
วิคเตอร์ บูท ถูกทางการไทยส่งตัวให้อเมริกาไปนานแล้ว ตอนนี้กำลังมีการดำเนินคดีในชั้นศาลที่อเมริกา
มันมีเรื่องที่น่าสนใจ และเทียบเคียงได้กับกรณีที่ดินรัชดาครับ
คือ หลักฐานคำให้การของวิคเตอร์ บูท ที่ให้ไว้ต่อหน่วยปราบปรามยาเสพติดสหรัฐฯ ขณะที่ติดคุกอยู่ในไทย ที่ฝ่ายอัยการนำเป็นหลักฐานเล่นงานนายบูทนั้น
ศาลท่านไม่รับฟังครับ ศาลที่อเมริกานะครับ ไม่ใช่ศาลด้อยพัฒนาในบางประเทศ
ศาลท่านบอกว่า ในสภาวการณ์ที่นายบูทติดคุกอยู่ในประเทศไทย การให้ปากคำดังกล่าวไม่น่าเป็นไปด้วยความสมัครใจ
ดิฉันพบว่า ภายใต้สภาวการณ์เช่นนั้น คำแถลงของ บูท ต่อหน่วยปราบปรามยาเสพติดสหรัฐฯ ไม่ได้เป็นไปด้วยความสมัครใจ ผู้พิพากษา ไชน์ดลิน กล่าว บูท ถูกจับตัวในต่างประเทศ (ไทย) โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมอาวุธมากกว่า 15 นายคุมตัว มีการเปลื้องผ้าเพื่อตรวจอาวุธ และการตรวจค้นห้องพักโดยเขาไม่สมัครใจ ซึ่งรวมถึงการยึดคอมพิวเตอร์และเอกสารส่วนตัว
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9540000107369
กรณีที่ดินรัชดา คตส.มาจากไหน ? ขัดหลักนิติธรรมหรือไม่ ?
แค่นี้ผมว่าคดีมันก็จบแล้วครับ
แค่หญิงเป็ดชูสองนิ้วก่อนเข้าไปในราบ 11 น่ะ คดีจบแล้วครับ
แค่นายกล้าณรงค์ นายอะไรต่อนายอะไร ที่เข้าร่วมการชุมนุมกับแป๊ะลิ้ม แสดงตัวให้สาธารณะเห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นปฏิปักษ์กับทักษิณ
คดีจบครับ ศาลไม่ควรรับฟังข้อกล่าวหาใด ๆ เลยจากคนกลุ่มที่เรียกว่า คตส.ด้วยซ้ำ
แต่ศาลท่านกลับบอกว่า การกระทำของเหล่า คตส.นั้น เป็นสิทธิการกระทำตามรัฐธรรมนูญทุกประการ
ไม่นับวิธีการสอบลูกสอบน้องสาวเขานะครับ ที่ถามแบบบังคับตอบ ห้ามทนายเข้าร่วม ฯลฯ หรือการเรียกร้องให้กองทุนฯบอกว่าต้องเสียหายให้ได้
มันเหมือนกับว่า เวลาจะเล่นงานคนอื่น ก็อ้างอะไร ๆ ที่เกินขอบเขตกฎหมายได้ เช่น ตีความครอบจักรวาลเรื่องอำนาจการควบคุมดูแลฯกองทุนฟื้นฟูฯนั่นแหละครับ
แต่กับพวกตัวเอง ดันตีความกฎหมายเข้าข้างกันอย่างเคร่งครัด หารูหาช่องตีความไม่ให้ผิดไปได้เฉย อย่างคดี sms ของนายมาร์คนั่นแหละครับ
ถึงตรงนี้ ก็ทำให้คิดถึงตะหลิวของท่านสมัคร
คิดดูสิครับ กฎหมายแพ่ง พาณิชย์ แรงงาน เล่นงานไม่ได้ ก็เปิดพจนานุกรมเล่นเอาดื้อ ๆ
แต่กับตัวศาลรัฐธรรมนูญเองที่ไปสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยเอกชน รับเงินเห็น ๆ
กลับตีความเคร่งครัดตามตัวอักษรเป๊ะ ๆ ว่า สถานศึกษาเอกชนเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ฉะนั้นการไปสอนจึงไม่ถือว่าเป็นลูกจ้าง
รู้ทั้งรู้นะครับ ว่าสถานศึกษาเอกชนน่ะแสวงหากำไรหรือไม่ แต่ก็อ้างตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัด แล้วจบเรื่อง
เฮ้อ....
