การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ตามปรกติแล้วได้มอบหมายให้ กกต. มีอำนาจหน้าที่ กับการจัดการเลือกตั้ง ที่ให้มีความบริสุทธ เป็นธรรม และยุติธรรม กับการลงคะแนนเสียง อันเป็น มติชน ตามบทบัญญัติใน รธน. หรือระบบการปกครองในรูป ประชาธิปไตย การปฎิบัติหน้าที่ๆ นับได้ว่า อยู่ในความโปร่งสัยของ กกต. อย่างน้อยที่สุด ก็คือ การจัดทำและระบบเคลื่อนใหว ของจำนวนบัตรเลือกตั้ง ที่สามารถตรวจสอบได้ในทุกช่วงขณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นจุดสำคัญอันหนึ่ง อันจะทำให้เกิดความเชื่อมั่น กับการลงคะแนนเสียง ที่เป็นผลมาจากมติชน (บริสุทธ) นั่นเอง
จากการแสดงความโปร่งสัย ในการปฎิบัติหน้าที่ ของ กกต. ให้เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือทั้งในและนอกประเทศ ทำให้เกิดกรณี ที่ชาวต่างชาติ ที่ไม่มีส่วนเกียวข้องกับการเลือกตั้งในประเทศ ขอเข้าสังเกตุการณ์ การเลือกตั้ง ในเมื่อ กกต. ปฎิเสธการเข้าสังเกตุการณ์ ก็จำเป็นต้องมีมหัศจรรย์เข้าช่วย ที่ทำให้ เป็นข้อยืนยัน ถึงความเชื่อถือ ในความโปร่งสัย ของการเลือกตั้ง แทน
๑.) การจัดพิมพ์ บัตรเลือกตั้ง ของ กกต. ที่มีจำนวนบัตร์เกิน เป็นจำนวน ล้าน มากกว่า จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ทั้งๆ ที่ไม่มีสถิติข้อมูลว่า ในประเทศไทย เคยมีการใช้สิทธิ์ เต็มสมบูรณ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นตร์ หรือสำรองเพื่อการเลือกตั้งซ่อม หลังการเลือกตั้ง ก็ตาม
๒.) การจัดพิมพ์ บัตรเลือกตั้ง ของ กกต. ที่ส่อถึงความไม่เสมอภาค ในการให้ลงคะแนนเสียง ในกรณี เครื่องหมายประจำพรรค (โลโก้) อันตามปรกติจะไม่สามารถใช้เป็นบัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้ โดยทันที แต่การอนุญาตให้ใช้เข้าข่ายที่ ส่อถึง บัตรเลือกตั้งที่ขาดความยุติธรรม
๓.) การกำหนด วันเวลา ให้มีการลงเลือกตั้ง ของ กกต. ที่ไม่สามารถรองรับ ผู้มาใช้สิทธิ ในการให้เสียงเลือกตั้ง โดยครบถ้วน ทั้งในกรณีเลือกตั้งก่อนกำหนด และตามกำหนด อันถือได้ว่า เป็นกรณีบริหารผิดพลาด แต่การไม่จัดการให้ สามารถใช้สิทธิ์ ที่พลาดการลงคะแนนเสียง และยังอยู่ในกำหนด (๓๐ วัน) ของการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง เข้าข่ายความจงใจ ที่ให้ไม่ได้มาซึ่ง มติชน และความยุติธรรม ตามกฎบัญญัติ ของ รธน.
