: : : ตอบคุณเวลาวารี เรื่อง ความผิดที่เกิดแม้มิใช่ตนเป็นผู้กระทำ แต่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น จากกระทู้ P11050322 : :
|
 |
เพิ่งมีเวลาช่วงบ่ายนี้ สุ่มดูกระทู้ด้วยเสิร์ชเอนจิน เห็นมีกระทู้คุณเวลาวารี P11050322 สอบถามบางอย่างไว้ตั้งแต่เมื่อวานค่ำ อ่านแล้วเห็นว่าพอจะตอบให้ได้ จึงขอตอบที่คุณ เวลาวารี สอบถามในกระทู้ในกระทู้นี้เพราะคงเป็นไปไม่ได้ที่จะตอบด้วยช่องทางอื่น โดยคำถามมีดังนี้ว่า คำถาม ดังนี้ จะเห็นได้ว่า ตามคำวินิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้น พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร จำเลยที่ 1 ไม่ได้ร่วมเสนอราคาในการประมูลซื้อที่ดินพิพาทกับคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ไม่ได้เป็นผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท ไม่ได้เป็นผู้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท แต่เป็นการดำเนินการของคุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว คำพิพากษา กับข้อกฎหมาย มาตรา 122 วรรค สอง มันก็น่าจะไปด้วยกัน แล้วอย่างนี้จะถือว่าไม่มีความผิด ในการเซ็นยินยอมได้หรือไม่ เพราะคำพิพากษา ก็มีการกล่าวถึงว่าไม่รู้เห็น | ตอบ- ตามที่ได้อ่านดู ศาลถือว่าคุณทักษิณรู้เห็นในเรื่องนี้ครับจึงต้องรับผิดไป ไม่ใช่ไม่รู้ไม่เห็น แต่ศาลยอมรับดังที่คุณยกมาว่าคุณทักษิณ ไม่ได้ร่วมเสนอราคา ไม่ได้เป็นผู้ทำสัญญา ไม่แม้แต่จะมีเจตนาร่วม แต่การที่ไม่ได้ร่วมเสนอราคา ไม่ได้เป็นผู้ทำสัญญา ไม่แม้แต่จะมีเจตนาร่วม ก็ไม่ทำให้พ้นความรับผิดตามมาตรา 100 วรรคสามครับ ดังขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้ ความผิดที่เกิดแม้มิใช่ตนเป็นผู้กระทำ แต่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น ประเด็นเรื่องความผิดใน พรบ.ปปช.มาตรา 100 ( วรรคสาม) นี้ คนทั่วไปมักเข้าใจว่า คุณทักษิณจะต้องมีเจตนา หรือมีการกระทำในฐานะตัวการด้วยตัวเอง แต่ที่จริงแล้ว ความผิดที่มีบัญญัติใน วรรคสาม ของมาตรา 100 ในพรบ.ปปช 2542 นั้น จะเกิดขึ้นให้ต้องรับผิด แม้เป็นเพียงแค่ผลจากการกระทำของคู่สมรส โดยมีข้อแม้ไว้ในมาตรา 120 เปิดทางให้ไม่ต้องรับผิด หากพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย ในคดีที่ดินรัชดานั้น คุณพจมานในฐานะคู่สมรสคุณทักษิณ ได้เข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ ที่ศาลถือว่าคุณทักษิณมีอำนาจกำกับดูแล โดยที่คุณทักษิณ รับทราบและมิได้ห้ามปราม และคุณทักษิณเองยังได้เซ็นในเอกสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงทำให้ไม่สามารถจะอ้างต่อศาลเพื่อให้พ้นผิดตามาตรา 120 ไปว่า มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย ความที่บัญญัติไว้ใน พรบ.ปปช. 100 ทั้งรรคแรก และวรรสาม และ มาตรา 120 ที่เปิดทางให้พ้นผิด มีดังนี้ มาตรา ๑๐๐ ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดดำเนินกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ
. (วรรคสาม) ให้นำบทบัญญัติในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับคู่สมรสของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามวรรคสอง โดยให้ถือว่าการดำเนินกิจการของคู่สมรสดังกล่าว เป็นการดำเนินกิจการของเจ้าหน้าที่ของรัฐคนนั้น มาตรา ๑๒๒ ....กรณีความผิดตามมาตรา ๑๐๐ วรรคสาม หากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดพิสูจน์ได้ว่า ตนมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยในการที่คู่สมรสของตนดำเนินกิจการตามมาตรา ๑๐๐ วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้นั้นไม่มีความผิด | ดังนั้น ความผิดต่อพรบ.ปปช.มาตรา 100 เกิดขึ้นแม้ตนมิได้กระทำการเอง และแม้จะเป็นเพียงแค่การรู้เห็นยินยอม โดยไม่ต้องเป็นตัวการร่วมกระทำหรือมีเจตนที่จะกระทำด้วยตนเอง โดยข้อความในคำวินิจฉัยคำพิพากษานั้น บรรยายไว้ว่า ....เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นคู่สมรสของจำเลยที่ ๑ เข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ย่อมถือว่า การเข้าทำสัญญานั้นเป็นการกระทำของจำเลยที่ ๑ เอง
