นโยบายรถยนตร์คันแรกนี้ฟังดูแล้วออกหวือหวา น่าสนใจ ดูเหมือนจะดี แม้ได้ฟังมานานแล้ว แต่ไม่เคยได้วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย วันนี้จึงขอใช้สิทธิในฐานะประชาชนคนไทยที่มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะสงสัยหรือวิจารณ์ หรือตั้งคำถามที่สงสัยไปตามประสา คงขออนุญาตวิพากษ์วิจารณืเป็นบางประเด็นเท่านั้น คือ จากหลักเกณฑ์การคืนเงินสำหรับรถยนต์คันแรก
1.เป็นรถยนต์คันแรกของผู้ซื้อที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2554 จนถึงวันที่ 31 ธ.ค.2555
ข้อสงสัย- หากนโยบายดีจริง รัฐบ่าลคงประกาศทำตลอดไป การที่ยังไม่ทำให้ตลอดแต่ทำเป็นช่วงนี้ เป็นสิ่งที่แสดงว่า 1.รัฐบาลเองก็คงยังไม่แน่ใจว่านโยบายนี้จะดีจริงๆ จึงต้องรอดูผลและประเมินผลก่อนว่ามีผลกระทบอย่างไร ดีจริงหรือไม่ หรือ 2. รัฐบาลรู้อยู่แล้วว่า ไม่เป็นผลดีในระยะยาว แต่ต้องการทำให้มีนโยบายที่หวือหวา เตะตาประชาชนที่คิดแต่ในระยะสั้นๆออกมา เพื่อผลทางจิตวิยาเท่านั้น
จึงยังเป็นที่น่าสงสัยว่าจากนโยบายนี้ รัฐบาลหวังให้เกิดประโยชน์แก่แผ่นดินหรือประเทศชาติอย่างแท้จริงหรือหวังเพียงผลทางจิตวิทยาแก่ประชาชนหรือกองเชียร์ของรัฐบาล ว่ารัฐบาลสามารถทำนโยบายหวือหวาออกมา
2.เป็นรถยนต์ที่ผลิตขึ้นในประเทศ ไม่รวมถึงรถยนต์ที่ประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้าใช้แล้วจากต่างประเทศ และเป็นรถยนต์นั่ง ขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร/รถกระบะ (Pick up)/รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Double Cab) และเป็นรถยนต์ราคาขายปลีกไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อคัน
ข้อสังเกตุ - รถยนต์ปัจจุบันก็ 4 5แสนบาทขึ้น จะอย่างไรนโยบายนี้ก็ไม่ได้ตกเป็นประโยชน์ทางตรงต่อคนมีรายได้น้อย ที่จะอย่างไรก็ไม่สามารถซื้อรถยนตร์ได้ แต่คนที่ได้ประโยชน์อย่างแน่ชัดจากนโยบายนี้ น่าจะเป็นบริษัทขายรถยนต์ที่ขายรถได้มากขึ้น แต่สำหรับในส่วนของสายการผลิตรถยนต์หรือระบบอุตสาหกรรม ก็ยังต้องดูว่ามาตรการนี้จะเป็นเพียงระยะสั้น ที่สร้างดีมานด์เทียมระยะสั้นเท่านั้น อันไม่เป็นผลดีต่อระบบการผลิต ที่อาจจะต้องปรับการผลิตลดลงมาสู่ความจริง หลังมาตราการนี้หมดอายุลงในปีหน้า
3. คืนเงินเท่ากับค่าภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อคัน การคืนเงินจะคืนเมื่อครอบครองรถยนต์ 1 ปี ไปแล้ว (เริ่มจ่ายคืนให้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2555 เป็นต้นไป)
ข้อสังเกตุ- การคืนภาษี จะเกิดเมื่อถือครองรถยนต์ไปครบหนึ่งปี ไม่ได้คืนเงินให้หรือให้หักกัน ณ ที่จ่ายเงินในเวลาที่ซื้อรถหรือรับรถกัน ดังนั้นผู้ที่ทำการซื้อรถยนต์ ก็ต้องจ่ายตามราคาจริงราคาเดิมไปก่อน น่าจะมีผู้คนจำนวนไม่น้อย ที่อยากจะได้รถตามโครงการนี้ ที่จะต้องกู้ยืมเงินเพื่อให้ได้รถคันแรกมา และต้องจ่ายดอกเบี้ยกันไปก่อน ก่อนที่จะได้เงินคืนจากรัฐบางส่วน ซึ่งไม่ใช่ทั้งหมดของมูลค่ารถ ในเวลาอีก 1 ปีต่อมาตามข้อกำหนด
เรื่องนี้ที่จริงก็ไม่ใช่ข้อเสียหายอะไรมากมาย เพราะมีคนจำนวนมาก กู้เงินมาซื้อรถและผ่อนทั้งต้นและดอกเพื่อการซื้อรถกันอยู่แล้วทุกวันนี้ แต่มาตรการนี้น่าจะทำให้คนที่ ไม่คิดจะซื้อรถยนต์ สนใจ ตัดสินใจกู้เพื่อให้ได้รถยนต์ตามโครงการนี้ น่าจะมีจำนวนไม่น้อย หนี้ทั้งนอกระบบและในระบบมีหวังจะเพิ่มขึ้น