๔.) ในขณะช่วงเวลา ของการหาเสียงเลือกตั้ง มีกรณีกระทำผิด กฎหมายเลือกตั้ง โดยการโฆษณาชักชวน ให้โหวตโน จากกลุ่มบุคคล ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลงสมัครหาเสียงเลือกตั้ง อันเข้าข่าย ต่อต้านการเลือกตั้ง ได้โดย มิมีการดำเนินการ ตามอำนาจหน้าที่ ของ กกต. แต่ประการใด ทำให้ส่อถึงการบริหาร การเลือกตั้งโดยไม่อยู่ใน ลักษณะของการปฎิบัติหน้าที่อย่างชอบธรรม
๕.) ลักษณะของการ ใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง อย่างน้อยเพื่อแสดงถึงอิสสระภาพ การตัดสินใจ ของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง จำเป็นต้องเป็นการลงคะแนน (กาเลือกตั้ง) ในที่ลับเฉพาะ แต่ กกต. สามารถทำให้เกิด กรณีการลงคะแนนอย่างเปิดเผย รวมทั้งอยู่ในความแน๊ะนำของ กกต. อันแสดงแนวโนม้ ของการขาดอิสสระภาพในการลงคะแนน อันไม่ทำให้ได้มาซึ่ง ผลการเลือกตั้งของ มติชน
๖.) ในเมื่อ การลงคะแนนเสียง มีข้อระบุอย่างแน่ชัด กับการใช้บัตร์เลือกตั้ง สอง ใบระหว่าง การเลือก สส.เขตุ และ สส.บัญชีราย ชื่อ ของทุกการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อันจากความเป็นจริง ที่ปรากฎออกมา คือ จำนวนบัตร์เลือกตั้ง ทั้ง สองแบบ หลังจากได้ลงคะแนนเสียง มีจำนวนไม่เท่ากัน จำนวนมากเกินกว่า ขอบข่ายของความบังเอิญ
๗.) การเก็บรักษา บัตรเลือกตั้ง ที่สถานีตำรวจ (ในห้องขัง) เป็นข้อพิสูจน์อย่างหนึ่ง ถึงความโปร่งสัย กับการเคลื่อนใหว และจัดเก็บ กล่องคะแนนเสียงเลือกตั้ง ของ กกต. แต่ในเมื่อ กล่องบัตรเลือกตั้งปรากฎอยู่ใน ห้องขัง ที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน กับกล่องบัตร ที่นำเอามาเก็บ อยู่ก่อนหน้า ก็ส่อแสดงถึงความไม่โปร่งสัย ในกรณี เคลื่อนใหว และจัดเก็บ คะแนนเสียงเลือกตั้ง
๘.) หลังจากการ ใช้บัตรเลือกตั้ง กกต. สามารถตรวจสอบ จำนวนบัตรใช้ และบัตรเหลือ โดยจำนวน จะเป็นจำนวนเดียวกับ จำนวนจัดพิมพ์ ได้ทันที และก็อยู่ในขอบข่ายของการปฎิบัติหน้าที่โดยตรงอยู่แล้ว แต่จากความจริง หลังจากมีผู้หวังดี ไปพบกับ บัตรเลือกตั้ง ที่ถูกทิ้งก่อนที่ กกต. จะทราบถึงการสูญหาย ที่มาจากการตรวจสอบ จำนวนบัตร
๙.) เช่นเดียวกับ การนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง ที่ยะลา ในการนับครั้งแรก (๓ กค.) มีจำนวนบัตร ๕๖,๗๒๒ แต่การนับในครั้งที่ สอง (๓๑ กค.) มีจำนวนบัตร์ ๕๕,๙๑๘ โดยมีจำนวนบัตรสูญหาย ๘๐๔ ใบด้วยกัน อันนี้เป็นเพียงผลของการ นับคะแนนในเขตุเดียว อันเชื่อยากว่า จะเป็นเช่นนี้ในเขตุเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน กทม. เมื่อเป็นเช่นนี้ ผลการเลือกตั้ง ที่โปร่งสัย น่าจะใกล้เคืยงกับ ผลของโพลด์ที่ออกมา
๑๐.) อำนาจการประกาศ ผลการเลือกตั้ง ของ กกต. เป็นช่วงระดับปฎิบัติหน้าที่ ในส่วนที่สอง คือให้การเลือกตั้ง เป็นไปด้วยความยุติธรรมและโปร่งสัย โดยในระดับแรก คือการตรวจสอบ และรับรองคุณสมบัติผู้ สมัครลงเลือกตั้ง แต่ กกต. สามารถเอา กรณีคุณสมบัติผู้สมัคร ทั้งๆ ที่ กกต. เองได้ออกใบรับรองและอนุญาตให้ลงเลือกตั้งได้ไปแล้ว มาเป็นข้ออ้าง ถึงการไม่ยอมประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง
สิ่งมหัศจรรย์ ทั้ง ๑๐ เป็นเพียงตัวอย่างเผินๆ ที่บังเกิดขึ้นในการเลือกตั้ง ในระบบประชาธิปไตย ของไทย ที่ทั่วโลก ให้ความสัทธา ด้วยการส่ายหัวไปมา และตบหน้าผากตัวเอง จำนวนไม่น้อยทีเดียว แต่คนไทย ควรจะพูมใจ ที่เกิดการเลือกตั้ง อันเป็นที่มาของ ผู้แทนที่มาจาก มติชน ถึงแม้ว่ายังอีกใกล กับความเชื่อถือ ถึงการเลือกตั้ง หลังจากปฎิวัติยึดอำนาจ ที่เป็นไปอย่างโปร่งสัย ก็ตาม ก้มหน้าก้มตายอมรับ คงจะมีประโยชน์ และความสุขมากกว่า ที่จะหาผู้รับผิดชอบกับความมหัศจรรย์ เช่นนี้แน่นอน ครับ
แก้ไขเมื่อ 01 ส.ค. 54 04:36:56