ความจริงที่ปรากฎ ก็คือ รบ.ไทย ได้ถูกพิจารณาจาก คณะอนุญาโตตุลาการ ให้เป็นผู้ต้องชำระเงินประมาณ ๔๐ ล้านยูโร หรือประมาณ ๒.๐๐๐ ล้านบาท ให้กับ บ.เอกชนเยอรมันนี และในการนี้ ได้มีอำนาจศาลของเยอรมันนี ออกใบอนุญาตให้อายัด ทรัพย์สินของ รบ.ไทย (โบวอิ้ง ๗๓๗) เมื่อวันที่ ๑๒ ก.ค. ที่ผ่านมา
๑.) กรณีถูกพิจารณา ให้เป็นผู้ชำระเงิน ทาง รบ.ไทย ได้แถลงถึง การอยู่ในช่วงขณะดำเนินงาน การยื่นอุทรณ์ ต่อคณะอนุญาโตตุลาการ อันหมายถึง คดีความยังไม่ถึงจุดสิ้นสุด มาเป็นเหตุผลถึงการที่ยังไม่ยอมชำระเงิน
ลักษณะของคดี มีการพิจารณาตัดสินในกรณี ....ชดเชยค่าเสียหาย.... โดย รบ.ไทย เป็นฝ่ายกระทำผิดสัญญา ...การค้าระหว่างประเทศ... หรือเป็นผู้ให้ต้องชำระค่าเสียหาย อันก่อนการพิจารณา คู่กรณีได้รับโอกาสให้แสดงยืนยันข้อมูลและหลักฐานที่มี ในเมื่อถึงจุดพิจารณา ก็จะหมายถึงว่า ข้อวินิจฉัยตามข้อมูลหลักฐาน ตามกฎหมายสากลของ คณะอนุญาโตตุลาการ ได้มีมติเห็นชอบ ให้ รบ.ไทย เป็นฝ่ายที่ต้องชดเชยค่าเสียหาย
การที่จะยื่น อุทรณ์ ตามหลักกฎหมายสากล ก็คือการที่ รบ.ไทย สามารถมีหลักฐานข้อมูล และเหตุผลใหม่ ที่สามารถทำให้การพิจารณาที่ล่วงแล้วมานั้น อาจเกิดข้อเปลี่ยนแปลงไปได้ และยังจะต้องอยู่ภายในช่วงระยะเวลาอุทรณ์ เท่านั้น ....การรับอุทรณ์.... ของ คณะอนุญาโตตุลาการ ก็จะมีผลบังคับโดยปริยายที่คู่กรณีมิสามารถ ดำเนินการใดๆ ตามคำพิจารณาก่อนหน้านี้ได้ อันหมายถึง กรณีออกใบอายัด ทรัพย์สินของ รบ.ไทย โดยศาลเยอรมันนี ตามตัวบทกฎหมายของเยอรมันนี จะบังเกิดขึ้นมิได้อย่างแน่นอน
ฉนั้นสามารถตั้งข้อสังเกตุได้ว่า คำแถลงของ รบ.ไทย ในกรณีอุทรณ์ ในขณะที่อยู่ในสภาวะรักษาการ ที่มิสามารถอนุมัติชำระหนี้ได้ก็คือ การยืดเวลาให้ปัญหานี้ ตกไปอยู่กับ รบ.ใหม่ ที่มิเพียงแต่จะต้องเป็นผู้ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ของ คณะอนุญาโตตุลาการ แต่ยังต้องตกเป็นผู้รับผิดชอบกับ ความเสียหายที่บังเกิดขึ้นตามมา แทนตัวเอง อย่างแน่นอน อีกด้วย
๒.) กรณีอายัด โบวอิ้ง ๗๓๗ ทาง รบ.ไทย ได้แถลงการเพื่อถอนอายัด ด้วยเหตุผลที่ว่า มิได้เป็น ทรัพย์สิน ของ รบ.ไทย
