คนลืมภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค
แต่ด้วยการบริหารงาน หรืออะไรก็แล้วแต่ ทำให้มีการตัดตัวยา บางตัว ออกจากบัญชียาหลัก
ทั้งนี้ รัฐบาล ปชป อาจมองว่า ค่าใช้จ่ายตรงนี้ มันไม่สำคัญ เท่างบประมาณของกองทัพ กระมัง
เลยลดรายจ่ายตรงนี้ ไปเพิ่มให้กับที่เค้าเห็นว่าจำเป็นสำหรับการเป็นรัฐบาลของเขาแทน
ส่วนเรื่องค่าจ้าง ป.ตรี อย่างที่ผมบอกคุณทั้ง หน้าไมค์ หลังไมค์หล่ะครับ ว่าหากจะทำจริงๆ มันก็ทำได้ วิธีที่ผมบอกคุณ ก็เป็นวิธี นึง
ค่าแรงขั้นต่ำ 300 ก็ตั้งควบคู่กับการ ลดอัตราการจัดเก็บภาษีครับ ปีแรก 23% ปีต่อไป 20% ด้วยครับ
จะเห็นว่ามีส่วนที่จ่ายเพิ่ม คือค่าจ้าง และส่วนที่จ่ายน้อยลง คือภาษีเงินได้
ลองยกตัวอย่าง บริษัท ที่ มีพนักงาน ที่รับค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ประมาณ 50 คน
ผมคาดว่า แรงงานที่รับเงิน อยู่ในฐานค่าแรงขั้นต่ำ ส่วนใหญ่น่าจะอยู่ใน ประเภท อุตสาหกรรม และ ก่อสร้าง
เอาเป็นว่า บริษัท รับเหมาก่อสร้างละกัน
ค่าแรงขั้นต่ำ ในกทม คือ 215 บาทต่อวัน เดือนนึง ทำงาน 30 วัน คิดเป็นรายได้ 215x30 =6450
อันนี้ ใจดีคิดให้แบบเต็มเดือนนะครับ
หากเป็นลูกจ้างรายวันล่ะก็ จะหนักกว่านี้อีก นะครับ วันหยุด ไม่ได้เงินนะครับ
หากเพิมขั้นต่ำให้เป็น 300 บริษัท รับเหมาดังกล่าว จะต้องจ่ายเงินเดือนพนักงานเพิ่มขึ้นคือ 300-215x30x50= 127500 บาทต่อเดือน
ปีนึงก็ 127500x12=1530000 บาทครับ
แล้วคุณคุดว่าบริษัท รับเหมา ที่จ้างลูกจ้างประจำเยอะขนาด 50 คนเนี่ยจะกำไรเท่าไหร่
(ที่บอกว่า ลูกจ้างประจำเพราะมีการจ้างงาน ตลอดปีครับ นั่นหมายถึง บริษัทนี้มีงานตลอดปีด้วย)
ผมตีเอาคร่าวๆ ว่า 20 ล้านละกัน หากกำไรสุทธิ อยู่ที่ 20 ล้าน ภาษี ก็คือ 6 ล้านในการเก็บแบบเดิม แต่หาก มีการลดภาษีลง จะจ่ายภาษีแค่ 4 ล้านครับ
ส่วนต่างภาษี ที่น้อยลง 2 ล้านนี่เอาไปถัวค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ก็จะเหลือ เงินอีกนิดหน่อยด้วยซ้ำครับ
คราวนี้เงินค่าจ้างขั้นต่ำ ที่เพิ่มขึ้นจะมีประโยชน์อะไรอีก ทราบไหมครับ
มันจะไปกระตุ้นการใช้จ่ายของธุรกิจ ระดับรากหญ้าครับ เงินมันเกิดการหมุนเวียนครับ
ผมจะยกตัวอย่างให้ดูสักนิด
เอาเป็นว่าไซต์งานที่ผมยกตัวอย่างการคิดค่าจ้าง ในตอนแรกละกัน ไซต์งานนั้นมีลูกจ้าง 50 คนที่ได้ปรับค่าจ้างแล้ว ทำงานก่อสร้างหมูบ้านหมู่บ้านนึงอยู่
มีร้านขาย ลูกชิ้นปิ้งอยู่ใกล้ๆไซต์งาน 1 ร้าน พนักงานทุกคน จะมาซื้อลูกชิ้นปิ้งกินทุกวันเนื่องจากอร่อย วันละ 1 ไม้ต่อคน
พอมีค่าแรงมากขึ้น แทนที่จะซื้อกินเอง วันละไม้ ก็ซื้อกลับบ้านไปฝากลูก อีก คนละ 1 ไม้
ผลคือ แม่ค้าลูกชิ้นมีรายได้เพิ่มขึ้น จากเดิม 1 เท่า เมื่อแม่ค้าลูกชิ้น ขายดีกว่าเดิม 1 เท่า ก็ต้องสั่งลูกชิ้นมาขายเพิ่มขึ้น 1 เท่า
ผู้ผลิตลูกชิ้นก็ได้กำไรจากแม่ค้า เพิ่มจากเดิม 1 เท่าตัว และต้องผลิตลูกชิ้นเพิ่มขึ้น จึงต้องทำการสั่งเนื้อมาผลิตเพิ่ม
พ่อค้าขายเนื้อ ขายเนื้อได้มากขึ้น ก็ต้องสั่งเนื้อจากฟาร์มเพิ่มขึ้นอีก
เห็นไหมครับว่ามันกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไร
การลดภาษี เงินได้ที่เก็บจากเอกชน เพื่อให้เอกชน ผันเงินส่วนนี้ไปเป็นค่าจ้างขั้นต่ำนั้น
มันเหมือนการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าเลยครับ
เงินมันเข้าไปหมุนในระบบ ได้จริงๆ ตรงนี้ผู้ประกอบการ ก็ต้องใจกว้าง ไม่ใช่หวังแต่ จะได้อย่างเดียว
ยิ่งหากได้ดำเนินนโยบาย ตามที่ได้บอกไว้ มีการสร้างเมืองใหม่ มีการเปิดให้ต่างชาติ มาลงทุน
แรงงานไทย ที่ไปทำงาน ก็ได้ สตาร์ท ที่ 300เลย ไม่ต้องมารับวันละ 200 กันอยู่แบบนี้
หากไม่คิดจะปรับปรุง มันก็จนกันอยู่ทั้งชาติแบบนี้แหล่ะครับ