พรก.ฉุกเฉิน ม. ๔ ในพระราชกำหนดนี้
" สถานการณ์ฉุกเฉิน " หมายความว่า สถานการณ์อันกระทบหรืออาจจะกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขันหรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์ส่วนรวม หรือการป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง
๑.) สถานการณ์อันกระทบหรืออาจจะกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การนำโลหิตไปราดเท ที่รัฐสภา หน้าบ้าน ของนายกฯ ประจำการในขณะนั้น และการชุมนุมยืดเยื้อ สร้างความเดือดร้อน ให้ กับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งขัดขวางการจราจร
๒.) สถานการณ์ เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ การเข้ายึดอาวุธ ทหาร และพื้นที่ ไทยคอม และการชุมนุมใช้ความรุนแรง เพื่อบุกรุกเข้าสู่สถาบันนิติบัญญัติ และทำร้ายร่างกายกับ จนท. รปภ. ของรัฐสภา
๓.) สถานการณ์ ทำให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน
การชุมนุม นปช. เป็นการยึดยื้อที่พร้อมขยายพื้นที่ (ราชประสงค์) และการ ข่มขู่กดดัน ให้สละการบริหารประเทศอันชอบด้วย รธน. และกฎหมาย ของ รบ.อภิสิทธิ์ รวมทั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)
๔.) มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
สถานการณ์ มีการยิง เอ็ม ๗๙ อย่างต่อเนื่อง สร้างความเสียหายกับส่วนราชการ ในกรุงเทพฯ และปริมนฑล รวมทั้งการข่มขู่กดดัน พร้อมขับไล่ด้วยกลุ่มชุมนุม กับการปฎิบัติหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัย ของ ทหาร
เหตุผลเหล่านี้ น่าจะเป็นที่มาของการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน และถือเป็นสิทธิคุ้มครอง การปฎิบัติการ ของ ศอฉ. ตามบัญญัติ รธน. และนิติกฎหมาย ของ รบ.อภิสิทธิ์ ที่จะนำมาอ้างต่อไปในกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งการดำเนินคดี ในข้อหา ผู้ก่อการร้าย กับ นปช. และแกนนำ ตามที่ผ่านมา รวมทั้งเป็นความเชื่อมั่นถึงการไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ จากสถานการณ์ที่บังเกิดขึ้น นอกเสียว่า
๑.) การชุมนุม ที่อยู่ในขอบข่าย สันติอหิงสา ตามสิทธิอำนาจ ของ บัญญัติ รธน. ไม่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๒.) การยึดอาวุธ เป็นการป้องกันตัว จากทหารที่พร้อมด้วยอาวุธสงครามประจำตัว ในขณะที่ขาดความคุ้มครองของ จนท.ตำรวจ ของกลุ่มชุมนุมโดยสันติวิธี ไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ
๓.) การขยายพื้นที่ เป็นลักษณะปรกติเมื่อผู้ใช้สิทธิชุมนุมเรียกร้อง เพิ่มจำนวนเกินกว่าพื้นที่รองรับ ไม่ทำให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศอยู่ในภาวะคับขัน
๔.) การยิง เอ็ม ๗๙ เป็นการกระทำนอกพื้นที่ของกลุ่มชุมนุม และก็ยังไม่มีข้อมูลหลักฐานพิสูจน์ได้ว่า มีส่วนผูกพันกับกลุ่มชุมนุม หรือแกนนำ และในกลุ่มชุมนุมที่มีการ เรียกร้องให้ยุบสภาเพื่อให้เลือก รบ. โดยมติชน อย่างสันติอหิงสา (ปลอดอาวุธ) ตามผลการตรวจสอบ ของ จนท.ตำรวจ ในพื้นที่ตลอดการชุมนุม อันพิสูจน์ได้ว่า ไม่มีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
ในเมื่อ ฝ่าย รบ.อภิสิทธิ์ ในสมัยที่ยังคงอยู่ในอำนาจหน้าที่ ก็เป็นไปได้ที่ จะไม่มีการ พิจารณาตรวจสอบโดยกระบวนการยุติธรรม (ตุลาการ) โดยเหตุผลในข้อ ๒ ในขณะนี้ ก็อาจด้วยเหตุผลข้อ ๒ เช่นกัน มีความจำเป็นที่ ไม่เพียงให้มีการพิจารณาตรวจสอบโดยกระบวนการยุติธรรม และอาจถึงกรณี ต้องประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน เพื่อการนี้ ในกรณี การต่อต้านจากอำนาจมืด อีกด้วย ครับ
แก้ไขเมื่อ 08 ส.ค. 54 10:35:40