ลักษณะของ ...กรณีอายัด... โดยคำสั่งศาล ตามกฎหมายเยอรมันนี เป็นลักษณะของการใช้ กระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ความเป็นธรรม ระหว่าง ประชาชน ในคดีแพ่ง (ปรับหนี้สิน) อันตามปรกติ จะเริ่มด้วยการพิจารณาชี้ชัด ในกรณี ...เจ้าหนี้ / ลูกหนี้... เป็นพื้นฐาน อันในกรณีนี้ ก็คือคำพิพากษา ของ .....คณะอนุญาโตตุลาการ.... นั่นเอง กรณีพิจารณาตามต่อก็คือ การพิจารณาเจตจำนงศ์ของ ลูกหนี้ ระหว่าง ...ยินยอมแต่ไม่สามารถชำระหนี้ หรือสามารถแต่ไม่ยินยอมชำระหนี้... อันจากข้อมูลหลักฐานส่อให้เห็นว่า รบ.ไทย อยู่ในสภาวะที่สอง คือสามารถแต่ไม่ยินยอม อันก็เป็นเหตุให้มีคำพิจารณาพิพากษาของศาล ให้ จนท.ส่วนศาล เป็นผู้อายัดทรัพย์สิน (โบวอิ้ง ๗๓๗) เพื่อกดดันให้ชำระหนี้ภายในระยะเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้
เมื่อผ่านพ้นไป ก็จะให้อำนาจต่อไป คือ ให้นำเอาทรัพย์สินอายัด ...ประมูลขายทอด... เพื่อให้ได้มาซึ่ง จำนวนหนี้ตกค้าง พร้อมดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายกับการทวงหนี้ (ศาล / ทนาย / จนท.ส่วนศาล / ค่าระวางทรัพย์สินอายัด ฯลฯ) จากเงินที่ได้ และถ้าเงินประมูลได้มาไม่ครบถ้วนก็อาจทำให้มีการ อายัด ทรัพย์สินอื่นๆ อีกต่อไป ส่วนเหลือเกิน (ซึ่งมีโอกาสน้อยมาก) ก็จะส่งคือนให้กับผู้ถูกอายัด ต่อไป การยื่นคำร้องขอให้ถอนอายัด ที่ออกเป็นทางการมาแล้ว จะทำได้ก็ต่อเมื่อ ....สิ่งที่ อายัดเอาไว้ ผู้ที่เป็นลูกหนี้ มิใช่เจ้าของ ตามกฎหมายเยอรมันนี.... โดยที่ รบ.ไทย จนบัดนี้ ยังไม่สามารถมีข้อมูลและหลักฐานชี้ชัดได้ นั่นเอง
อาจเป็นได้ ที่จากกฎหลักการปฎิบัติของไทย จะนำข้ออ้าง (ทูลเกล้าฯ ถวาย) เป็นการรับแยกทรัพย์สิน ของ รบ.ไทย แต่ถ้าดูจากหลักกฎหมายไทย ก็ยังชี้ชัดเช่นเดียวกันว่า ...เป็นทรัพย์สินของ รบ.ไทย.... และถ้ายืนหยัดว่า ได้เปลื่ยนเจ้าของไปแล้ว ก็จะเกิดคดีความโดยทันที ในกรณีการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน นอกสิทธิอันชอบธรรม ของ ผบ.ทอ. ในขณะที่ รบ.ไทย นำเอาไปแถลงเป็นข้อมูลหลักฐาน ก็ทำให้ตัวเองตกอยู่ในขอบเขตุของการสนับสนุนการกระทำผิด ไปด้วยโดยปริยาย ข้อคดีความผิดในหน้าที่เพิ่มก็คือ ในเมื่อ กองทัพอากาศ เป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายกับอุปกรณ์เครื่องใช้ ที่ไม่เป็นทรัพย์สินของส่วนราชการ อย่างเป็นผู้ชำระค่าเชื้อเพลิง ค่าจอด จากงบประมาณ ให้กับ เอกชน (ไม่ใช่เพื่อราชการ) อีกด้วย
