Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
นครสวรรค์-แม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มแห้งขอด!!!! ติดต่อทีมงาน

ต้องขออภัย หากข่าวที่ผมนำมาให้ดูกันนี้ มันเป็นข่าวที่ไม่ค่อยทันสมัยเอาเสียเลย
และอาจสร้างความเข้าใจผิดให้กับผู้คนที่เข้ามาดูโดยไม่ได้ดูรายละเอียดทั้งหมด
เจตนาของผม คือ ต้องการตั้งข้อสงสัยกับปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในช่วงนี้

หากยังคงจำกันได้ว่าภัยน้ำท่วมรุนแรงชนิดมิดหลังคาชาวบ้าน
ทุกคนต่างตกใจเพราะไม่เคยพบเห็นมาก่อน จนกระทั่งมาประสบใน 2-3 ปีมานี้
ซึ่งเมื่อประมาณ 3 วันก่อน ผมได้ยินผู้สื่อข่าวในทีวีได้พูดคุยในระหว่างการรายงานข่าวน้ำท่วมว่า
"...ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมอย่างรุนแรงมาต่อเนื่องกัน..."

ด้วยความอยากรู้อยากเห็นผมจึงไปสืบค้นข่าวน้ำท่วมของปีที่แล้วมาดู
ก็พบว่า นครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่มีข้อมูลน่าสนใจ

"นครสวรรค์ อ่วมจมบาดาลทุกอำเภอ [ ไทยรัฐ : 20 ต.ค. 53 ]"
ที่มา: http://www.thaiwater.net/current/floodCentral_oct53.html

ในตอนแรกผมเข้าใจว่า เมื่อปีที่แล้วน้ำฝนมากผิดปกติ จึงเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นได้
ถ้าหากน้ำส่วนเกินได้ไหลผ่านไปแล้ว ปริมาณน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาก็ควรจะอยู่ระดับไม่วิกฤติจนเกินไป
แต่ว่าผิดคาดครับ เพียงแค่ 2 เดือนต่อมา กลับไม่เป็นอย่างที่คาดเอาไว้

"นครสวรรค์-แม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มแห้งขอด!!!! [ ข่าว 3 : วันพุธ ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553]"
ที่มา: http://www.krobkruakao.com/ภาพเกี่ยวข้อง/news/31231/53051/นครสวรรค์-แม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มแห้งขอด-.html

ผมจึงชักสงสัยในความไม่ชอบมาพากลกับภัยน้ำท่วมที่เป็นอยู่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้
และไม่ใช่แค่ผมเท่านั้นที่ตั้งข้อสงสัย เพราะเคยมีชาวบ้านตั้งข้อสังเกตุมาว่า สภาพของน้ำที่ไหลมาท่วมพื้นที่เป็น "น้ำใส"

แล้ว ความใสความขุ่น มันเกี่ยวอะไรกับน้ำท่วม?
ก็เพราะน้ำฝนที่ตกจะชะเอาหน้าดินออกไป ดินที่ถูกชะก็เป็นตะกอนแขวนลอยปะปนในน้ำนั้น ทำให้น้ำขุ่นเป็นสีน้ำตาลแดง
ถ้าหากน้ำนั้นถูกกักให้หยุดอยู่กับที่เช่นในเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ทำให้เกิดตกตะกอน และน้ำใสขึ้น
ลองค้นหารูปภาพใน google ด้วยคำว่า "น้ำป่า" จะทำให้เห็นว่าสีน้ำตาลแดงเป็นยังไง
เปรียบเทียบสีของน้ำท่วมตามภาพข่าว
"นครสวรรค์ อ่วมจมบาดาลทุกอำเภอ [ ไทยรัฐ : 20 ต.ค. 53 ]"

ดังนั้น ถ้าน้ำที่ไหลท่วมเป็น "น้ำใส" ก็มีโอกาสเป็นไปได้ว่า ที่มาของน้ำเหล่านั้นคือน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ในเขื่อนมาสักระยะนึงแล้ว
และถูกปล่อยออกมาผสมโรงกับช่วงที่มีฝนตกพอดี มันก็เกิดท่วมอย่างที่เป็นข่าวของเมื่อปีที่ผ่านมานั้นเอง

