อินทรีเหล็ก เขียนในคอลัมภ์ บุคคลในข่าว ไทยรัฐ ๑๕ ส.ค. ๕๔ ความว่า ....
" จากการชี้แจงของ รมต. ต่างประเทศ ยอมรับพบกับ ทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยจริง . แต่ไม่ทราบเรื่องการคืนพาสปอร์ตเลย . ตกเป็นประเด็นการเมืองที่ถูกดักคอไว้ล่วงหน้า . ต่อการเข้ามาทำหน้าที่ รมต. ต่างประเทศ เพื่อปูทางให้อดีตนายกฯกลับประเทศ . โกโซบิ๊ก .
ข้าง นพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท. ทักษิณ . ออกมายอมรับ พ.ต.ท. ทักษิณ ได้รับเชิญจากสถาบันการศึกษาในญี่ปุ่น . ให้ไปเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องของเศรษฐกิจ และเยี่ยมชมพื้นที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ . ส่วนจะได้รับอนุมัติหรือไม่ เป็นเรื่องของรัฐบาลญี่ปุ่น ที่จะพิจารณาเห็นชอบ .
พูดอีกก็ถูกอีก เรื่องนี้ไม่ใช่คิดจะใช้โจมตีกันทางการเมืองอย่างเดียว . แต่ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริง . อินทรีเหล็ก ไม่เข้าข้างใครทั้งนั้น . แต่เห็นว่าเรื่องนี้ต้องพิจารณาด้วย ความเป็นธรรมและรอบคอบ . ต้องยึดทั้งหลักนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ควบคู่กันไปด้วย .
ข้อเท็จจริงก็คือ หลักการอนุมัติออกวีซ่าเข้าประเทศให้กับบุคคลใดของประเทศญี่ปุ่น . มีเงื่อนไขต้อง ไม่เป็นผู้ต้องคดีอาญา ที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ ปีขึ้นไป . แต่ทั้งนี้เป็นดุลพินิจของกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น . ที่จะพิจารณาให้กับผู้ขอวีซ่าเป็นรายๆไปเป็นกรณีพิเศษ . ดังนั้นกรณีของ พ.ต.ท. ทักษิณ จะถือว่าเป็นกรณีพิเศษได้หรือไม่ .
สมมติถ้า พ.ต.ท. ทักษิณ จะยกข้ออ้างว่า . การที่ต้องคดีนั้นเกี่ยวเนื่องมาจากประเด็นทางการเมือง . ถูกยึดอำนาจ จึงเกิดความไม่ชอบธรรม . และเป็นคดีความที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจ . ไม่ได้มาตามระบอบประชาธิปไตย . เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมือง . ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นจะรับพิจารณาเป็นกรณีพิเศษอยู่แล้ว .
ประการนี้ที่ ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ว่าที่โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ อธิบายว่า . ไม่อยากเห็นกระทรวงการต่างประเทศทำเพื่อคนคนเดียว . พูดอีกก็ถูกอีก . แต่ก็ไม่ควรนำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นการเมืองโจมตีฝ่ายตรงข้าม . ในเมื่อเรื่องนี้เป็นอำนาจของรัฐบาลญี่ปุุ่น . ก็ไม่ควรจะมากดดัน เกรงว่าจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ . กระทบถึงภาพลักษณ์และความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศไปฉิบ . "