Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
มุมมองปัญหาละเอียดอ่อน กับกรณี อายัด โบว์อิ้ง ๗๓๗ ติดต่อทีมงาน

ในการ อายัด เครื่องบิน พระราชพาหนะ จากคำสั่งศาล ของ เยอรมันนี ที่บังเอิญ เป็นกรณีเชื่อมโยงอย่างไม่สมควร กับ สถาบันเบื้องสูง ของไทย ขึ้นมา อันจุดพื้นฐาน คือ การดำเนินการทวงหนี้ ที่มาจากคำพิพากษา อนุญาโตตุลาการ ของเอกชน กับ รบ.ไทย โดยใช้ระบบการและอำนาจ จากศาลเยอรมันนี ซึ่งพาไปสู่ การอายัด ทรัพย์สิน ของ รบ.ไทย ทีี่มิได้ใช้ในราชการ ในประเทศเยอรมันนี ทันทีที่บังเกิด การอายัด เครื่องบิน พระราชพาหนะ โดยจากข้อมูลระบุว่า เป็นทรัพย์สินของ รบ.ไทย ที่มิได้ใช้ในส่วนราชการ อย่างเช่น สถานฑูต รบ.ไทย ก็เร่งรัดยื่นคำร้องเร่งด่วน ขอให้ถอนอายัดโดยทันที อันโดยใช้เหตุผล การไม่เป็นเจ้าของ (ทรัพย์สินส่วนสถาบัน) และกรณีหนี้ ยังไม่ถึงที่สุด จากการตรวจสอบ ของศาลไม่มีเหตุผลสมควร ในกรณีโต้แย้ง การเป็นเจ้าของๆ รบ.ไทย เป็นสาเหตุ ให้ศาลไม่สามารถอนุญาตให้ถอนอายัดได้โดยทันที แต่ก็มีข้อผ่อนปรนกับการ อายัดพระราชพาหนะ โดยสามารถใช้วงเงิน จำนวน ๒๐ ล้านยูโร มาใถ่ถอนออกไป ส่วนกรณี ความถูกต้องของการออกใบอายัดของศาล จะเปิดพิจารณา กรณีคำพิจารณา ของ คณะอนุญาโตตุลาการ (กรณีเป็นหนี้ ของ รบ.ไทย) ตามกำหนดหมายศาลต่อไป

 

จากหลักสากล ยึดถือว่า คำพิจารณา ของ คณะอนุญาโตตุลาการ เป็นคำพิจารณาสิ้นสุด โดยคู่กรณีทั้งสองฝ่าย จะยอมรับตามนั้น การที่ รบ.ไทย อ้างถึง กรณียังไม่สิ้นสุด โดยอยู่ในการตรวจสอบเพื่อยื่นอุทรณ์ อันเป็นสาเหตุที่ยังไม่มีการชำระหนี้ นั้น ไม่ว่าจะมีข้อมูลหรือเหตุผลสมควร อย่างไรก็ตาม  ลักษณะของ คณะอนุญาโตตุลาการ ที่บังเกิดขึ้นได้จาก การสมยอมของคู่กรณี จะคงคำพิจารณาสิ้นสุดต่อไป ตราบใดที่คู่กรณีทั้งสองฝ่าย ไม่สมยอมให้มีการ ตั้ง คณะอนุญาโตตุลาการ ขึ้นใหม่ในระดับ อุทรณ์ การที่ คู่กรณีฝ่ายเยอรมันนี ดำเนินการทวงหนี้โดยใช้สิทธิตามกฎหมายเยอรมันนี เป็นเหตุผลที่เชื่อได้ว่า การพิจารณากรณีอุทรณ์ โดยคณะอนุญาโตตุลาการ จะไม่บังเกิดขึ้นได้ ฉนั้นจากจุดนี้ การเป็นลูกหนี้ของ รบ.ไทย จึงอยู่ในสภาวะ เป็นที่สิ้นสุด (ขาดอุทรณ์) ไปแล้ว นั่นเอง