จากข้อมูลเหล่านี้ ผมขอตั้งข้อสงสัยว่า
1) ถ้า ต.ค.53 มีปริมาณน้ำมากผิดปกติจริง แล้ว 2 เดือนถัดมาทำไมสภาพ น.เจ้าพระยา จึงเป็นเช่นนั้น?
2) เป็นเพราะเหตุบังเอิญหรือความจงใจกันแน่ ที่น้ำท่วมหนักเกิดขึ้นพร้อมกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงตั้งแต่ปี 52

ผมขอให้รัฐบาลนี้ช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับน้ำท่วมแบบผิดปกติในช่วงนี้ด้วยครับ



เว็บไซต์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

บันทึกเหตุการณ์น้ำ
http://www.thaiwater.net/web/index.php/archive.html

สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง (พ.ย.52 - เม.ย.53)
http://www.thaiwater.net/current/drought53.html

บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณภาคกลาง(ตุลาคม 2553)
http://www.thaiwater.net/current/floodCentral_oct53.html

รวมภาพน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ อ.ปัว
http://g3.buildboard.com/viewtopic.php/211/2807/757/0/
(ดูสีของน้ำป่าไหลหลากแท้ ๆ)




รายละเอียดของข่าว

นครสวรรค์-แม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มแห้งขอด [วันพุธ ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ]
ที่มา: http://www.krobkruakao.com/ข่าว/31231/นครสวรรค์-แม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มแห้งขอด.html

ระดับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดนครสวรรค์ลดลงอย่างน่าเป็นห่วง ล่าสุดปริมาณน้ำไหลผ่านเพียง 448 ลบ.ม./วินาที ชลประทาน เตือนเกษตรกรเตรียมกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และควรใช้น้ำอย่างประหยัด

จากเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมาระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงมีปริมาณน้ำไหลผ่านสูงถึง 2,815 ลบ.ม./วินาที แต่ในวันนี้ระดับน้ำลดลงอย่างน่าเป็นห่วงจนสามารถเดินลงไปกลางแม่น้ำได้แล้ว โดยล่าสุดอยู่มีปริมาณน้ำไหลผ่านเพียง 448 ลบ.ม./วินาที ทั้งยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ชลประทานจังหวัดนครสวรรค์ เผยปริมาณน้ำของแม่น้ำทุกสาย เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิง และแม่น้ำน่าน น้ำลดลงอย่างต่อเนื่องช่นกัน ขอให้เกษตรกรกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งนี้ ไม่ควรวิดสระเพื่อจับปลา และควรหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อยหรือพืชตระกูลถั่วแทนการปลูกข้าว เนื่องจากฤดูแล้งปีนี้มีแนวโน้มจะยาวนานและรุนแรง



นครสวรรค์ อ่วมจมบาดาลทุกอำเภอ [ ไทยรัฐ : 20 ต.ค. 53 ]
ที่มา: http://www.thaiwater.net/current/floodCentral_oct53.html

จังหวัดนครสวรรค์ ได้ประกาศพื้นที่ประสบอุทกภัยแล้วทั้งจังหวัด จำนวน15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลาดยาว บรรพตพิสัย ชุมตาบง ตากฟ้า แม่เปิน แม่วงก์ ชุมแสง โกรกพระ หนองบัว อำเภอเมือง อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอพยุหะคีรี อำเภอท่าตะโก อำเภอไพศาลี และอำเภอตาคลี รวม 88 ตำบล 654 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 29,148 ครัวเรือน 74,196 คน ถนนเสียหาย 192 สาย ฝาย 12 แห่ง บ่อปลา 156 บ่อ พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 163,083 ไร่ ในเบื้องต้นจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ให้การช่วยเหลือ ได้แก่ ถุงยังชีพ กว่า 24,748 ชุด ยารักษาโรค 3,252 ชุด น้ำดื่ม 34,038 ขวด สนับสนุนเรือท้องแบน เรือพาย 36 ลำ เครื่องสูบน้ำ 9 เครื่องรถสุขาเคลื่อนที่ 1 คัน รถบรรทุก 1 คัน

