ยึดเรือบิน..คำชี้แจงอย่างเป็นทางการจาก เว๊บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ มติชนออนไลน์
|
 |
เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 15 ก.ค.
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. คดีดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างบริษัทวาลเทอร์ เบา ของเยอรมนีกับรัฐบาลไทย โดยบริษัทฯ เป็นโจทก์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทย กรณีผิดสัญญาโครงการทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์ ตั้งแต่ปี 2548 ตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับเยอรมนีเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนต่างตอบแทน ค.ศ. 2002 ซึ่งคณะอนุญาโตตุลาการได้ตัดสินชี้ขาด เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ให้รัฐบาลไทยชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัทฯ เป็นเงินประมาณ 30 ล้านยูโร บวกดอกเบี้ยและค่าดำเนินการของคณะอนุญาโตตุลาการอีกเกือบ 2 ล้านยูโร
ข้อ2.ข้าม
3 . ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเยอรมนีอีกทางหนึ่งเพื่อให้มีการบังคับคดี ซึ่งศาลเยอรมนีได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2554 ให้ยึดทรัพย์สินรัฐบาลไทยโดยมิได้มีการสอบถามหรือไต่สวนฝ่ายไทย ซึ่งนำไปสู่การอายัดเครื่องบินพระที่นั่งของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฏราชกุมาร ซึ่งจอดอยู่ที่ท่าอากาศยานนครมิวนิก เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2554 โดยเข้าใจผิดว่าเป็นเครื่องบินของรัฐบาลไทย
4 . รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวของฝ่ายเยอรมันเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรงอันเกิดจากความเข้าใจผิด เนื่องจากเครื่องบินลำดังกล่าวเป็นเครื่องบินส่วนพระองค์ มิใช่ทรัพย์สินของรัฐบาลไทย ฝ่ายไทยได้ดำเนินการติดต่อทางการเยอรมันทันทีที่ได้รับทราบเรื่องในทุกช่องทางเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและหลักฐานยืนยันว่า เครื่องบินลำดังกล่าวเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์
5 . รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศย้ำว่า กรณีที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องระหว่างบริษัทวาลเทอร์ เบา กับรัฐบาลไทย รัฐบาลไทยเคารพและไม่มีความตั้งใจที่จะแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของเยอรมนี ตลอดจนเข้าใจว่าการดำเนินการเรื่องนี้อาจต้องใช้เวลาบ้าง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยหวังว่า กรณีที่เกิดขึ้นจะได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุด
6 . สำหรับคดีฟ้องร้องระหว่างบริษัทวาลเทอร์ เบา กับรัฐบาลไทย สำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลไทยให้เป็นผู้รับผิดชอบในคดีดังกล่าว กำลังอุทธรณ์คำตัดสินของศาลนครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่จะต้องดำเนินต่อไป
โดยในการดำเนินการของฝ่ายไทยนั้น สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ได้ให้ข้อมูลข้างต้นแก่กระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี และรัฐมนตรีว่าการฯ ได้มีหนังสือถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีแสดงความกังวลอย่างยิ่งของฝ่ายไทยและขอให้ฝ่ายเยอรมันถอนการอายัดเครื่องบินลำดังกล่าวในทันที และได้สนทนาทางโทรศัพท์กับปลัดกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี กระทรวงฯ ได้เชิญอุปทูตสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย มารับทราบข้อเท็จจริง และคณะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย นำโดยอัยการสูงสุดและรองอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ได้เดินทางไปถึงนครมิวนิคแล้ว ขณะที่เอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ได้ติดต่อทนายความเยอรมันเป็นที่ปรึกษาประเด็นด้านกฎหมาย นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการฯ จะเดินทางไปกรุงเบอร์ลินในคืนวันที่ 14 กรกฎาคม 2554 เพื่อพบกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีในบ่ายวันที่ 15 กรกฎาคม 2554 เพื่อให้มีการถอนอายัดเครื่องบินลำดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
ข้อต่อสู้ของรัฐบาลไทยคือ เครื่องบินลำดังกล่าวไม่ใช่ของรัฐบาล ตามรายละเอียดนี้
พล.อ.ต.มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวว่าเครื่องบินโบอิ้ง 737-400 ของไทยถูกอายัดไว้ที่ประเทศเยอรมนีนั้น ทางกองทัพอากาศได้ตรวจสอบข้อมูลแล้วพบว่า เป็นเครื่องบินที่กองทัพอากาศไทยได้ทูลเกล้าฯถวายเมื่อปี พ.ศ.2550 ในช่วงที่ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ ทำให้สถานะของเครื่องบินลำดังกล่าวไม่ใช่เครื่องบินของทางราชการแต่อย่างใด แต่เป็นเครื่องบินส่วนพระองค์ "กองทัพอากาศยืนยันว่าไม่ใช่เครื่องบินของราชการ หรือรัฐบาล เพราะได้มีการทูลเกล้าฯถวายไปแล้ว มีหนังสือทูลเกล้าฯอย่างถูกต้อง ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้ขอหนังสือดังกล่าวไปเพื่อนำไปยืนยันกับทางเยอรมนี ซึ่งกองทัพอากาศได้ส่งไปให้เรียบร้อยแล้ว" โฆษกกองทัพอากาศ กล่าว
และเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 22:00 มติชนออนไลน์
นาสอภิสิทธิ์นายกฯกล่าวว่า
ได้มอบหมายให้อธิบดีกรมขนส่งทางอากาศ ไปดูเอกสารที่บริษัทดังกล่าวยื่น เพราะเข้าใจว่าเป็นข้อมูลเก่า ที่อาจเอามาจากเว็บไซต์ ในช่วงที่เครื่องบินดังกล่าวอยู่ในความดูแลของกองทัพอากาศ แต่ไทยมีข้อมูลชัดเจนในเรื่องนี้
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกำลังประสานอยู่ที่เยอรมนี และเรื่องนี้รัฐบาลไทยจะดำเนินการอย่างเต็มที่ เพื่อปกป้องเกียรติยศและชื่อเสียงของไทย
ในการแก้ปัญหานี้ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ถูกต้องเหมาะสมและคดียังไม่ถึงที่สิ้นสุด หากศาลตัดสินอย่างไร ไทยก็พร้อมที่จะดำเนินการอยู่แล้ว ไม่หนีไปไหน จึงไม่จำเป็นต้องทำเช่นนี้
จากข้อความข้างต้น มีสองประเด็นที่นายอภิสิทธิ์กล่าวอ้าง คือ
1.เครื่องบินไม่ใช้ของรัฐยึดไม่ได้ ความจริงคือ เครื่องบินพระที่นั่งถูกยึด
2.คดีไม่ถึงที่สิ้นสุด ความจริงคือ ศาลเยอรมนีได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2554 ให้ยึดทรัพย์สินรัฐบาลไทย และไปปิดหมายที่เครื่องบิน เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2554
ซึ่งแสดงว่าคดีถึงที่สุดแล้ว แต่นายอภิสิทธิ์ไม่รับรู้ จึงเกิดเหตุการณ์อัปยศนี้ขึ้น เป็นที่เสื่อมเสียพระเกียรติและชื่อเสียงของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ต่อนานาประเทศ
จากคุณ |
:
โลกนิติฉบับไทย
|
เขียนเมื่อ |
:
17 ก.ค. 54 12:50:09
A:124.122.206.124 X:
|
|
|
|