 

พื้นฐานการพิจารณาของศาลเยอรมันนี ก็คือการตรวจสอบขั้นตอน ของการทวงหนี้โดยระบบแนวทาง การทวงหนี้ทางกฎหมาย โดยจะพิจารณารับรอง คำพิจารณา ของคณะอนุญาโตตุลาการ ถึงการเป็น ลูกหนี้ทางกฎหมาย กับหลักพิจารณาชี้ชัดตามกฎหมายเยอรมันนี อันหมายถึงการเรียกร้องให้ คู่กรณีทั้งสองฝ่าย ยื่นส่งสำนวนและข้อมูลหลักฐานเพื่อการพิจาณานั่นเอง ในแง่ของ กฎหมาย การที่ รบ.ไทย ไม่ยินยอมวางวงเงินประกัน ก็เป็นสิ่งสมควรประการหนึ่ง โดยแสดงออกถึงจุดยืน ของกรณียังไม่ถึงที่สิ้นสุด (อุทรณ์คำพิจารณา คณะอนุญาโตตุลาการ) และในขณะเดียวกัน คือการไม่เป็นเจ้าของๆ เครื่องบิน พระราชพาหนะ ที่ถูกอายัด (ข้อพิสูจน์ถึง ความผิดพลาดรุนแรงต่อสถาบัน จากคำสั่งศาล) การวางวงเงินประกัน ก็จะเป็นเสมือนหนึ่งว่า เป็นการยอมรับ สภาวะการเป็นเจ้าของ (ทรัพย์สมบัติของ รบ.ไทย) และสภาวะการเป็นหนี้ในฐานะสิ้นสุด นั่นเอง

 

ฉนั้นการไม่ยินยอม วางวงเงินประกัน ของ รบ.ไทย ก็คือการไม่ยอมรับ สภาวะการเป็นหนี้โดยสิ้นสุด และไม่รับรอง การเป็นเจ้าของ พระราชพาหนะ ถ้าคำพิจารณาตัดสินของศาล ยอมรับความถูกต้องของการ ออกอายัดทรัพย์สิน (หนี้สุดสิ้น) ก็จำต้องนำกรณี ของการเป็นเจ้าของ ขึ้นมาพิจารณา อีกครั้งพร้อมกันไปด้วยโดยปริยาย หลังจากที่ได้พิจารณาจากคำร้องเร่งด่วนไปแล้ว ถ้าคำพิพากษา ไม่ยอมรับความถูกต้อง การออกอายัดทรัพย์สิน อันหมายถึง คำพิจารณา ของ คณะอุณาโตตุลาการ ไม่มีผลสมบูรณ์ตามหลักกฎหมาย เยอรมันนี ก็จะเป็นที่มาของการยกถอนคำสั่งอายัด พระราชพาหนะ โดยไม่จำเป็นต้องพิจารณา การเป็นเจ้าของ ในคดีความนี้ไปในตัว ส่วนการยื่นอุทรณ์ ก็เป็นคดีใหม่ ระหว่าง คู่กรณีเยอรมันนี กับศาลเยอรมันนี ในกรณีระบบทวงหนี้ตามกฎหมาย เช่นเดียวกัน กับการเรียกร้องค่าเสียหาย ที่อาจบังเกิดขึ้น ระหว่าง รบ.ไทย ในฐานะตัวแทนของสถาบัน กับคู่กรณีฝ่ายเยอรมันนี ที่จะตามต่อมา

 

