ขอโทษนะครับ หากซ้ำ ยาวไปหน่อย ตอนโพส เนทมีปัญหา
ปัญหาก็คือ ขณะที่ฝ่ายเผด็จการยึดครองอำนาจรัฐ และสร้างรัฐธรรมนูญขึ้น อีก 5 ฉบับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 ถูกยกเลิกไปหรือไม่???
คำตอบ คือ ไม่ได้ถูกยกเลิก เพราะรัฐธรรมนูญในการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประชาชนเท่านั้นที่มีสิทธิกำหนด ให้ยกเลิก ได้ เพียงแต่ การบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ไม่อาจทำได้ในช่วงนั้น เนื่องจากไม่มีอำนาจรัฐสนับสนุน
ต่อมาแนวคิดฝ่ายเสรีนิยมมีอำนาจเพิ่มขึ้น จึงเกิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ขึ้น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เกิดจาก สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 99 คน โดยมีที่มาจากตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งประชาชนทางอ้อม ทั้งหมด 76 จังหวัด และตัวแทนนักวิชาการ เสนอรายชื่อโดยสถาบันการศึกษา จำนวน 23 คน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จึงเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 โดยประชาชน
ต่อมาในวันที่19 กันยายน 2549 ฝ่ายเผด็จการสามารถยึดครองอำนาจรัฐได้อีกครั้ง จึงได้สร้างรัฐธรรมนูญในการปกครองด้วยระบอบเผด็จการ ขึ้นมาอีก 2 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
เนื่องจากฝ่ายเผด็จการไม่กล้าที่จะประกาศตรงๆว่า เป็นระบอบการปกครองแบบเผด็จการ เพราะเกรงว่าจะถูกต่อต้าน จึงต้องสร้างภาพว่าระบอบที่เขาใช้ คือ ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ โดยการสร้างเงื่อนไขอำนาจของเขาแอบแฝงไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเห็นได้เมื่อศึกษารัฐธรรมนูญที่เขาสร้างมาฉบับต่างๆ
เมื่อฝ่ายเสรีนิยมเปิดโปง ประชาชนส่วนใหญ่เริ่มรู้ทันวิธีการเหล่านั้น ฝ่ายเผด็จการจึงต้องพัฒนาวิธีการสร้างภาพ สร้างความชอบธรรมให้แนบเนียนขึ้นดังนั้นในรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงต้องกำหนดให้มีการลงประชามติ และด้วยการใช้อำนาจรัฐ ทั้งปลอบ ทั้งขู่ รวมทั้งเล่ห์กลฉ้อฉลต่างๆ ที่สุดผลประชามติก็รับรองรัฐธรรมนูญฉบับนี้ตามธงที่ตั้งไว้
เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 โดยประชาชน และไม่เคยมีประชามติให้ยกเลิก
ดังนั้นสถานะของประเทศไทยในขณะนี้ จึงมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญในการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย 1 ฉบับ และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญในการปกครองด้วยระบอบเผด็จการ ที่สร้างหน้าฉากว่าเป็นรัฐธรรมนูญในการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยโดยการใช้วิธีฉ้อฉลเพื่อให้ได้ประชามติมารองรับ อีก 1 ฉบับ
ปัญหาก็คือ ฉบับใด คือ รัฐธรรมนูญในการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง
ในเมื่อฝ่ายเผด็จการแอบอ้างว่าเป็นประชาธิปไตยโดยอ้างประชามติที่ได้มาโดยฉ้อฉล จึงควรใช้วิธีการในระบอบประชาธิปไตยตัดสินปัญหานี้ นั่นคือ ให้ประชาชนลงมติว่าจะใช้ฉบับใด
ผลของประชามติ จะทำให้ปัญหาเรื่องการบังคับใช้รัฐธรรมนูญหมดไป เพราะถ้าประชาชนลงมติให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นรัฐธรรมนูญในการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง การทำรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 จะกลายเป็นสิ่งผิดกฎหมายโดยอัตโนมัติ ประกาศ คำสั่ง ฯลฯ จะหมดผลไปโดยปริยาย จึงไม่ต้องไปตามแก้เรื่องผลของการรัฐประหารอีกต่อไป การกระทำของทุกฝ่ายตั้งแต่หลัง19 กันยายน 2549 หากไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ก็จะเป็นการกระทำโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ก็จะไม่มีผล ส่วนผู้กระทำผิดก็ต้องรับโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆเป็นรายบุคคลและรายกรณีไป หลักกฎหมายก็ไม่ต้องถูกละเมิด เพราะถ้าเราออกเป็นประกาศหรือพระราชบัญญัติ เพื่อยกเลิกผลของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จะมีข้อโต้แย้งได้ว่าฐานะของประกาศหรือพระราชบัญญัติ ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ ทำให้หาข้อยุติได้ยาก ครับ
สรุป คือ เรากำลังหลงประเด็น เราถูกจูงใจให้เชื่อว่า 1ประเทศมีกฎหมายสูงสุดได้ฉบับเดียว ทั้งที่ความจริงก็คือ 1 ประเทศมีการปกครองได้หลายระบอบ แต่ละระบอบก็มีกฎหมายสูงสุดได้ 1 ฉบับ ดังนั้นเราจึงต้องกำหนดให้ได้ก่อนว่า ขณะนี้เราอยู่ในระบอบใด ถ้าเรายืนยันว่าขณะนี้เราอยู่ในระบอบประชาธิปไตย เราก็มีกฎหมายสูงสุดฉบับเดียวคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 เท่านั้น
ตั้งแต่มีการทำรัฐประหารประเทศไทยอยู่ในระบอบอื่น และปัจจุบันนี้ เราอยู่ในระบอบใด???? ตอนนี้สังคมกำลังสับสน ไม่รู้ว่าตนอยู่ในระบอบการปกครองใด ผู้ที่สนับสนุนของแต่ละระบอบ ต่างก็นำกฎหมายของระบอบที่ตนสนับสนุนมาใช้และอ้างว่า นี่คือ นิติรัฐ-นิติธรรม เพื่อสนับสนุนและสร้างความชอบธรรมให้ฝ่ายตน
ในเมื่อนำกฎหมายของระบอบที่ต่างกันมาใช้เวลาและสถานที่เดียวกัน ความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฝ่ายเผด็จการพยายามสร้างความคลุมเครือตรงนี้ ด้วยวิธีนี้ ดังนั้นเราจึงไม่ควรเดินตามเกมเขา สิ่งที่ต้องทำ คือ การลงประชามติว่าเราจะใช้รัฐธรรมนูญฉบับใด ผลของประชามติจะก่อให้เกิดความชัดเจน การแก้ไขปัญหาของประเทศก็จะง่ายขึ้น แต่ถ้าเรายังยอมประนีประนอมยอมรับความคลุมเครือต่อไป ปัญหาจะไม่มีวันสิ้นสุด เพราะมันจะถูกซุกไว้รอเวลาประทุขึ้นใหม่ เราต้องเช่นนั้นหรือ???