เมื่อหลายวันก่อน มีการเสนอข่าวว่าผู้นำกบฎลิเบียถูกลอบสังหาร ในเนื้อข่าวให้รายละเอียดว่า อาจเกิดจากความขัดแย้งภายหลังการประกาศรับรองรัฐบาลกบฎโดยสหประชาชาติ ความไม่สงบในลิเบียดำเนินต่อไปเหมือนเดิมเป็นปกติ แต่วิธีการและเป้าหมายสุดท้ายรวมทั้งสถานะหรือตำแหน่งสุดท้ายของลิเบียเมื่อ เหตุการณ์ทั้งหมดถึงทางตันหรือคลี่คลายนั้นย่อมเปลี่ยนไป เปลี่ยนไปจากการลุกฮือของชาวลิเบียที่มีเป้าหมายเพียงโค่นล้มกัดดาฟีเพื่อ กำหนดชะตาประเทศใหม่ ไปเป็นความขัดแย้งระหว่างโลกกับลิเบีย และรัฐบาลเงากับรัฐบาลกัดดาฟี
เช่นเดียวกับความขัดแย้งในประเทศไทยแต่ มันแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับกรณีประเทศลิเบีย ตรงที่จุดเริ่มของลิเบียมาจากประชาชนได้ตระหนักถึงพลังมวลชนในการต่อสู้กับ อำนาจเก่า จนลามไปสู่รัฐกับรัฐ แต่ในประเทศไทย เป็นความขัดแย้งระหว่าง กลุ่มแนวคิดอนุรักษ์นิยม กับกลุ่มปฎิรูปนิยม(ไม่ใช่ปฏิวัติ)ที่ขัดแย้งกันมานาน จนส่งผ่านไปสู่มวลชนจากปัญหาความไม่ยุติธรรมในสังคมและปัญหาปากท้อง แต่ท้ายที่สุดตำแหน่งขัดแย้งสุดท้ายก็จะยังสถิตอยู่ที่กลุ่มเอากับกลุ่มไม่ เอาการปฏิรูปการเมือง ในสุภาษิตจีนมีคำกล่าวอยู่ว่าใครก็ตามที่ได้ตัวผู้มีความชอบธรรมไว้ใครคน นั้นย่อมมีอำนาจ
แต่ในสุภาษิตไทยต้องใช้คำว่า เมื่อเราสร้างผู้นำในกลไกลอำนาจเพื่อเป็นตัวแทนของเรา เราย่อมมีอำนาจ
กอง ทัพเป็นตัวขับเคลื่อนอำนาจสากลที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเนื่องจากสามารถ แทรกซึมไปทุกหน่วยอำนาจได้โดยใช้พลานุภาพจากปากกระบอกปืนและสวัสดิภาพใน ชีวิต
เอาหละพอแค่นี้ พรรรณามามาก เนื่องด้วยเราไม่ควรตอบคำถามตัวเองเช่นเดียวกับการไม่อาจสั่งสอนลูกหลานให้ แยกแยะว่าสิ่งไหนถูกสิ่งไหนชั่ว เพราะทุกกลุ่มล้วนสร้างประโยชน์ให้แก่บ้านเมือง และใช้วิชามารทำลายล้างบ้านเมืองมากพอๆๆกัน
ทหารอาชีพเมื่อขึ้นถึง จุดสูงสุดในอาชีพมักกลายทหารการเมืองน่าสนใจตรง ทหารการเมืองนั้นส่วนใหญ่มีความเชียวชาญในการลอบสังหารและสร้าง สถานการณ์อย่างยิ่ง การลอบสังหารต่างจากการก่อการร้ายอันว่าการก่อการร้ายเน้นการทำลายและ มุ่งสังหารเป็นหมู่ไม่เลือกเป้าหมายทั้งเจ้าหน้าที่และผู้บริสุทธิ์เพื่อ สื่อถึงสัญลักษณ์ และสื่อสารบางอย่าง และการก่อการร้ายก็แตกต่างจากการณ์สร้างสถานการณ์ที่เน้นทำลายสถานที่ และหลีกเลี่ยงการสูญเสียชีวิตและการลอบสังหารก็ต่างจากการ ฆาตกรรมเพื่อแก้แค้นหรือหวังผลธรรมดาๆที่สะกดรอยชี้เป้าแล้วยิงกัน ดื้อๆๆ(กรณีเสธแดงถือเป็นการฆาตรกรรมทางยุทธวิธีธรรมดา)
ทหารการเมืองนี่เองที่เป็นตอแห่งความขัดแย้ง เพราะเมื่อมี ทหารการเมืองปฎิรูปเกิดขึ้นเมื่อไหร่การปฎิวัติจะตามล้าง
บาง ครั้งก็มีการ ปฏิวัติตัวเองเสียด้วยซ้ำ ทหารการเมืองสายอนุรักษณ์และสายปฎิรูป แทบทุกคนล้วนตกเป็นเป้าสังหารของกันและกัน แต่เมื่อถูกเปิดโปงและล้มเหลว ด้วยศักดิ์ศรีความเป็นทหารร่วมและกลัวตายพอๆกัน ต่างฝ่ายต่างจึงแล้วต่อกัน และหันไปต่อสู้ด้วยเส้นสายทางการเมืองแทน นักการเมืองเท่านั้นจึงกลายเป็นหมูที่ไม่รู้ชะตากรรม เพราะในสายตาประชาชนเมื่อกล่าวถึงกองทัพ ย่อมมุ่งไปที่ผู้กุมอำนาจในขณะนั้นเช่นกรณีของเหล่าทหารเสือผู้เกรี้ยวกราด แต่ในสายตาของ พวกจปร เลขหลักเดียว แม้กระทั้งทหารยังเติร์ก (สะกดแบบนี้ป่าว)ที่โด่งดังแล้ว เหล่าทหารเสือเป็นได้แค่เด็กอนุบาลทางกองทัพ
จากเหตุการณ์ที่พอจะเกิด ทัน เช่น คาร์บอมทักษิณ เหตุสร้างสถานการณ์ระเบิด ช่วงวันปีใหม่ เหตุการระดมยิงรถนายสนธิลิ้ม ช่วงบรรยากาศที่ดูคลี่คลายเหตุร้ายมักเกิดขึ้นเสมอๆ ก็น่าจะเชื่อว่าประเทศนี้มีโควตาสำหรับการลอบสังหารและนานแล้วที่ยังไม่มี ใครใช้โควตา
บางทีเรื่องสุดวิสัย อย่าง ฮอตก เครื่องบินโดนยึด การสิ้นพระชนของเจ้าฟ้า กลายเป็นตัวช่วยที่ให้คนปลงกับเรื่องไม่คาดฝัน ผนวกกับการชิงอำนาจความคิดทางทหารอาจไม่ได้มีคำตอบเพียงแค่การแต่งตั้งโยก ย้าย
สุดท้ายนักการเมือง ผู้นำมวลชน และประชาชนก็เป็นแต่เพียงทางผ่าน อยู่ไกล และปลอดภัยจากความขัดแย้งนั้น ตราบเท่าที่เหล่านักการเมืองและกลุ่มทุน ยังคงทำให้เราอยู่ดีกินดี ก็ได้แต่เดา