เมื่อทหารทำรัฐส่วนการรัฐประหารในประเทศไทยเกิดขึ้นทั้งหมด 12 ครั้ง มีกบฎก็รวมแล้ว 12 ครั้งเช่นกัน
รัฐประหาร พ.ศ. 2476 โดยพระยามโนฯ ด้วยการปิดสภา รัฐประหาร พ.ศ. 2476 โดยพระยาพหลฯ ด้วยการยึดอำนาจ รัฐประหาร พ.ศ. 2490 รัฐประหารเงียบ พ.ศ. 2491 รัฐประหาร พ.ศ. 2494 รัฐประหาร พ.ศ. 2500 รัฐประหาร พ.ศ. 2501 รัฐประหาร พ.ศ. 2514 รัฐประหาร พ.ศ. 2519 รัฐประหาร พ.ศ. 2520 รัฐประหาร พ.ศ. 2534 และรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นการก่อรัฐประหารในประเทศไทยที่เกิดขึ้นครั้งล่าสุดในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ
นอกจากนี้ยังมีที่ก่อการไม่สำเร็จจนต้องเรียกว่ากบฎมีดังนี้คือ กบฏ ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2455) กบฏบวรเดช พ.ศ. 2476 กบฏนายสิบ พ.ศ. 2478 กบฏพระยาทรงสุรเดช พ.ศ. 2482 กบฏเสนาธิการ พ.ศ. 2491 กบฏวังหลวง พ.ศ. 2492 กบฏแมนฮัตตัน พ.ศ. 2494 และกบฏสันติภาพ พ.ศ. 2495 กบฏ พ.ศ. 2507 กบฏ พ.ศ. 2520 กบฏยังเติร์ก พ.ศ. 2524 กบฏทหารนอกราชการ พ.ศ. 2528
ประชาชนล้วนทำได้ 3ครั้ง เหตุการณ์วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 ครับ ถ้ารวมครั้งที่ตาย 92ศพก็ พ.ศ. 2554 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างเช่นปัจจุบันแม้ว่าไม่ได้ชนะในทันทีก็ตาม
แต่ัปัญหาทั้งหมดมาจากทหารทั้งสิ้น ถึงเวลาหรือยังว่าตัวปัญหาที่แท้จริงคือเหล่าทหารหาญทั้งสิ้นทั้งปวง มาตราการที่แท้จริงของประชาชนคือทำรัฐประหารกับพวกสถาบันอำมาตย์นี้เสียก่อนที่พวกเขาจะก่อคดีต่างๆ ออกมาอีก หนึ่งมาตราการนี้คือแบ่งแยกและทำลายเหล่ารัฐอิสระอำมาตย์ไปเสีย ตั้งคณะกรรมมาธิการแก้ไขรัฐอิสระจากอำมาตย์ทหารให้มีองค์กรอิสระทำหน้าที่ควบคุมตรวจสอบการฝ่ายการทหาร ด้านต่าง ๆ รวมทั้งคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนทหารชั้นผู้น้อยอย่าให้มีคำสั่งลับใดๆ
แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ องค์กรตรวจสอบที่เป็นศาล และองค์กรตรวจสอบที่ไม่ใช่ศาลองค์กรตรวจสอบที่เป็นศาล คือ ศาลรัฐธรรมนูญทหาร ศาลยุติธรรมทหาร ศาลปกครองและศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการทหาร ส่วนองค์กรตรวจสอบที่ไม่ใช่ศาล ได้แก่คณะกรรมการ แต่งตั้งนายทหารการเลือกตั้ง (กตท.) คณะกรรม การป้องกันและปราบปราม การทุจริตทหารแห่งชาติ (ป.ป.ท.ช.) คณะกรรมการใช้จ่ายเงินทางด้านทหาร (คจงท.) คณะกรรมการสิทธิทหารชั้นผู้น้อยแห่งชาติและผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
สำหรับความจำเป็นที่จะต้องมีองค์กรอิสระควบคุมเหล่าทหาร ได้แก่ ๑. ความจำเป็นต้องมีกลไกคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยองค์กรฝ่ายตุลาการ ซึ่งมุ่งหมายที่จะคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกละเมิดโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ตามหลักของนิติรัฐในการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกละเมิดจากการกระทำของทหารหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามหลักของนิติรัฐในการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทาง ปกครอง การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกละเมิดจากการกระทำของบุคคลใน กระบวนการยุติธรรมทางอาญาและทางแพ่ง นอกจากนี้ จำเป็นต้องมีกลไกที่มิใช่องค์กรฝ่ายตุลาการ ซึ่งก็คือ องค์กรอิสระเพื่อเยียวยาปัญหาของประชาชน จากการใช้อำนาจรัฐหรือการกระทำของบุคคล และการคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชน เนื่องจากการใช้กลไกทางศาลอาจมีข้อจำกัดบางประการเพราะจะต้องใช้ระยะเวลาพอ สมควรในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล รวมไปถึงการทีจะต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องและการดำเนินคดี ในศาลด้วย
๒. ความจำเป็นต้องมีกลไกตรวจสอบเกี่ยวกับความสุจริตในการใช้อำนาจของทหารและตรวจสอบเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินภาคทหาร
๓. ความจำเป็นต้องมีกลไกในการควบคุมตรวจสอบที่จะลดและขจัดการซื้อเสียง และเปิดโอกาสให้คนดี มีคุณภาพ คุณธรรม เข้าสู่ระบบการทหารไม่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายอำมาตย์อีก
สรุป แม้ว่าองค์กรอิสระทหารจะเป็นองค์กรรูปแบบใหม่ที่ควรจะเกิดขึ้น องค์กรดังกล่าวจะสร้างคุณูปการให้แก่สังคมและประเทศชาติไทย ส่งผลให้การทหารและการบริหารราชการจากอำมาตย์มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แล้วนักการทหาร พรรคการเมืองจากทหาร ข้าราชการทหาร และเจ้าหน้าที่ของทหาร มีคุณภาพและเข้มแข็งมากขึ้น ปฏิรูประบบราชการทหารที่จะสร้างสรรค์ให้เกิดธรรมาภิบาลในระบบการทหารและระบบราชการทหารตลอดไป