เอาระบบเศรษฐกิจของประเทศไปเสี่ยงด้วยค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เพียงเพื่อหวังเข้ามาเป็นรัฐบาล
|
 |
นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทเป็นนโยบายที่ถือได้ว่าแย่มาก มีขึ้นด้วยความมุ่งหวังจะชักจูงผู้ใช้สิทธิที่เป็นแรงงานให้ลงคะแนนให้ เป็นนโยบายที่หวังให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐจากการเลือกตั้ง หรือได้เป็นรัฐบาลโดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดกับขีดความสามารถในการแข่งขันของสังคมไทย หรือผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมด
ปกติค่าแรงขั้นต่ำในยุคปัจจุบัน ถูกกำหนดโดยคณะกรรมการไตรภาคีจากรัฐ นายจ้าง และฝ่ายแรงงาน และกลไกนี้ทำหน้าที่ได้ดีมาในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ได้มีปรับอัตราค่าแรงให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจมาตลอด สมดังที่ได้มีการตรากฎหมายตั้งคณะกรรมการนี้ไว้ในปี 2541 คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ ในช่วงปี 2554
ปัจจุบันอัตราการว่างงานของระบบเศรษฐกิจไทยถือว่าต่ำมาก และมีการจ้างงานมากขนาดที่ว่า คนต่างชาติไม่ว่าจะ เขมร ลาว พม่า ฯลฯ จำนวนมากมาย ก็พยายามเข้ามาทำงานในไทย นั้นย่อมสท้อนว่า โครงสร้างค่าจ้างแรงงานของไทยตั้งแต่ค่าจ้างในระดับต่ำสุดขึ้นไป มีอัตราสูงพออยู่แล้ว และเกิดแรงจูงใจมากพอต่อคนทำงานทั้งในประเทศหรือคนต่างชาติ และอยู่ในอัตราที่นายจ้างหรือผู้ประกอบการจ้างได้ จ่ายไหว และที่สำคัญทำให้ระบบเศรษฐกิจไทยฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจโลกในช่วงปี 2551-2553 มาได้
การที่อยู่ๆ จะมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นเป็น 300 บาท แม้จะอ้างว่าเฉพาะเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง เพราะเมื่อปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ค่าจ้างของแรงงานที่อยู่สูงกว่านั้นไปทั้งหมด ก็ย่อมมีการปรับตามไปด้วยทั้งระบบ และไม่เฉพาะแต่กรุงเทพฯ และที่จริงค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ก็มีการปรับมาเป็นระยะตลอด ตามสภาพเศรษฐกิจ ตามประกาศของคณะกรรมการค่าจ้างแรงงานที่ประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายรัฐบาลสี่คน ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละห้าคน ตามนี้
หากตัวเลข 300 บาทต่อวัน เป็นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ฝ่ายลูกจ้างหรือแรงงานต้องการเป็นพื้นฐานจริง ก็น่าจะมีการพูดหรือเป็นเรื่องใหญ่มานานแล้ว มิใช่อยู่ๆ ฝ่ายการเมืองก็มาเสนอปรับเป็น 300 บาทเสียเอง ซึ่งเป็นการปรับแบบก้าวกระโดดโดยไม่มีเหตุผลอะไร นอกจากจะเอาใจผู้ลงคะแนนเสียงที่เป็นผู้ใช้แรงงาน จึงเป็นการกระทำที่น่าจะเสียหายเพราะในอนาคต ก็จะมีพรรคการเมืองหาเสียงแข่งกันเสนอปรับค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อหวังผลการเลือกตั้งอีก โดยเอาระบบเศรษฐกิจของประเทศมาเป็นเดิมพัน
และการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท นั้นคือขึ้นมาเกือบร้อยละ 39.5 ย่อมทำให้การผลิตที่ต้องใช้แรงงานมาก มีภาระต้นทุนมาก ไปไม่รอด สุดท้ายจะเหลือแต่อุตสาหกรรมหรือกิจการที่ใช้แรงงานน้อย มีผลต่อการจ้างงานโดยรวม อัตราการว่างงานจะเพิ่มสูงขึ้นเพราะเจ้าของกิจการที่มีความสามารถในการจ่ายค่าจ้างมีจำนวนลดลง ที่แน่นอนก็คือ นักลงทุนชาวต่างชาติย่อมเลือกที่จะไปลงทุนในที่ต้นทุนประกอบการและค่าจ้างต่ำกว่า เมื่อการลงทุนลดลงจากที่ควรจะเป็น การจ้างงานย่อมลดลงการว่างงานย่อมเพิ่มขึ้น
คำพูดที่ว่า ขึ้นแค่นี้ผู้ประกอบการหรือนักลงทุนรับไหว ก็พูดกันไป แต่ในความเป็นจริง นักลงทุนหรือผู้ประกอบการ ไม่ว่าชาวไทยหรือชาวต่างชาติเขาคิดเช่นนั้นหรือ เขาจะลงทุนมากขึ้นเช่นนั้นหรือ หากมีการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแบบพรวดพราวมากแบบนี้ ซึ่งแน่นอนย่อมส่งผลต่อโครงสร้างค่าจ้างของระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ
ด้วยการขึ้นค่าจ้างขั้นตำแบบไม่มีปี่ไม่ขลุ่ย แต่เป็นเพียงการขึ้น เพื่อหวังผลทางการเมืองแบบนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่ถือว่าละเมิดหลักเดิมที่วางไว้ดีแล้ว คือการพิจารณาค่าจ้างที่เหมาะสมผ่านไตรภาคี และการขึ้นเพื่อหวังผลทางการเมืองแบบนี้ ย่อมส่งผลเสียต่อความสามารถในการแข่งขันของระบบเศรษฐกิจไทยโดยรวม ซึ่งย่อมถือว่าเป็นการเอาประเทศเข้าไปเสี่ยงเพียงเพื่อหวังเอาแพ้ชนะทางการเมือง ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีเลย
ก็ขอใช้ิสิทธิ มองต่างมุมฝากไว้ในกระทู้นี้

.
แก้ไขเมื่อ 13 ก.ค. 54 14:45:27
จากคุณ |
:
thyrocyte
|
เขียนเมื่อ |
:
13 ก.ค. 54 14:43:23
A:58.137.0.146 X:
|
|
|
|