p { margin: 0px; } (ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 3 ตุลาคม 2554)
โฆษกพรรค ปชป.แถลงปฏิกิริยาต่อข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์แทนคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่ตรงไหนเป็นการตอบโต้ของคุณอภิสิทธิ์ และตรงไหนเป็นการตอบโต้ของตัวโฆษกเอง ไม่สู้จะชัดนัก
อย่างไร ก็ตาม คุณอภิสิทธิ์มิได้ปฏิเสธคำแถลงของโฆษก จึงต้องถือว่าทั้งหมดนั้นเป็นความเห็นของคุณอภิสิทธิ์ หรืออย่างน้อยก็มีความเห็นสอดคล้องตามคำแถลง
คุณอภิสิทธิ์เคยพูดเอง มาก่อนว่า ตัวเขาเอาแต่นิติรัฐ ไม่เอานิติราษฎร์ ประหนึ่งว่าสองอย่างนี้ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังที่เขาเคยเลือกการเป็นนายกฯ ด้วยอำนาจนอกระบบ เพื่อรับเสียงสนับสนุนให้พอในสภา แต่ไม่มุ่งมั่นที่จะสร้างคะแนนเสียงจากประชาชนด้วยตนเอง
อันที่จริง หากเคยอ่านเว็บไซต์ของกลุ่มนิติราษฎร์ ก็เห็นได้ในชื่อรองอยู่แล้วว่า นิติราษฎร์ในความหมายของกลุ่มก็คือ "นิติศาสตร์เพื่อราษฎร" เป็นคนละเรื่องกับนิติรัฐ เอามาแทนที่กันไม่ได้
แต่แน่นอนว่าคำนิติราษฎร์เลียนเสียงคำว่านิติรัฐ จึงเป็นไปได้ว่าอาจมีนัยยะซ้อนมากไปกว่านั้น
นิติ รัฐหมายถึงอะไร กล่าวโดยสรุปก็คือ พลเมืองของรัฐทุกคน (รวมผู้ปกครองด้วย) ย่อมสัมพันธ์กันภายใต้กฎหมายที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนั้น นิติรัฐจึงต้องให้ความสำคัญสูงสุดแก่ความเสมอภาค จะเห็นได้ว่าแม้ในคำว่านิติรัฐ จุดเน้นก็อยู่ที่ราษฎรนั่นเอง เพราะรัฐเฉยๆ โดยไม่มีราษฎรเป็นแกนหลักนั้นไม่มี
(ทั้งนี้ ยังไม่ต้องพูดในแง่ภาษาว่า รัฐกับราษฎร์นั้น ที่จริงคือคำเดียวกันในภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น)
แต่ ในเมืองไทย ชนชั้นปกครองมักพูดถึงรัฐประหนึ่งว่าเป็นอะไรอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งแยกออกไปจากพลเมือง และอยู่เหนือพลเมืองทุกคน รัฐกลายเป็นวัตถุแห่งการบูชาและการสังเวย รัฐของชนชั้นปกครองไทยไม่ได้หมายถึงกลุ่มคนที่เป็นเจ้าของรัฐร่วมกันซึ่งก็ คือราษฎร
ตามทฤษฎีนี้ รัฐจึงเป็นสัตว์ประหลาดที่เกิดจากรูกระบอกไม้ไผ่ เมื่อแยกออกไปจากราษฎรได้เสียแล้ว จึงดำรงอำนาจและชีวิตของรัฐเพื่อตัวของรัฐเอง หากจำเป็นเพื่อดำรงอำนาจและชีวิตต่อไป รัฐอาจหันมากินราษฎรเป็นภักษาหารได้ ใครที่สามารถขึ้นไปขี่สัตว์ประหลาดที่ชื่อรัฐได้ ก็ไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กับคนอื่นบนฐานของกฎหมาย และย่อมอยู่สูงกว่าราษฎรทั้งหลาย (ที่เรียกว่าสองมาตรฐาน) ไม่ต้องรับผิดชอบกับการกระทำของตนเอง เพราะทำในนามของสัตว์ประหลาดที่ชื่อรัฐ สามารถออกคำสั่งในนามของรัฐได้ตามใจชอบ และบังคับให้ยึดถือคำสั่งนั้นเป็นกฎหมายด้วย
ผมไม่ทราบว่ากลุ่มนิติ ราษฎร์คิดอะไรในเรื่องชื่อของกลุ่ม แต่ผมได้รับความหมายถึงการย้อนความหมายของคำว่านิติรัฐที่นิยมใช้กันในหมู่ ชนชั้นปกครองไทยด้วย และด้วยเหตุดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่คุณอภิสิทธิ์รับคำ "นิติราษฎร์" ไม่ได้ รับได้แต่คำว่านิติรัฐ
