:::::: > > >มีการดึงเรื่องในขั้นตอนในการขอพระราชทานอภัยโทษจริงหรือ < < <::::::
|
 |
คุณเติ้ง123 โพสต์ว่า “แม้ผู้ต้องโทษหลบหนี ก็ยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ ได้” ซึ่งเรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นประเด็นอะไร เพราะที่ผ่านมาก็ยื่นฎีกากันไปเรียบร้อยและรัฐบาลก็ดำเนินเรื่องให้อยู่แล้วมิใช่หรือ ผมมองว่าเป็นการพยายามบิดประเด็นเพื่อหาเรื่องจะว่ารัฐบาลก่อนกระมัง
แต่การขอพระราชทานอภัยโทษนั้นมีขั้นตอนอันเป็นปกติวิสัย และปกติทั่วไปแล้ว การยื่นจะเกิดเมื่อนักโทษเข้าเรือนจำ และญาติเป็นผู้ทำเรื่องยื่นฎีกา โดยตรงผ่านกรมราชทัณท์ ไม่ใช่ไปยื่นต่อสำนักราชเลขาธิการ อย่างกรณีฎีกาคนเสื้อแดงที่ทำที่สนามหลวงเมื่อ 2ปีก่อน และหากผู้ยื่นขอมีจำนวนคนน้อยและเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ฏีกาที่ยื่นขอก็จะผ่านการตรวจสอบของกรมราชฑัณท์ได้ไม่นาน อาจจะใช้เวลาเป็นเดือนหรือหลายเดือนเท่านั้น หรือหากเป็นกรณีที่รัฐบาลเร่งเป็นพิเศษ เช่นคดีนักข่าวออสเตรเลีย ก็อาจจะได้เร็วกว่านั้น
แต่ในกรณีที่การยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ ที่ไม่ผ่านขั้นตอนปกติไม่ไ้ดยื่นหลังนักโทษเข้าเรือนจำและไม่ได้ยื่นต่อกรมราชทัณท์ มิหนำซ้ำมีผู้ยื่นฎีกาจำนวนมากโดยไม่จำเป็น (ปกติ การยื่นฎีการเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ เป็นเพียงญาติเท่านั้น ก็เพียงพอแล้ว) ย่อมทำให้เรื่องต้องใช้เวลานาน เพราะฎีกาต้องเดินไปสำนักราชเลขาธิการ จากนั้นไปผ่านคณะรัฐบาล และไปผ่านกระทรวงยุติธรรม ไปสู่กรมราชทัณท์ จะเห็นว่าขั้นตอนของฏีกาคนเสื้อแดงเอง ก็เป็นลักษณะนี้ คือไม่ไ่ด้เข้าตามช่องปกติ ที่นักโทษและญาติทั่วไปใช้ คือ ยื่นที่กรมราชทัณท์ แต่ไปยื่นที่สนามหลวงให้สำนักราชเลขาธิการ และใช้จำนวนคนมากราวกับจะหวังผลด้านอื่น
ขอให้ทำใจให้เป็นกลาง คิดให้ดีสักนิดว่า ฎีกาที่จะยื่นแก่องค์พระประมุขนั้น ย่อมต้องได้รับการตรวจสอบทั้งเนื้อหา ว่าเป็นการกราบทูลในเรื่องใด เรื่องนั้นมีข้อเท็จจริงอย่างไร อีกทั้งรายนามผู้ยื่นย่อมต้องได้รับการตรวจสอบว่ามีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ หรือมีการปลอมแปลงรายชื่อขึ้นกราบทูล
ซึ่งเรื่องนี้ ข่าวมติชน วันที่ 3 กย. (คลิก ) ลงไว้ว่า
นายชาติชาย สุทธิกลม อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวเมื่อวันที่ 3 กันยายน ถึงความคืบหน้าการตรวจสอบรายชื่อผู้ยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตามที่มีการทวงถามจากคนเสื้อแดง ว่า ล่าสุดกรมราชทัณฑ์ได้ตรวจสอบรายชื่อผู้ยื่นถวายฎีกาจำนวนกว่า 3.6 ล้านคนเสร็จสิ้นแล้ว โดยการตรวจสอบที่ผ่านมาได้ดำเนินการทั้งการตรวจสอบรายชื่อกับทะเบียนราษฎร พบว่าจำนวนรายชื่อ 2 ล้านรายชื่อมีตัวตนจริง ส่วนที่เหลือพบว่าชื่อและนามสกุลไม่ตรง | นั้นเท่ากับว่า มีรายชื่อกว่า ล้านชื่อในฎีกานั้น อาจจะเป็นการปลอมหรือเท็จ ซึ่งหากเป็นในสมัยอดีต การทำเอกสารมีรายชื่อปลอมหรือเท็จแบบนี้ถวายต่อพระเจ้าแผ่นดิน น่าจะมีโทษหนักหนาสาหัสทีเดียว
ดังนั้น เวลา 2 ปีที่ใช้ในการตรวจสอบฎีกา ก็ไม่ใช่เวลาที่เป็นการดึงเรื่อง แต่ในเมือ่ฎีกามีเหตุให้ต้องตรวจสอบ และก็ตรวจสอบเจอความเท็จ ความไม่มีอยู่จริงดังข่าวนั้นแล้ว ต่อไปก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลนี้ จะพิจารณว่าควรนำฎีกาีที่มีความเท็จมีรายชื่อปลอมหรืิอเท็จอยู่ด้วยนั้น นำเสนอทูลเกล้าต่อไปอย่างไร
ก็เป็นเพียงความเห็นจากมุมหนึ่ง ขอย้ำว่าประเด็น ไม่ใช่อยู่ที่ผู้ต้องโทษหลบหนี ก็ยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ เพราะยื่นได้อยู่แล้วครับ แต่ประเด็นอยู่ที่ฎีกาที่มีการปลอมรายชื่อต่างหากว่า ควรได้รับการพิจารณาอย่างไร และได้นำเรื่องมาเล่าให้ฟังในกระทู้ข้างล่างแล้วว่า ตามข้อเท็จจริงแล้ว ที่ผ่านมาการพระราชทานอภัยโทษเกิดในลักษณะใด ไม่เกิดในลักษณะใดต่างหาก
จากคุณ |
:
thyrocyte
|
เขียนเมื่อ |
:
8 ก.ย. 54 16:28:23
A:58.137.0.146 X:
|
|
|
|