ในขณะที่คนชั้นสูงพอใจที่เป็นคนชั้นสูง และอยากให้ลูกหลานได้เป็นคนชั้นสูงชั่วฟ้าดินสลาย ชาวนาไม่รู้ หรือไม่สามารถเป็นอะไรอื่นได้ ก็ต้องรักษาความเป็นชาวนาของตัวไว้ และต้องส่งต่อให้ลูกหลานอย่างไม่มีทางเลือก
"แต่คนชั้นกลางอยากไต่เต้าให้สูงขึ้นไป จนกลายเป็นคนชั้นสูง พวกเขาจึงเป็นคนกลุ่มเดียวที่ไม่อยากเป็นอย่างที่เขาเป็น ด้วยเหตุดังนั้น วัฒนธรรมของคนชั้นกลางในทุกสังคม จึงเป็นวัฒนธรรมกระแดะเสมอ"
อาจารย์นิธิสรุปว่า คนชั้นกลางที่กำลังผุดขึ้นมา (emerging)ในสังคมต่าง ๆ มีธรรมชาติ "จารีตนิยม" สูง เพราะในกระบวนการแปรเป็นคนชั้นกลางทางวัฒนธรรม คือการสลัดทิ้งรากเหง้าตัวเอง หันไปยึดอุดมคติทางวัฒนธรรมของคนชั้นสูง แล้วสร้าง "วัฒนธรรมกระแดะ" ขึ้นเป็นของตนเอง
มีตัวอย่างทางสังคมของ "วัฒนธรรมกระแดะ" คือ "ไม่ชอบผู้หญิงแก้ผ้า, ตกใจที่ลูกหลานคนชั้นเดียวกับตัวขายบริการทางเพศผ่านอินเตอร์เน็ต, (แต่ถ้าเป็นลูกหลานคนชั้นล่าง ก็รับได้ และสรรเสริญว่า มีคุณแก่สังคมที่ทำให้คดีฉุดคร่าอนาจารน้อยลง), ยอมเสียเงินไปซื้อการปฏิบัติธรรมมาบริโภค, รังเกียจการคอร์รัปชั่นเข้ากระดูกดำ แต่พร้อมจะหยิบแบงก์ร้อยเผื่อแผ่แก่ตำรวจจราจร ฯลฯ"
แต่คนจนๆคนเล็ก ๆ ยังไม่มีโอกาสดัดจริตใช้วัฒนธรรมกระแดะ เพราะยังถูกกดทับด้วยสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมไทย อาจารย์นิธิสรุปว่า
"คนจน... หรือคนเล็กๆทั้งหลาย มันถูกวัฒนธรรม ถูกอะไรในสังคมไทยกดทับมาเป็นเวลาร้อยๆปี มันขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ฉะนั้นเมื่อไหร่ที่เขาลุกขึ้นยืนแล้วสู้ได้ เขาจะเปลี่ยนไป คือเหมือนกับเกิดใหม่กลายเป็นคนใหม่อีกคนขึ้นมา"
ที่มา คอลัมน์ สยามประเทศไทย มติชน
ก็เพราะความกระแดะ อยากเป็น "ชนชั้นสูง" นี่แหละ
มันถึงได้ "ดูถูก" คนอื่นเพื่อให้ตัวเอง "รู้สึก" ว่าเหนือกว่า
ดูถูกคนหลุ่มหนึ่ง แล้วก็ไปหมอบคลานกับคนอีกกลุ่มหนึ่งเพื่อขอเป็นพวก
นี่คือ "บคุลิก" ของ "ชนชั้นกลวง" นักดัดจริตแห่งสยามประเทศ