ความจริงแล้ว บทสรุปต่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 อันมาจาก
"คณะนิติราษฎร์" ก็แทบไม่แตกต่างไปจากบทสรุปของปัญญาชน นักวิชาการ
"เสื้อเหลือง"
ไม่ว่าจะเป็น นายคมสัน โพธิ์คง แห่งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ไม่ว่าจะเป็น นายเจษฐ์ โทณวณิก แห่งมหาวิทยาลัยสยาม
แม้กระทั่ง คอลัมนิสต์ซึ่งมีความโน้มเอียงไปทางเสื้อเหลือง ไปทางพรรค
ประชาธิปัตย์ ก็มีบทสรุปแทบไม่แตกต่างไปจากของ "คณะนิติราษฎร์"
นั่นก็คือ เห็นว่าเป็นการรัฐประหารที่เสียของ
เพียงแต่คำว่าเสียของอันมาจากปัญญา นักวิชาการและคอลัม นิสต์ที่แนบ
ชิดกับเสื้อเหลืองและพรรคประชาธิปัตย์ประเมินว่า
รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ไม่สามารถทำลายระบอบทักษิณ
และความนิยมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลงได้ในหมู่ประชาชนระดับรากหญ้า
นี่ย่อมตรงกันข้ามกับบทสรุปในลักษณะรวบยอดของ "คณะนิติราษฎร์"
ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างปัญญาชน นักวิชาการที่แนบชิดกับ
เสื้อเหลืองและพรรคประชาธิปัตย์ กับ "คณะนิติราษฎร์" อยู่ตรงที่
ฝ่ายแรก ยอมรับและสนับสนุนการทำรัฐประหาร
ฝ่ายหลัง ปฏิเสธ คัดค้าน และต่อต้าน การทำรัฐประหารอย่างถึงที่สุดและอย่าง
สิ้นเชิง ไม่เพียงแต่กระทำโดยการออกแถลงการณ์แสดงความไม่เห็นด้วย หาก
ที่สำคัญยังดำเนินการเคลื่อนไหวต่อสาธารณะอย่างเปิดเผยและต่อเนื่อง
ตั้งแต่ภายหลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เรื่อยมา กระทั่งเมื่อครบ
5 ปีของรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549
จุดยืนอันมั่นคงของ "คณะนิติราษฎร์" คือไม่เห็นด้วยอย่างสิ้นเชิง
การเคลื่อนไหวอันแน่วแน่ ตรงไปตรงมา คือ การปฏิเสธอย่างถึงที่สุด
ไม่ประนีประนอม
จากเหตุผลเช่นนี้เองจึงนำไปสู่ข้อเสนออย่างตรงไปตรงมาอันปรากฏผ่าน
แถลงการณ์ "คณะนิติราษฎร์" อย่างชนิดที่ทำให้กลุ่มเสื้อเหลืองและพรรค
ประชาธิปัตย์ยอมรับ ไม่ได้
นั่นก็คือ ปฏิเสธ "ผล" อันมาจากกระบวนการ "รัฐ ประหาร"
ข้อเสนอลักษณะนี้ย้อนแย้งกับอาการสยบยอมของนักกฎหมายอันดำรง
อยู่อย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นต่อการยึดอำนาจของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
เมื่อปี 2500 และเมื่อปี 2501
ตลอดจนการยึดอำนาจของ จอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อ ปี 2514
ถามว่าเป็นข้อเสนอที่รุนแรง สุดโต่ง หรือไม่ ตอบได้เลยว่า รุนแรง
สุดโต่งและไม่เคยปรากฏมาก่อนในทางการเมือง
ตรงนี้แหละที่นำไปสู่อาการช็อกในทางความคิด
คําโต้แย้งของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ว่า ต้อง "นิติรัฐ" ไม่ใช่
นิติราษฎร์" ถือว่าแหลมคม
แหลมคมเพราะว่าในอีกด้านก็เสนอคำถามด้วยว่า "นิติรัฐ" จะดำรงอยู่ได้
อย่างไรหากไม่สนใจต่อ "ราษฎร" หากไม่มี "ราษฎร" เป็นรากฐานและเป็น
เป้าหมายของการกำหนด ยึดโยง
แล้วจะประเมินบทบาทและความหมายของ "คณะราษฎร" เมื่อปี 2475 อย่างไร
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dOakl5TURrMU5BPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1TMHdPUzB5TWc9PQ==
"ข่าวสด" โปร คณะนิติราษฏร์ แล้วก็ลองมาอ่านที่ต่อต้านกันดู
เกลียดรัฐประหาร หรือเกลียดที่เขาทำกับทักษิณ?
โดย...โยธิน กลางยุทธ์
เมื่อวันที่ 18 กันยายน ที่ผ่านมา มีงานรำลึกการทำรัฐประหารครั้งล่าสุด
ครบรอบ 5 ปี โดยมีวัตถุประสงค์ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ อาจารย์สอน
วิชากฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ส่วนหนึ่งตั้งกลุ่มชื่อนิติราษฎร์ ออกแถลง
การณ์เสนอลบล้างผลพวงจากการรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นประเด็น
ให้วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ขณะนี้
คณะนิติราษฎร์ ประกอบด้วยคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประกอบด้วย นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นางจันทจิรา เอี่ยมมยุรา นายฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
นายธีระ สุธีวรางกูร นางสาวสาวิตรี สุขศรี นายปิยบุตร แสงกนกกุล และนายปูนเทพ
ศิรินุพงศ์ ออกแถลงการณ์ 5 ปีรัฐประหาร 1 ปีนิติราษฎร์ เสนอ 4 ประเด็นต่อสังคม
ประเทศไทยคือ
<
<
<
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000120439
ฉบับนี้ ต่อต้านคณะนิติราษฏร์ แน่นอนจาก ผู้จัดการ ย้าวยาวค่ะ รบกวนไปอ่าน
จาก link จะได้ เอาไปเปรียบเทียบกัน เอาใจทั้งคนรักเพื่อไทย และ รัก ปชป.
ทั้ง 2 บทความมองคนละมุม
เมื่อวาน กระทู้ทึ่แปะบทความจาก ผู้จัดการโดนลบไป ไม่รู้เพราะอะไร ?
ไม่ทราบเหตุผล วันนี้ลองอีกที