จะเล่าอะไรให้ฟัฃพี่กุ๊งกิ๊ง กลุ่มผู้ชุมนุมที่เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ในยุครัฐประหารปี 49 มีต้นกำเนิดมาจาก ห้องราชดำเนินนี่หล่ะครับ เดี๋ยวผมจะเล่ารายละเอียด คร่าวๆให้ฟังนะ
แล้วคราวนี้พี่เอาไปประกอบเหตุผลในการวิเคราะห์ของพี่ใหม่
เริ่มเรื่องคือ ตั้งแต่ พันธมิตรเริ่มปลุกระดมชุมนุม นับวันหนักหน่วงยิ่งขึ้น ก็มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มเสื้อเหลืองรวมตัวกันเป็น "กลุ่มรักเมืองไทยให้กำลังใจนายกฯ"(ตอนนั้นทักษิณเป็นนายกฯ) แล้วก็มีกลุ่ม "คนผ่านฟ้าฯ" สองกลุ่มนี้เป็นมวลชนที่รู้จักกันทางห้องราชดำเนิน
พอช่วงหลังเลือกตั้ง 2เมษา ก็มีคนคิดที่ว่ายังไง รัฐบาลคุณทักษิณไปไม่รอดแน่ สถานการณ์ตอนนั้นสุ่มเสี่ยงตอนการยึดอำนาจเอามาก เลยมีการเตรียมพร้อมแยกออกไปตั้ง เวปไซต์ วีคเอนคอนเนอร์ ตอนนั้นนำโดย ล็อคอิน ปากไวใจดี แล้วก็เชิญสมาชิกที่นี่หลายคนไปร่วมเล่นกันที่นั่น
ภายหลังการรัฐประหาร 2549
กลายเป็นต้นกำเนิด "คนวันเสาร์ ไม่เอาเผด็จการ"<<<<<<< นวัตกรรมใหม่ของสังคมการเมือง
นวัตกรรมใหม่ที่ว่านี้คือ flash mob ที่แสดงออกทางการเมือง ไม่รู้จักหน้าคร่าตากันมาก่อน ไม่รู้ใครเป็นใคร(อาจมีบางคนบางกลุ่มที่เคยพบหน้าคร่าตากัน) เคยพูดคุยเสวนากันในเวบบอร์ดการเมือง มีความคิดเห็นแนวทางการเมืองไปในแนวทางเดียวกันอาจไม่เหมือนกันหมด นัดรวมตัวกันที่สนามหลวงเพื่อแสดงจุดยืนทางการเมือง และนัดกันทำกิจกรรมกันทุกวันเสาร์จึงใช้ชื่อคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ
**คราวนี้มาเข้าประเด็นที่ผมจะอธิบายพี่เรื่องที่พี่บอกว่าทุกสิ่งทุกอย่างถูกทุนครอบงำไปหมดแล้ว**
การรวมตัวกันที่ท้องสนามหลวง จากเก้าอี้นั่ง ตัวเล็กๆ กับ โทรโข่ง (คาดว่าจะเป็นของวรัญชัย โชคชนะ กับพี่ประจิณ) ทำให้คนที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเดินเข้ามาห้อมล้อมชุมนุมเป็นกลุ่มเล็กๆ กลางท้องสนามหลวง ฝั่ง มธ. จากที่ไม่มีเวทีไม่มีเครื่องเสียงไม่มีมวลชนไม่มีอำนาจบารมีใดๆ ไม่มีเงินทุนในการขับเคลื่อนกิจกรรม ที่ไปมีแต่หัวใจกับอุดมการณ์ล้วนๆ
เริ่มจากแนวคิดที่ว่าเราจะร่วมกันก้าวเดินไปทางไหน เริ่มจากเราจะหาทุน จากนั้นก็ทำสินค้าออกมาขาย
ริชแบนสีดำกับคำว่า freedom จตุคามฯ
**พี่จับจุดได้ยังพี่ มวลชนที่เขามีอุดมการณ์เขาเอาธุรกิจเข้ามาปรับใช้ในการดำเนินกิจกรรมแสวงหาในส่วนที่ขาดมาเพื่อเติมเต็มในการขับเคลื่อนอุดมการณ์ครับ
พี่กุ๊งกิ๊งต้องแยกให้ออกว่าคนที่เขามีทุนขับเคลื่อนมาจ้างมวลชนหรือไม่ ถ้ามวลชนถูกจ้างมา ม็อบจะไม่มีพลังเลย มาแค่ได้เงินแล้วก็กลับ แต่ของคนที่มีอุดมกาณณ์มันไม่ใช่ ไม่ต้องมีนายทุนมาหนุนแต่แสวงหาทุนเพื่อดำเนินกิจกรรมการกำหนดกิจกรรมถูกกำหนดออกมาจากอุดมการณ์ ไม่ใช่กิจกรรมถูกกำหนดมาจากความต้องการของกลุ่มธุรกิจทุน
ผมเคลื่อนไหวประชาธิปไตยผมไม่เคยให้กลุ่มทุนเขามาทรงอิทธิพลกับความคิดผมเลย
ผมไปชุมนุมที่ไหนผมมักจะไปซื้อสินค้าเป็นของที่ระลึก เพราะว่าเงินที่ได้เขาจะเอาไปเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยตามเจตนารมณ์ของผม
บทสรุป
อุปทานทางธุรกิจของมวลชนประชาธิปไตยเกิดจากอุปสงค์ของผู้มีอุดมการณ์
แต่ก็ต้องยอมรับนะครับว่ามีกลุ่มธุรกิจ(บางจำพวก)เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากมวลชนผู้มีอุดมการณ์