เพราะรัฐในความ คิดของคุณอภิสิทธิ์คือสัตว์ประหลาด ซึ่งแม้คุณอภิสิทธิ์ไม่มีกำลังกล้าแข็งพอจะขึ้นไปขี่เองได้ แต่คุณอภิสิทธิ์คงมั่นใจว่า กองทัพย่อมเลือกจะยืนอยู่ฝ่ายคุณอภิสิทธิ์ต่อไป ดังนั้น สักวันหนึ่งข้างหน้า กองทัพก็จะจัดให้คุณอภิสิทธิ์ขึ้นขี่สัตว์ประหลาดตัวนี้อีกจนได้
คุณ อภิสิทธิ์แสดงความรังเกียจการใช้มหาวิทยาลัยเป็น "เวที" แสดงความเห็นส่วนตัวหรือส่วนกลุ่มของนิติราษฎร์ เพราะยังมีบุคลากรภายในอีกจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวของกลุ่ม นิติราษฎร์ "ถ้าแน่จริง เลิกใช้หมวกมหาวิทยาลัยและหมวกนักวิชาการในการออกมาเคลื่อนไหว"
แต่ กลุ่มนิติราษฎร์ไม่เคยบอกว่า ตนเป็นตัวแทนของ ม.ธรรมศาสตร์นี่ครับ ไม่ได้เป็นแม้แต่ตัวแทนของคณะนิติศาสตร์ด้วยซ้ำ กลุ่มของเขามีชื่อเสียงเรียงนามปรากฏให้รู้ได้ชัดเจน ว่าประกอบด้วยใครบ้าง เขาก็เป็นตัวแทนของคนกลุ่มนี้
หากจะแถลงความเห็นอะไรในมหาวิทยาลัย ต้องรอให้บุคลากรภายในเห็นชอบด้วยทุกคน นับตั้งแต่ภารโรงขึ้นไปถึงอธิการบดี อาจารย์มหาวิทยาลัยก็ไม่ต้องแถลงอะไรในชาตินี้ แม้แต่ค้นพบว่าโลกเบี้ยว ก็แถลงไม่ได้ เพราะคงมีอีกหลายคนที่ยังยืนยันว่าโลกกลมเด๊ะ
ส่วนการ ใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยในการแถลงความเห็น ก็ถูกต้องตรงตามประเพณีของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างยิ่ง ไม่ใช่ประเพณีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้นนะครับ แต่เป็นประเพณีของมหาวิทยาลัยทั้งโลกก็ว่าได้
คุณอภิสิทธิ์คิดว่ามีมหาวิทยาลัยไว้ทำอะไร? หากไม่ใช่เพื่อเสนอความจริง, ความงาม และความดี อย่างใหม่
ผมขอเน้นว่าอย่างใหม่ด้วยนะครับ เพราะหากย้ำกันแต่ความจริง, ความงาม, ความดีที่ตกทอดมาแต่โบราณอย่างเดียว ก็ไม่จำเป็นจะต้องตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น มีสถาบันทางสังคมปกตินับตั้งแต่ครอบครัว, วัด, โทรทัศน์, นิด้า, และพรรคประชาธิปัตย์ ก็พอแล้ว
อันที่จริงประเพณีของมหาวิทยาลัยตะวัน ตก ซึ่งเราลอกเลียนแบบมาใช้นั้นคือกบฏมาแต่ต้น มหาวิทยาลัยคือพื้นที่ของการเคลื่อนไหวทางสังคม ที่โดยเปรียบเทียบแล้วค่อนข้างมีอิสรเสรีกว่าพื้นที่อื่นในสังคม ที่ต้องหนีไปตั้งให้ห่างจากศูนย์อำนาจต่างๆ ก็เพื่อจะสามารถเสนอความคิดความเห็นได้อย่างอิสรเสรี
มหาวิทยาลัย "ท่างัว" (Oxford แปลว่าทางงัวเดินข้ามน้ำ) ซึ่งเป็นโรงเรียนเก่าของคุณอภิสิทธิ์ เลือกไปตั้งทำการเรียนการสอนกันที่นั่น ก็เพื่อให้ไกลจากอำนาจ ซึ่งเป็นอำนาจใหญ่ในสมัยนั้น ที่คอยขัดขวางห้ามปรามความคิดใหม่ๆ ทั้งหลาย เพราะเกรงว่าจะกระทบอำนาจของตน
ถ้าใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยเพื่อคิด, พูด หรือแสดงออกได้เฉพาะเนื้อหาที่ต้องไม่ขัดแย้งกับอาญาสิทธิ์ของสังคมเท่านั้น ยังจะมี "เสรีภาพทางวิชาการ" อะไรเหลืออยู่ในมหาวิทยาลัยอีก ก็น่าประหลาดที่ว่า คุณอภิสิทธิ์ก็ยังเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดของนักวิชาการในมหาวิทยาลัยจำนวน หนึ่ง
กลุ่มนิติราษฎร์ได้ทำข้อเสนอทางวิชาการเพื่อการดีเบตในทาง วิชาการ ไม่ใช่ในเชิงท้าทายอย่างเดียว แต่ตามคำแถลงครั้งแรก เพื่อปรับปรุงให้ข้อเสนอนี้มีคุณภาพดีขึ้นไปอีก