ฝ่ายคู่กรณีเยอรมันนี มองในแง่สำคัญ ของ พระราชพาหนะ ที่เข้ามาพัวพัน เพืยงเพื่อกดดันให้ รบ.ไทย รับรองคำพิจารณา ของ คณะอนุญาโตตุลาการ อย่างเป็นทางการ และก้าวไปสู่การชำระหนี้ ๔๐ ล้านยูโร เพราะวงเงินจำนวนนี้ มีความจำเป็นที่จะต้องนำไปชดใช้หนี้ ของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับค่าแรงงาน ที่เป็นเหตุให้ บ. ล้มละลาย เท่านั้น ฉนั้นการยื่นต่ออายัด พระราชพาหนะ ลำที่สอง อาจเข้าข่ายล่วงเกินสถาบัน ด้วยความจงใจ ขึ้นได้ อันก็เป็นเหตุให้ระงับ การดำเนินการ ลงไป เฉพาะในขณะนี้ ก็เป็นผลสำเหร็จกับการชี้กรณี เป็นหนี้ของ รบ.ไทย อย่างเป็นทางการอยู่แล้ว ที่ก่อนหน้านี้เป็นเรื่องที่สังคมไม่ได้รับทราบ และปฎิกริยานิ่งเฉยของ รบ.ไทย ไม่สามารถให้ก้าวสู่การชำระหนี้ได้ ไม่ว่าผลการพิจารณาตัดสินของศาลเยอรมันนี จะออกมาในรูปใดก็ตาม เป็นความกระจ่างแจ้งทั่วไปว่า รบ.ไทย เป็นหนี้กับ บ.เอกชน เยอรมันนี ตามคำพิจารณาของ คณะอนุญาโตตุลาการ อันสามารถเรียกร้องให้ชำระหนี้อย่างเป็นทางการเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ทำให้เกิดแถลงการ ของสถานฑูตเยอรมันนีในประเทศเทศไทย ตามข้อความขึ้นมาได้ นั่นเอง

 

ผลที่จะตามมา ไม่เพียงแต่ รบ.ไทย จะหลีกเลียงการชำระหนี้ ตามคำพิจารณาของ คณะอนุญาโตตุลาการ ได้ยากเย็น เสมือนกับหลีกเลี่ยงไม่ได้ เท่านั้น รบ.ไทย ยังมีความจำเป็นต้องตรวจสอบถึงกรณี ทรัพย์สิน ของ รบ.ไทย ในต่างประเทศ ที่ไม่อยู่ในสภาวะเพื่อภาระกิจส่วนราชการ ที่อาจถูกยึดและอายัดในโอกาสข้างหน้าได้ ไม่ว่าคำพิพากษาศาล จะยอมรับการเป็นเจ้าของ ของ รบ.ไทย กับ พระราชพาหนะ หรือไม่ก็ตาม ในขณะเดียวกัน ความผิดต่อสถาบัน ที่ได้บังเกิดขึ้นแล้ว ถ้า รบ.ไทย หาข้อพิสูจน์ตามหลัก กฎหมายสากล ถึงการไม่เป็นเจ้าของ พระราชพาหนะ หรือลักษณะขั้นตอนการทูลเกล้าถวาย ตามบัญญัติ รธน. และนิติกฎหมายไทย ก็จำต้องเป็นหน้าที่ ของ รบ.ใหม่ ที่จะต้องตรวจสอบหาผู้รับผิดชอบตามกฎหมาย อันมี รก.รบ. อภิสิทธิ์ รวมอยู่ด้วย  เพราะถ้าละการปฎิบัติ ก็จะเป็นผลให้ เป็นภาพพจน์กับการขาดขาดความเชื่อถือในเสถียรภาพ ของไทย ตามมาอย่างแน่นอน

 

ส่วนความสัมพันธ์ ระหว่างเยอรมันนี กับประเทศไทย ตามสถานะการณ์ ไม่มีส่วนผูกพัน หรือเป็นกรณีขัดเคือง อันมาจาก คำสั่งอายัด พระราชพาหนะ แต่อาจมีขึ้นโดย จากแถลงการรุนแรงของฝ่าย รบ.ไทย หรือสื่อมวลชนไทย ที่ไม่สมควรกับเหตุการณ์ นั่นเอง  

 

แก้ไขเมื่อ 26 ก.ค. 54 23:46:48

จากคุณ : พลายทมิฬ
เขียนเมื่อ : 26 ก.ค. 54 23:45:34 A:217.225.238.239 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com