การรื้อฟื้นคดีที่คุณ webkit ว่า ส่งตีความอำนาจการกำกับดูแลกองทุนฟื้นฟูฯ ไปยังศาล รธน.นั้น
ผมเห็นว่า จบเห่ทันทีครับ
ดูอย่างกรณีแถลงการร่วมไทย-เขมรของนายนพดลสิครับ ศาล รธน.ท่านยังเอาคำว่า อาจ เข้ามาหน้าตาเฉย
ก็รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่า "มีบทเปลี่ยนแปลง..." (http://www.free-webboard.com/view.php?nm=saedang&qid=410) ศาลท่านคงไม่แน่ใจมั้งว่าจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่
ท่านก็เลยบอกว่า แถลงการณ์ของนายนพดลเป็นโมฆะเพราะ "อาจมีบทเปลี่ยนแปลง..."
ไอ้คำว่า "อาจ" นี่มันมาจากไหนก็ไม่รู้ (ผมไม่ได้ค้นเอาคำพิพากษาเรื่องนี้มาประกอบ แต่ก็ในทำนองนี้ล่ะครับ)
วันดีคืนดี อาจมีคำตัดสินชนิดที่ว่า นาย ก. อาจปล้ำ น.ส. ข เพราะตามจีบทุกวันล่ะก็ ขี้หลีอย่างลุงอัสดรติดคุกแน่ ๆ ครับ
ถ้าส่งเรื่องทักษิณมีอำนาจกำกับดูแลกองทุนฯหรือไม่ไปตีความที่ศาล รธน. ผมว่าเรียบร้อยครับ ซื้อหวยได้เลย
เพราะกระบวนการตุลาการบางส่วนของไทยในวันนี้ มันเป็นผลพวงจาก 19 ก.ย. 49 ทั้งนั้นครับ
นักการเมืองเลวได้ครับ และนักการเมืองที่ไหนในโลกนี้ก็เลว
ครู ทหาร ตำรวจ แพทย์ สื่อ นักวิชาการ ฯลฯ เลวได้ครับ
แต่คนที่เป็น "หลัก" ในการผดุงความยุติธรรมให้บ้านเมือง เลวไม่ได้ครับ
เลวแล้วหลักเสีย บ้านเมืองเสียหลักครับ
บ้านเมืองไร้หลักในเรื่องความยุติธรรม ประชาชนก็จะไร้ศรัทธาต่อคำพิพากษาหันมาตัดสินกันเอง
และบ้านเมืองเราก็ทำท่าจะเดินไปสู่จุดนั้นซะด้วยสิครับ
เฮ้อ... ว่าแล้วก็คิดถึง กสม. คนตายกลางเมืองหลวงเกือบร้อย ยังบอกว่ารัฐบาลไม่ผิด
ก็คนร้ายโดนตำรวจจับ แล้วถูกตำรวจตบ ชกต่อย เขายังถือว่าขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน
แต่ของเรากลับบอกว่า ไม่ขัด ไม่ผิด ทั้ง ๆ ที่ศพเกลื่อนเมือง
จบดีกั่ว
ฟุ้งซ่านคิดถึงนั่นคิดถึงนี่ไปเรื่อย
เด๋วก็คิดถึงป๋าขึ้นมาแล้วจะยุ่ง