และไม่สามารถใช้มาตรา 120 มาช่วยให้ตนพ้นผิดได้ ดังคำบรรยายที่ว่า ....จำเลยที่ ๑ อ้างว่า การลงลายมือชื่อให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ ๒ ในการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท เป็นเพียงการปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบราชการนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองไม่มีพยานหลักฐานใดมาพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า จำเลยที่ ๑ มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยในการที่จำเลยที่ ๒ ดำเนินกิจการตามมาตรา ๑๐๐.. สรุป ความผิดตามมาตรานี้จะเกิดทันทีเมื่อ 1.คู่สมรสเข้าทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับดูแล + 2.เจ้าหน้าที่รัฐท่านนั้นๆ ไม่สามารถแสดงให้ศาลเห็นว่าว่า ตนมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย โดยไม่จำเป็นต้องเป็นคนกระทำการเอง หรือเป็นตัวการร่วมกระทำ หรือมีเจตนาร่วม กฏหมายนี้ จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ หรือกระบวนการตัดสินนี้สมควรจะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร ผมไม่ขอให้ความเห็น ขอเพียงให้ความเห็นตามที่คุณเวลาวารีสอบถาม และอ้างอิงได้จากคำพิพากาและบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องเท่านั้น และหวังว่าคงจะตอบข้อสงสัยที่คุณเวลาวารีสอบถามไว้ไปได้บ้าง
หมายเหตุเสริม : ทำไมศาลจึงต้องระบุว่าคุณทักษิณไม่ได้เป็นคนกระทำการเอง หรือเป็นตัวการร่วมกระทำ หรือมีเจตนาร่วม หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมศาลต้องชี้ว่าคุณทักษิณไม่ได้เป็นคนกระทำการเอง ไม่ได้เป็นตัวการร่วมกระทำ และไม่ได้มีเจตนาร่วม คำตอบก็คือ หากคุณทักษิณเป็นคนกระทำการเอง หรือเป็นตัวการร่วมในการทำสัญญานี้โดยตรง คุณทักษิณจะผิดพรบ.ปปช.มาตรา 100 วรรคแรกข้อ 1 โดยตรง ไม่ใช่ผิดในวรรคสาม ที่ปล่อยให้คู่สมรสเข้าทำสัญญา ตรงนี้มีความสำคัญ เพราะหากคุณทักษิณผิดโดยการเข้ากระทำการเองโดยตรง คุณหญิงที่เป็นผู้เดินเรืองทำสัญญาและเป็นผู้ดำเนินเรื่องเตรียมการทำสัญญาเกือบทั้งหมด จะถูกพิจารณาว่ามีส่วนสนับสนุนให้เกิดการกระทำความผิดที่มีโทษอาญา ซึ่งปกติแล้วการสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำผิดที่มีโทษอาญา ถือว่าเป็นความผิด และต้องรับโทษอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 86 ต้องระวางโทษ 2 ใน 3 ของความผิดนั้น แต่ศาลพิเคราะห์แล้วว่าคุณทักษิณไม่ได้เป็นคนกระทำการเอง หรือเป็นตัวการร่วมกระทำ หรือมีเจตนาร่วม จึงไม่ได้ผิดที่มาตรา 100 (1) ผิดแต่มาตรา 100 (วรรค 3) ที่ปล่อยให้คู่สมรสเข้าทำสัญญา ดังนั้น คุณหญิงจึงไม่ใช่ผู้สนับสนุนให้คุณทักษิณทำผิดกฎหมายมาตรา 100 (1) และไม่ต้องรับโทษ คุณหญิงโดยตัวเองกระทำผิดต่อพรบ.ปปช.มาตรา 100 (วรรค 3) ไปแล้ว ซึ่งตรงนี้ไม่มีโทษสำหรับคนนอก และในเมื่อคุณหญิงเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตรา 100(วรรค3) ด้วยตัวเองแล้ว ทางกฎหมายจึงไม่ถือว่าคุณหญิงเป็นผู้สนับสนุนให้คุณทักษิณทำผิดมาตรา 100 (วรรค3) ซ้ำซ้อนอีก [ เข้ามาแก้ มาตรา 100(3) เป็น มาตรา 100 (วรรค3) ครับ ]
แก้ไขเมื่อ 11 ก.ย. 54 23:32:31
แก้ไขเมื่อ 11 ก.ย. 54 20:32:17
จากคุณ |
:
thyrocyte
|
เขียนเมื่อ |
:
11 ก.ย. 54 16:57:49
A:115.87.23.207 X:
|
|
|
|