การที่จะเอา เงินแผ่นดิน (เงินหลวง) จาก รบ.ไทย ไปชดใช้เพื่อแรกคืนเอา โบวอิ้ง ๗๓๗ กลับคืนมา ซึ่งในช่วงรักษาการ ทำไม่ได้อยู่แล้วนั้น อันก็จะมีผลทางกฎหมาย คือ การยอมรับการเป็นทรัพย์สิน ของ รบ.ไทย อันไม่เพียงแต่จะเป็นการลบล้าง กรณี ทูลเกล้าฯ ถวายไปแล้ว ว่าไม่เป็นความจริงตามจำนงค์ (หลอกลวง) ในเมื่อเป็นเช่นนี้ เปิดโอกาสให้กรณีพิพาทสากล สามารถใช้กฎหมาย ให้มีการอายัดได้อีกเสมอไป ในอนาคตข้างหน้า ที่ไม่สามารถควบคุมได้ นั่นเอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โบวอิ้ง ๗๓๗ ลำนี้ เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้เป็นพาหนะเดินทางออกนอกราชอานาจักร โดยเฉพาะ
การที่จะเอาเงินราชวัง (เงินส่วนพระองศ์) ไปถอนถ่าย โบวอิ้ง ๗๓๗ กลับคืนมา อันแท้ที่จริงเป็นเงินใช้หนี้แผ่นดิน (เงินภาษี) อันก็จะไม่มีผลทางกฎหมาย อย่างอื่นขึ้นมาได้ คือ ไม่เพียงเป็นแต่ การรับรองสภาวะ การไม่เป็นเจ้าของ และรับรองในฐานะผู้ใช้ เพียงเป็นค่าถ่ายเพื่อให้สามารถใช้ได้ต่อไปในอนาคต เท่านั้น ในขณะเดียวกัน รบ.ไทย ก็ยังคงเป็นเจ้าของเช่นเดิม และต้องชดใช้ ค่าถ่าย พร้อมดอกเบี้ย และค่าเสียหายที่มาจาก ...ได้ทูลเกล้าฯ ถวายไปแล้ว.... คืนให้อย่างครบถ้วนอีกด้วย สิ่งที่สำคัญก็คือภาพพจน์ ที่ไม่สมควร จะบังเกิดขึ้นอย่างเลื่ยงไม่ได้ ทั้งในไทย และโลกสากล กับสถาบัน ทันที
ทางแก้ที่น่าจะเป็นไปได้ ก็คือ การให้บุคคลที่สาม ที่ยินยอม ชำระหนี้แทนตัวลูกหนี้ คือ รบ.ไทย ให้เสร็จแล้วสิ้นโดยเร็วที่สุด และอย่างช้าก็คือ ก่อนกำหนด ที่โบวอิ้ง ๗๓๗จะถูกกำหนดจัดประมูลขายทอด ส่วน รบ.ไทย มีความจำเป็นให้การเปลื่ยนสภาพ การเป็นเจ้าของ ให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายสากลโดยทันที ที่ได้รับคืน เพื่อป้องกันการถูกยึดซ้ำสอง ส่วนกรณีอุทรณ์ ที่ รบ.ไทย กำลังดำเนินอยู่ ถ้ามีผลสำเหร็จ คือไม่ต้องชำระหนี้ ก็สามารถเป็นผู้เรียกร้อง เงินวางล่วงหน้า คืนให้กับ บุคคลที่สาม และถ้าไม่เป็นผลสำเหร็จ บุคคลที่สาม ก็คือเจ้าหนี้ใหม่ ของ รบ.ไทย โดยที่ จะต้องดำเนินการตามความถูกต้อง และกฎหมาย กันต่อไป
อันจะเห็นได้ชัดเจนว่า เป็นกรณีระดับชาติ สำหรับ ปชช.ไทย ทุกคน ไม่ใช่กรณีที่สามารถ ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การหา บุคคลที่สาม ที่ยินยอมตามสถานะการณ์ ให้เข้ามาเป็นผู้ วางเงินชำระหนี้ ให้สำเหร็จทันความสูญเสีย ที่กำลังจะตามมา ส่วนการสอบสวนหรือพิจารณาผู้รับผิดชอบ โดยกระบวนการยุติธรรม ในขณะและสถานะการณ์เช่นนี้ เป็นกรณีที่อยู่ในลำดับต่ำกว่ามาก คือ เมื่อเกิดเพลิง มิใช่มองข้ามและต้องดับก่อน ๆ หาผู้ผิด นั่นเอง ครับ
แก้ไขเมื่อ 18 ก.ค. 54 02:17:51