ขอหน้าไมค์เรื่องราวของ วอเตอร์ บาว กับ ดอนเมืองโทลเวยย์ กรณี ข้อกฎหมาย และ การถือหุ้น
|
 |
ขอหน้าไมค์เรื่องราวของ วอเตอร์ บาว กับ ดอนเมืองโทลเวยย์ กรณี ข้อกฎหมาย และ การถือหุ้น
ผมหลังไมค์ไปอธิบายสมาชิก 3 ท่านเรื่องของ วอเตอร์ บาว ต่อมา ท่านสมาชิกท่าน หนึ่งก็หลังไมค์มาถามผมอีก ผมขออนุญาตมาลงกระทู้ เพื่อแชร์ให้สมาชิกท่าน อื่น ๆ ได้รับทราบความเป็นมา โดยไล่ตามลำดับเหตุการณ์ดังนี้
ถาม-ทำไม วอเตอร์ บาว ถึง มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ดอนเมืองโทลล์เวย์ ตอบ-การก่อสร้างดอนเมืองโทลเวย์ นั้น เป็น การก่อสร้างแบบ Consortium ครับ เพราะ ณ เวลานั้น เราต้องการ เงินทุน และ เทคโนโลยี่การก่อสร้างจากต่างประเทศ
ถาม-ทำไมตอนเริ่มก่อสร้าง มีบริษัทเยอรมันจริง แต่ ไม่เห็นมีชื่อ วอเตอร์ บาว ตอบ-วอเตอร์ บาว เป็น ผู้ถือหุ้นของ บริษัทเยอรมันอีกทอดหนึ่ง
ถาม-บริษัท เยอรมัน ทำไมธุรกิจในไทยได้ ตอบ-บริษัทต่างชาติ ถึงแม้จะเป็นต่างชาติที่ถือหุ้น 100% ก็สามารถทำธุรกิจได้แต่ จะต้องไม่ทำธุรกิจที่สงวนไว้ให้กับคนไทย หรือ บริษัทไทย(คนไทยถือหุ้นมากกว่าครึ่ง)
ถาม-ทำไม วอเตอร บาว สามารถยึดเครื่องที่เยอรมันได้ ทั้ง ๆ ที่ ทำสัญญากันใน เมืองไทย ทำไมไม่ฟ้องศาลไทย ตอบ-บริษัทต่างชาติที่มาทำนิติกรรมในไทย จริงอยู่เป็นเขตอำนาจศาลไทย แต่ ถ้า เขาได้รับความเสียหาย เขามีสิทธิเลือกที่จะฟ้องร้องเรียกคืนความเสียหายในประเทศ บ้านเกิดเขา
ยกตัวอย่าง บริษัทไทย โดยรัฐบาลเขมรโกง บริษัทไทยก็มีสิทธิยื่นฟ้องศาลไทย เพื่อให้ ศาลใช้อำนาจศาล อายัดทรัพย์ ของทรัพย์สินที่เป็นของรัฐบาลเขมรไนไทยครับ
ถาม-วอเตอร์ บาว ถือหุ้นเพียง 9.87% น้อยมาก ตอบ-วอเตอร์บาว มีนิติสัมพันธ์กับ ดอนเมืองโทลเวย์อยู่ 2 ชนิด คือ 1. เป็นผู้ถือหุ้น และ 2. เป็นร่วมผู้ดำเนินการก่อสร้างทางด่วน ผมเองไม่แน่ใจว่า เขาได้รับชำระค่า ก่อสร้างจาก ดอนเมืองฯ ครบถ้วนหรือยัง
ถาม-ทำไม รัฐบาลไทยต้องชดใช้ ตอบ-ที่รัฐบาลไทยต้องชดใช้ เพราะ ตามสัญญาที่ ดอนเมืองโทล์เวย์ ได้ทำสัญญากับ รัฐบาลไว้นั้น มีการกำหนดกรอบระยะเวลาการขึ้นค่าผ่านทางไว้แน่นอน
พอถึงกำหนดเวลาจริง ๆ อาจจะเป็นเพราะ รัฐบาลต้องการบรรเทาความเดือดร้อนของ ประชาชน รัฐบาลไทย ไม่อนุญาตให้ขึ้นราคา นี่คือเหตุผลการฟ้องร้อง เพราะ รัฐบาล ไทยเป็นคนทำผิดสัญญา ซึ่งทำให้ รายได้ของ ดอนเมืองฯ ไม่เป็นไปตามแผน
ถาม-วอเตอร์ บาว สามารถฟ้องร้องเรื่องการทุจริตภายในองค์กรได้ไม่ใช่หรือ ตอบ-ต้องเรียนก่อนว่า ดอนเมืองโทลเวย ไม่ใช่ การทางพิเศษ เพราะ ดอนเมืองโทลเวย์ เป็น บริษัทเอกชน และ ไม่มีเรื่องการทุจริตภายในแต่อย่างใดครับ
ถาม-ยังมีการอุทธรณ์ได้ตามข้อกฎหนดของอนุญาฯ ใช่หรือไม่ ตอบ-เนื่องจาก วอเตอร์ บาว ฟ้องศาลเยอรมัน ผมเองไม่แน่ใจว่า กฏหมายเยอรมัน ถือว่า คณะอนุญาโตตุลาการ คือที่สุดของข้อพิพาษหรือไม่ อันนี้ ไม่กล้าไปก้าวล่วง
ถาม-ทำไม ศาลเยอรมันสามารถยึดเครื่องบินที่ไม่ใช่ของรัฐบาล ตอบ-โจทก์ ยื่นเอกสารหลักฐาน การจดทะเบียน การทำประกันภัย ซึ่งต่างแสดงให้ศาล เห็นว่า ผู้เป็นเจ้าของเครื่องนั้น คือ รัฐบาลไทย ศาลต้องเชื่อจากพยานเอกสารตามโจทก์
ถาม-ศาลได้ถอนอายัดแล้วหรือใช่หรือไม่ ตอบ-ผมว่ามันเป็นการเล่นคำพูด (ไม่รู้เป็นคำพูดจากศาล หรือ จากสื่อ) มากกว่า เหตุ การณ์ที่เกิดขึ้นจริง เพราะ การใช้คำว่า ถอนอายัด "แต่" มันแปลว่า ไม่ได้ถอนอายัด แต่ประการใด มันเป็นเพียง ให้ จำเลย เลือกที่จะถูกอายัดเป็นเครื่องบิน เป็น Bank Guarantee หรือ เป็นเงินสด แต่ การอายัดนั้น ยังคงอยู่
ถาม-จากนี้ อะไรจะเกิดขึ่น ตอบ-ศาลเยอรมันจะมีการพิจารณาเอกสารจากทั้งโจทก์ และ จำเลย ว่า เครื่องบินเป็น ของใคร ถ้าไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ไม่ได้เป็นของรัฐบาล ศาลจะปล่อยเครื่องไป และ วอเตอร์ บาว คงต้องดำเนินการด้านศาล เพื่อ พิสูจน์ทราบ ทรัพย์สินของ รัฐบาลไทย ต่อไป
จากคุณ |
:
โบกกรัก
|
เขียนเมื่อ |
:
23 ก.ค. 54 19:17:53
A:41.138.237.202 X:
|
|
|
|