สภาพน้ำท่วมแต่ละอำเภอที่กำลังถูกน้ำท่วมหนัก มีดังนี้คือ อ.ตาคลี มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 5 ตำบล ได้แก่ ต.ตาคลี ต.ลาดทิพรส ต.สร้อยทอง ต.ช่องแค ต.จันเสน รวม 48 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 2,226 ครัวเรือน ระดับน้ำยังสูงอยู่เนื่องจากไม่สามารถระบายน้ำออกคลองชลประทานได้ อ.ท่าตะโก มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 7 ตำบลได้แก่ ต.ทำนบ ต.หัวถนน ต.ท่าตะโก ต.พนมเศษ ต.วังมหากร ต.สายลำโพง ต.หนองหลวง ระดับน้ำยังสูงเกือบ 1 เมตรและบางพื้นที่ระดับน้ำสูงกว่า 1.5 เมตร

สนง.ป้องกันและบรรทเสาธารณภัยร่วมกับ อ.ท่าตะโก มอบถุงยังชีพผ่านทางเทศบาลท่าตะโกไปแจกจ่ายแล้วจำนวน 1,500 ชุด อ.หนองบัว มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ต.ห้วยถั่วเหนือ ต.ห้วยถั่วใต้ ต.ห้วยร่วม ระดับน้ำเริ่มลดลง อ.ไพศาลี ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ต.สำโรงชัย ต.โคกเดื่อ ต.ไพศาลี ระดับน้ำเริ่มลดลงแล้ว ถนนหลายสายสามารถใช้การได้ปกติอ.ลาดยาว มีน้ำท่วมขังบนถนนสายนครสวรรค์-ลาดยาว (สาย 1072) ช่วงหลัก กม.ที่ 12+100-13+100 ระดับน้ำสูงประมาณ 60 ซม. รถเล็กไม่สามารถสัญจรได้ ถนนสายลาดยาว-ศาลเจ้าไก่ต่อ มีน้ำท่วมระดับน้ำสูงประมาณ 50 ซม. ถนนสายลาดยาว-สว่างอารมณ์ มีน้ำท่วมระยะทางประมาร 500 เมตร ระดับน้ำสูงประมาณ 30 ซม.

ส่วนด้านคมนาคม แขวงการทางนครสวรรค์ที่ 2 ดำเนินการซ่อมแซมคอสะพานที่ชำรุดบนทางหลวงหมายเลข 11 อินทร์บุรี-เขาทราย ช่วง อ.ตากฟ้า-อ.ไพศาลี (กม.69+630) พร้อมติดตั้งสะพานแบรีย์แล้วเสร็จสามารถใช้เส้นทางสัญจรให้รถหนักไม่เกิน 10 ตันผ่านได้

สถานการณ์น้ำ แม่น้ำปิง มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,021 ลบม./วินาที ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น 60 ซม ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีก แม่น้ำน่าน มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,103 ลบม./วินาที ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีก 15 ซม.ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีก แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,112 ลบม./วินาที ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น อีก 30 ซม. ระดับน้ำยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีก

สภาพอากาศมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ทำให้มีฝนตกหนาแน่นในบริเวณดังกล่าวอีกในระยะ 2 วันนี้ นอกจากนี้ยังมีมวลอากาศเย้นจากประเทศจีนแผ่ลงเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียวเหนือตอนบน และจะแผ่ปกคลุมภาคเหนือในวันนี้ ส่วนปริมาณฝนจะยังมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่งโดยเฉพาะในเขตพื้นที่นครสวรรค์

จากคุณ : Jump Master
เขียนเมื่อ : 15 ก.ย. 54 21:12:35 A:58.9.140.176 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com