จากส่วนหนึ่งของข้อมูล วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7540 ข่าวสดรายวัน
วัน เดียวกัน ที่พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ (ทอ.) พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ. ให้สัมภาษณ์กรณีเครื่องบินพระราชพาหนะ โบอิ้ง 737 ถูกศาลเยอรมันอายัด ว่า กองทัพอากาศได้รับการประสานเรื่องเอกสารเกี่ยวกับเครื่องบินดังกล่าว โดยส่งหนังสือยืนยันไปว่าเครื่องโบอิ้ง 737-400 ลำนี้กองทัพอากาศน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ตั้งแต่ปี 2550 และไม่ได้ประจำการอยู่ในกองทัพอากาศ ขั้นตอนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกใบสำคัญ รวมถึงการจดทะเบียนนั้นกรมการขนส่งทางอากาศดำเนินการไปเรียบร้อยตั้งแต่ ครั้งนั้น
****** ความจริงที่ทราบกันอยู่ว่า โบว์อิ้ง ๗๓๗ กองทัพอากาศ ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน (เงินภาษี) ไปเป็นผู้จัดซื้อ อันลักษณะเช่นนี้ ก็หมายความว่า เครื่องบินลำนี้ เป็นทรัพย์สิน ของทางราชการ หรือสรุปได้ว่า เป็นทรัพย์สินของ รบ.ไทย โดย กองทัพอากาศเ ป็นเพียงผู้ใช้งาน และผู้ดูแล รวมทั้งก็มิได้เป็นเจ้าของโดยตรง ผู้ที่นับทางกฎหมายได้ว่า เป็นเจ้าของแท้จริง ก็คือ รบ.ไทย ฉนั้น กองทัพอากาศ ควรแสดงข้อมูลหลักฐาน ของสิทธิอำนาจ ที่อนุมัติให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายความเป็นเจ้าของ ได้ หลักฐานข้อมูลอันนี้ ก็คือมติเห็นชอบ จาก รบ. ในระดับ ครม. หรือมติเสียงข้างมากที่ได้มาจาก รัฐสภา เช่นเดียวกับกับการได้มาซึ่งงบประมาณจัดซื้อ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ นั่นเองครับ
จากการแถลงการ และข้อมูลที่แพร่หลายในสื่อมวลชน ระบุเพียงว่า ได้ทูลเกล้าถวายไปตั้งแต่ปี ๒๕๕๐
๑.) ผบ.ทอ. ควรชี้แจงถึง กรณี อำนาจสิทธิในฐานะเป็นข้าราชการ ที่สามารถยกมอบทรัพย์สินส่วนราชการ (เจ้าของ) ในลักษณะ การให้ขาด (ให้เป็นเจ้าของรับทอด) กับ บุคคล (ทูลเกล้าฯถวาย) ตามกฎหมาย โดยภาระการ ได้
๒.) ผบ.ทอ. ควรชี้แจงถึงกรณี สิทธิอำนาจตามหน้าที่ หลังจากการ ยกมอบทรัพย์สินส่วนราชการ (การเป็นเจ้าของ) ไปแล้วเหตุผลใด ถึงยังต้อง เป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ด้วยงบประมาณแผ่นดิน ที่เกี่ยวกับ การใช้ และการซ่อมแซมรักษา ทรัพย์สิน ต่อมา
๓.) ผบ.ทอ. ควรชี้แจงถึงกรณี เหตุผล การยื่นของบประมาณจัดซื้อ อันเป็นเหตุสมควรให้ รบ. สามารถอนุมัติ และตรวจสอบความจำเป็นได้ ตามอำนาจหน้าที่ อันหมายถึง เป็นการจัดซื้อ เพื่อใช้ในราชการ หรือ เพื่อการอื่นๆ ใด เป็นต้น
๔.) ผบ.ทอ. ควรชี้แจงถึงกรณี เหตุผล การยื่นของบประมาณประจำปี ที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย กับทรัพย์สินที่ไม่ อยู่ในการเป็นเจ้าของๆ ส่วนราชการ อันเป็นเหตุสมควรให้ รบ. สามารถอนุมัติ และตรวจสอบความจำเป็นได้ ตามอำนาจหน้าที่ อันหมายถึง เป็นค่าใช้จ่ายที่ อยู่ในความจำเป็น ของ กองทัพอากาศ เป็นต้น
๕.) ผบ.ทอ. ควรชี้แจง ถึงสาเหตุ การจดทะเบียน และสนธิสัญญาผูกพัน ที่เกี่ยวกับ การเป็นเจ้าของ (ที่หมดสิ้นไปแล้ว ในปี ๒๕๕๐) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ ค่าสนามจอด ค่าเชื้อเพลิง ฯลฯ นอกพระราชอาณาจักรไทย ว่ามีการแจ้งปรับเปลื่ยนการเป็นเจ้าของ หรือไม่ เมื่อใหร่ อย่างใด และเหตุผลใดถึงยังไม่มีการระบุเช่นนี้เป็นทางการ
สิ่งที่ ผบ.ทอ. และ รบ.ไทย จะมีหลักฐานหรือข้อมูลใดๆ ก็ตามที่มีความชอบ ทางกฎหมายเฉพาะใน ราชอาณาจักรไทย มิได้หมายถึงโดยปริยาย ที่จะต้องเป็นที่รับรองตาม หลักกฎหมายสากล อย่างเช่น ทรัพย์สินส่วนราชการ ที่ใช้ในราชการนอกพระราชอาณาจักร (ทรัพย์สินสถานฑูตไทย) อันเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีหลักกฎหมายสากลใด ที่จะให้อำนาจศาลสามารถ อายัด ได้อย่างแน่นอน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็คือ การใช้ในส่วนราชการ นั่นเอง ครับ คำถามที่บังเกิดขึ้น ก็คือ สถาบันเบื้องสูง และทรัพย์สินสถาบันเบื้องสูง ของไทย ในลักษณะกฎหมาย ถือเป็นส่วนราชการส่วนหนึ่ง และการเช่นเดียวกัน เสมือนกับลักษณะของ หน่วยราชการฑูต (กระทรวงการต่างประเทศ) และมีการใช้ที่ถือว่า เป็นการใช้ในส่วนราชการ หรือไม่ นั่นเอง ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะ มุมมองจากความรู้สึกเข้าใจ ระหว่างไทยสู่สากล และสากลสู่ไทย ไม่ใช่มุมมองเดียวกันได้ ฉนั้นตราบใดที่ เป็นเช่นนี้ สมควรอย่างยิ่ง ที่ควรมีการให้เหตุผล และข้อมูลทั้งสอง มุมมอง กับสังคมไทย เพื่อทำความเข้าใจกับสิ่งที่กำลังบังเกิดขึ้นในขณะนี้ ครับ
แก้ไขเมื่อ 22 ก.ค. 54 19:42:52