(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 29 กันยายน 2554)
ข้อเสนอลบล้าง "ผลพวง" ของรัฐประหาร 19 กันยายน
รวมทั้งเปิดช่องทางในการดำเนินคดีกับ "ผู้ก่อรัฐประหาร" และ "ผู้เกี่ยวข้อง"
เพื่อป้องกันมิให้ "รัฐประหาร" มีโอกาสเกิดขึ้นได้อีกในสังคมไทย
โดยนักวิชาการ "คณะนิติราษฎร์"
สร้างผลสั่นสะเทือนค่อนข้างสูง
เมื่อถูกนักการเมืองบางพรรคและสื่อกระแสหลักจำนวนหนึ่งนำไปเชื่อมโยงว่า
"นิติราษฎร์" รับงาน "ทักษิณ"
ส่งผลให้นักวิชาการกลุ่มนี้ต้องตั้งโต๊ะแถลงข่าวชี้แจงข้อเสนอของพวกตนซ้ำอีกครั้งในวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน
ซึ่งนำมาสู่ "ผลพวง" จำนวนมาก
"ผลพวง" เรื่องการกล่าวหาว่า "ทำเพื่อคนคนเดียว" อาจค่อยๆ จางหายไป
"ผลพวง" การโต้แย้งจากมุมมองแบบ "ข้าราชการ" ก็มีอยู่บ้าง เช่น ความเห็นของท่าน ผบ.ทบ.
แต่ก็มี "ชมรมพนักงานสอบสวน" ที่ออกมาสนับสนุนว่าข้อเสนอของ "นิติราษฎร์" เป็นวิวัฒนาการทางสังคม และเห็นว่า
"ตามหลักนิติธรรมนั้น กฎหมายต้องไม่ถูกบัญญัติโดยอำนาจหรือคำสั่งของผู้กระทำรัฐประหาร เพราะถือว่าไม่ชอบด้วยนิติวิธีในระบอบประชาธิปไตย"
อย่างไรก็ตาม เริ่มมีนักวิชาการ-นักกฎหมาย ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับแถลงการณ์ของ "คณะนิติราษฎร์" กันมากขึ้น
สมคิด เลิศไพฑูรย์ ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดีธรรมศาสตร์ ตั้งคำถาม 15 ข้อ กับ "นิติราษฎร์"
ส่วนเพื่อนร่วมคณะอย่าง กิตติศักดิ์ ปรกติ ตั้งคำถามว่า เป็นการผิดฝาผิดตัวหรือไม่ ที่ "นิติราษฎร์" นำกระบวนการยุติธรรมไทยหลังรัฐประหาร 2549 ไปเปรียบเทียบกับศาลนาซี
ภายในระยะไม่ถึง 24 ชั่วโมง ปรากฏว่ามีคนออกมาโต้แย้ง "สมคิด" และ "กิตติศักดิ์" กันไม่น้อย
โดยที่ "นิติราษฎร์" ยังไม่ทันได้ชี้แจงตอบคำถามอะไรเพิ่มเติม
ไล่ตั้งแต่ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล นักศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็น "อนาคต" ของวงการกฎหมายมหาชนไทย
อดีต ส.ส.ร.2540-ส.ว.เลือกตั้ง-คณบดีนิติศาสตร์ มธ. อย่าง พนัส ทัศนียานนท์
กระทั่งถึง สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ที่มาพร้อมกับข้อมูลเรื่องต้นกำเนิดของ "สิทธิมิแรนด้า" ซึ่งเราได้เห็นได้ยินกันบ่อยๆ ในหนังฮอลลีวู้ด
ทว่าท้าทายรากฐานวัฒนธรรมทางกฎหมายไทย ที่มักให้น้ำหนักกับ "คำตัดสิน" หรือ "เนื้อหาของคดี" มากกว่า "วิธีการ" อย่างสำคัญ
ที่น่าสนใจคือ แทบทั้งหมดต่างโต้แย้งกันด้วยความคิด หลักเหตุผล และหลักวิชาทางด้านนิติศาสตร์ (แม้บางคนอาจ "การ์ดหลวม" ไปหน่อย)
ถ้าสื่อนำเสนอข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้าน คนอ่าน/คนดูก็คงจะได้ประโยชน์ไปไม่น้อย
นี่เป็นบรรยากาศที่ดีสำหรับ "การเมืองไทยยุคเปลี่ยนผ่าน" ซึ่งจำเป็นจะต้องสร้างเวทีถกเถียงในเชิงหลักการให้บ่อยครั้งและมีความเข้มข้นมากขึ้น
จึงถือว่า "คณะนิติราษฎร์" ได้ "จุดไฟในสายลม" ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง (หรือจะเปลี่ยนจาก "สายลม" เป็น "ห...ฝน" ก็ยังพอสมเหตุสมผลอยู่)
จากนี้ ไม่ว่าใครจะต้องการให้สังคมไทย "มืดมิด" สักเพียงใด
แต่ "แสงสว่างแห่งการตื่นรู้" ก็ถูกจุดติดขึ้นมาแล้ว และมีแนวโน้มจะถูกจุดต่อไปเรื่อยๆ
ท่ามกลาง "ราตรีกาล" อันต่อเนื่องยาวนาน
จนไม่ใช่เรื่องง่าย หากใครยังคิดที่จะ "ดับไฟ"
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1317298770&grpid=&catid=02&subcatid=0207
อีกซักทีเถอะน่า ..... คุณคนชาย หัวหอกสำคัญที่คัดค้าน เรื่องนี้
ต้องต่อด้วย แอนด์ เฟรนด์ ง่ายไหมง่ายที่จะคิด "ดับไฟ" กระบวน
การคัดค้านในพันทิบ บอร์ดการเมืองใหญ่ ก็มีให้เห็นเป็นประจำ
ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ เพราะเขามาเป็นกระบวน ล้วนเป็นผู่้รู้ทั้งน้าาาน
ดิฉันเป็นรู้น้อย ก็ต้องค่อย ๆ เรียนรู้ัไปเรื่อย ๆ เผื่อจะฉลาด ๆ
แบบเพื่อน ๆ
บ้านนี้เมืองนี้ คนหลาย ๆ เขาไม่ต้องการไฟ ไม่ต้องการแสงสว่าง
จากคนอื่นเพราะ ต้องการแสงสว่าง แบบที่เขาขอจุดเอง และเขาก็
จุดให้เห็นกันเป็นประจำในบอร์ดนี้