ผลที่จะตามมาจากโครงการนี้
รถยนต์จะต้องมากขึ้นแน่นอน เพราะปกติก็เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว แต่คราวนี้จะมากขึ้นในอัตราที่มากกว่าปกติอีก เพราะมีการกระตุ้นด้วยมาตรการการรอใจให้รับเงินคืนภาษีเป็นเงินสดแบบนี้ รถที่มากขึ้นหลายๆคนอาจจะมองว่าไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ ต้องถามว่ามีความจำเป็นอะไร ที่รัฐจะต้องเร่งเพิ่มปริมาณรถยนตร์ในท้องถนนด้วยมาตราการแบบนี้และในเวลานี้ หากจะอ้างว่ามีการชะลอตัวของระบบการผลิตรถยนตร์ ก็ต้องดูในข้อเท็จจริงว่า การชลอตัวนั้น มีสาเหตุมาจากเกิดสึนามิในญี่ป่น และสายการผลิตส่วนประกอบรถยนตร์ชะงักลง ซึ่งเรื่องนี้กำลังคลี่คลายด้วยตัวเองอยู่แล้ว และการเร่งดีมานด์เทียมยิ่งสร้างปัญหา เพรราะขณะนี้มีรถยนตร์จำนวนไม่น้อยที่มีการสั่งจองแต่คนจองต้องรอไปก่อน เพระปัญหาส่วนประกอบรถยนตร์จากญี่ป่น
มีความจำเป็นอะไรที่รัฐจะต้องกระตุ้นให้เกิดมีการกู้ยืมเพื่อให้ได้มาซึ่งรถยนต์คันแรก ในเวลาที่เศรษฐกิจไทยก็พ้นจากวิกฤติ และมีการเติบโตของผลิตภัณท์มวลรวมต่อเนื่องกันมาทุกไตรมาสเกือบ 2 ปีแล้ว และอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยก็เข้มแข็งอยู่พอสมควรแล้ว มีการส่งรถยนต์ออกขายได้มากมายแม้จะชลอตัวลงในช่วงหลักสึนามิ และการที่รถยนต์มากขึ้นชั่วคราวแบบนี้ ก่อประโยชน์แก่ระบบอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยจริงหรือ ทำไมไม่ใช้มาตราการนี้ไปที่รถอีโคคาร์ ที่กำลังเป็นที่สนใจของผู้ซื้อในตลาดต่างประเทศ
ปัญหาหนี้สาธารณในยุโรปและสหรัฐก็ยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัว และอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกทำให้เศรษฐกิจทรุดตัวลงหรือมีวิกฤติขึ้นมาอีกรอบ นโยบายนี้ซึ่งรัฐต้องจ่ายเงินภาษีคืนให้ผู้ซื้อรถ รัฐอ้างว่าสุดท้ายแล้วรัฐจะมีรายได้มากขึ้น จากการขายรถที่มากขึ้น ซึ่งยังเป็นข้อสันนิษฐานที่ยังฟังได้ยาก เพราะช่วงแรกๆรัฐบาลก็ยังต้องจ่ายเงินจำนวนไม่น้อยชดเชยให้คนซื้อรถหากนโยบายนี้นำมาซึ่งการขาดดุลงบประมาณมากขึ้นและรัฐต้องกู้มากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ประเทศไทยเสี่ยงจะมีสถานะแบบกรีซได้ และหากจะอ้างว่ารัฐบาลที่แล้วก็กู้มามาก ก็เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้นเพราะรัฐบาลที่แล้วกู้เพื่อนำเงินมาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจในขณะที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกครั้งร้ายแรงที่สุด
และเหตุใดประเทศไทยจึงต้องเร่งให้มีการใช้พลังงานเพิ่มการบริโภคน้ำมัน ด้วยการเพิ่มปริมาณรถยนต์ในท้องถนนด้วยเล่า
ข้อสงสัยทั้งหมดทั้งปวงนี้ ทำให้สงสัยว่า จริงๆแล้วรัฐบาลคิดอย่างไร จริงใจหวังดีต่อประเทศเพื่อประโยชน์แก่แผ่นดินในระยะยาวจริงหรือ หรือเพียงหวังสร้างนโยบายหวือหวา ให้เกิดผลทางจิตวิทยาแบบประชานิยมเท่านั้น ในฐานะประชาชนก็คงได้แต่รอดูผล และหวังให้นโยบายแนวประชานิยมของรัฐบาลนี้ ไม่นำประเทศไปสู่ปัญหาแบบกรีซหรือประเทศยุโรปอื่นๆ
ก็ขอใช้สิทธิแสดงความกังขาไปตามประสาประชาชนคนเดินดินคนหนึ่งครับ

แก้ไขเมื่อ 14 ก.ย. 54 17:25:26