ดีเบตไม่ได้แปลว่าโต้วาทีเพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงการโต้แย้งทางวิชาการกันด้วยเหตุผลและข้อมูลด้วย
ผม เดาเอาเองว่า กลุ่มนิติราษฎร์คงเข้าใจดีว่า คนทั่วไปที่ไม่ใช่นักวิชาการ คงไม่มีความถนัดหรือเวลาที่จะลงมือเขียนข้อโต้แย้งของตน อย่างเป็นเหตุเป็นผลพร้อมทั้งข้อมูลที่ค้นคว้ามาอย่างดี จึงได้จัดการแถลงครั้งใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วย ได้ใช้เวทีนี้สำหรับการแสดงความเห็นด้วยวาจาแทน
แต่สิ่งที่กลุ่มนิติ ราษฎร์ได้รับจากนักการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์ นับตั้งแต่หัวหน้าพรรคลงมาถึงลิ่วล้อต่างๆ คือการประณามหยามเหยียดตัวบุคคล หรือแรงจูงใจของผู้เสนอ (ซึ่งเป็นการคาดเดาเอาเอง) ไม่มีใครใน ปชป.ที่ "ดีเบต" ตัวประเด็นข้อเสนอของนิติราษฎร์ หากจะมีบ้างบางคนก็เห็นได้จากคำพูดของเขาเองว่าเขายังไม่ได้อ่าน
จึงไม่แปลกอะไรที่พรรค ปชป.ไม่พร้อมจะให้มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ของตน และระแวงสงสัยเสรีภาพทางวิชาการ
เช่น เดียวกับนักการเมืองในพรรค ปชป. จากคำให้สัมภาษณ์ก็ทำให้เห็นว่า ผบ.ทบ.ก็ไม่ได้อ่านข้อเสนอของนิติราษฎร์เช่นกัน หรือถึงอ่าน (บทคัดย่อที่เจ้าหน้าที่ทำส่งขึ้นไป) ก็คงไม่ได้พยายามทำความเข้าใจให้กระจ่างดี แต่ยังดีที่เขาไม่ได้เข้ามาร่วม "ดีเบต" แต่ประเมินไว้เลยว่า ข้อเสนอนี้จะทำให้บ้านเมืองแตกแยก
น่า ประหลาดที่เขามองไม่เห็นว่า การรัฐประหาร และการสังหารหมู่ประชาชนกลางเมือง ทำให้เกิดความแตกแยกที่ร้าวลึกจนยากจะสมานได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่กลับเห็นว่าความคิดเห็นที่ต่างจากเขานั้น ทำให้บ้านเมืองแตกแยก
บ้าน เมืองใดก็ตาม ที่ไม่อาจทนต่อความแตกต่างทางความคิดได้ ถึงอย่างไรก็ย่อมอ่อนแอเกินกว่าจะรักษาความเป็นปึกแผ่นได้อยู่แล้ว เพราะจะมีบ้านเมืองที่ไหนในโลกที่ไม่มีความแตกต่างทางความคิดเล่า
ตรง กันข้ามกับการประเมินของ ผบ.ทบ. ข้อเสนอของนิติราษฎร์นั้นมีจุดมุ่งหมาย "ให้บ้านเมืองเป็นสุข ผ่านพ้นภัยพิบัติต่างๆ ไปได้ด้วยดี" โดยแท้ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีจุดมุ่งหมายถึงอนาคตด้วยว่า บ้านเมืองจะไม่ต้องเผชิญภัยพิบัติจากการรัฐประหารอีกอย่างไม่รู้จบรู้สิ้น
นั่น คือทำให้คำสั่งของคณะรัฐประหารระหว่าง 19-30 ก.ย.2549 "เสียเปล่า" ลงทั้งหมด โดยไม่ยกเว้นความผิดให้ใครเลย (รวมทั้งผู้ก่อการรัฐประหารด้วย) แต่ผลในส่วนอื่นที่เกิดหลังวันที่ 30 ก.ย. ได้มีผลต่อคนจำนวนมาก
การ ทำให้ "เสียเปล่า" ไปด้วย จะก่อให้เกิดความระส่ำระสายแก่คนทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผู้ก่อหรือสนับสนุนการรัฐประหาร จึงจำเป็นต้องยอมรับความไม่เป็นประชาธิปไตยของระบบไปพลางก่อน และเริ่มกระบวนการที่จะนำเอาประชาธิปไตยแท้จริงกลับคืนสู่บ้านเมือง
เช่นการจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับเป็นต้น
อ.นิธิ สัปดาห์นี้ได้แสดงความคิดเห็นต่อกลุ่มคนบางคนที่ สร้างความเลวทรามให้กับประเทศไทยของเราได้อย่างชัดเจน สะท้อนความเป็นประชาธิปไตยในปัจจุบันของไทย
ว่าเป็นประชาธิปไตยจริงหรือเปล่า??? ขอบคุณครับ