แถลงการณ์กลุ่มคณาจารย์ต่อต้านรัฐประหาร ต่อกรณีข้อเสนอทางวิชาการของคณะนิติราษฎร์
ตามที่คณะนิติราษฎร์ได้เผยแพร่ข้อเสนอทางวิชาการของคณะนิติราษฎร์ ในวาระครบ ๕ ปีรัฐประหาร ต่อสารธารณชนเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔ โดยมีสาระสำคัญใน ๔ ประเด็น คือ การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙, การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒, กระบวนการยุติธรรมกับผู้ต้องหาหรือจำเลยและการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายภายหลังรัฐประหาร รัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙, และการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งข้อเสนอทางวิชาการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง มีทั้งที่เห็นด้วยและที่เห็นต่าง มีทั้งที่สร้างสรรค์และที่ทำลายล้าง มีทั้งที่อ้างอิงหลักฐานอันน่าเชื่อถือและที่อ้างอิงอาวุธยุทโธปกรณ์อันน่าหวาดหวั่น
ด้วยความเชื่อมั่นและเจตนาที่จะธำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย เราผู้มีรายนามดังปรากฏข้างท้ายแถลงการณ์นี้ได้ศึกษาข้อเสนอทางวิชาการของคณะนิติราษฎร์โดยละเอียดแล้ว จึงได้ร่วมกันแสดงจุดยืนของเราในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑. เราสนับสนุนข้อเสนอทางวิชาการทั้ง ๔ ประเด็นของคณะนิติราษฎร์ โดยเล็งเห็นว่าข้อเสนอทางวิชาการดังกล่าวนอกจากจะช่วยรักษาจุดด่างพร้อยจากการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ แล้ว ยังช่วยสร้างกลไกการป้องกันการก่อรัฐประหารในอนาคตอีกด้วย ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ข้อเสนอทางวิชาการดังกล่าวอุดมไปด้วยจิตวิญญาณประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
๒. เราเสนอให้รัฐบาลและองค์กรที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอทางวิชาการของคณะนิติราษฎร์ไปพิจารณา ศึกษาความเป็นไปได้ และนำไปปฏิบัติให้เป็นจริง อันจะเป็นโอกาสสำคัญในการเสริมรากฐานประชาธิปไตยของประเทศให้แข็งแกร่งอีกคำรบหนึ่ง
๓. เราขอเชิญชวนให้บรรดานักวิชาการและประชาชนทุกสาขาอาชีพไม่ว่าจะอยู่ในแวดวงนิติศาสตร์หรือไม่ก็ตามอย่านิ่งเฉย โปรดออกมาร่วมเสนอแนะและวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ บนฐานความรู้ความเข้าใจของท่าน เพื่อให้ได้ความคิดที่รอบด้านอันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศ
๔. เราขอประณามการใส่ร้ายป้ายสี การบิดเบือนข้อเท็จจริง การขู่อาฆาตมาดร้าย และความพยายามใดๆ ก็ตามที่มุ่งทำลายเสรีภาพทางวิชาการและบรรยากาศประชาธิปไตยทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ซึ่งไม่เพียงไม่ก่อประโยชน์อันใดแก่สังคมแล้วยังกัดกร่อนทำลายกลุ่มผู้กระทำการเช่นนั้นเองด้วย
ขอให้ประชาธิปไตยจงเบ่งบาน มวลหมู่เผด็จการจงสิ้นสูญ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
๑. กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์ (วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
๒. อนุชา โสมาบุตร (นักวิชาการอิสระ)
๓. อิศรา ก้านจักร (คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
๔. ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม (วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
๕. ปิยบุตร บุรีคำ (ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
๖. ประสงค์ สีหานาม (ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
๗. พงศาล มีคุณสมบัติ (นักวิชาการอิสระ)
๘. สุดา รังกุพันธุ์ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
๙. ชูธรรม สาวิกันย์ (ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร)
๑๐. อาซีดีน นอจิ (ภาควิชากฎหมายอิสลาม โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา จังหวัดปัตตานี)
๑๑. ศาสวัต บุญศรี (คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร)
๑๒. ธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์ (คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
๑๓. เอกพิชัย สอนศรี (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่)
๑๔. สรัลภัค หมอกเรืองใส (วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ ม.ราชภัฏสวนสุนันทา)
๑๕. เนติลักษณ์ นีระพล (นักวิชาการอิสระ)
๑๖. วิระพงศ์ จันทร์สนาม (คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ)
๑๗. เสนัชย์ ทองประดิษฐ์ (นักวิชาการอิสระ)
๑๘. กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช (นักศึกษาปริญญาโท Aberystwyth University, UK)
๑๙. ฉัตรชัย ช้างชัย (นิสิตคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา)
๒๐. สฤษดิ์ จันทราช (พ่อค้า ศรีสะเกษ)
๒๑. ยุทธนา สูงสุมาลย์ (สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ)
๒๒. สลักธรรม โตจิราการ (นายแพทย์ปฏิบัติการ โรงพยาบาลบ้านหมอ)
๒๓. องอาจ บุญคง
๒๔. วโรดม ตู้จินดา (คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
๒๕. อิสราภรณ์ ไตรรัตน์รุ่งเรือง (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.ระยอง)
๒๖. วัฒนา สุขวัจน์ (รุ่งโรจน์ อริน วรรณศูทร) (นักเขียนอิสระ)
๒๗. พงษ์ ทรงพงษ์ (ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
๒๘. ณฐ หมั่นเขตกิจ (นักวิชาการอิสระ)
๒๙. เอกสิทธิ์ แย้มเยือน (นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง)
๓๐. นายนิคม รัตนจันทร์ (โครงการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ)
๓๑. วหัสยา ขอสุข (ธุรกิจส่วนตัว)
๓๒. วิษณุ อาณารัตน์ (นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
๓๓. วสุเทพ ฦๅชา (นิสิตปริญญาเอก วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
๓๔. สุนิสา อิทธิชัยโย (ภาควิชานิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
๓๕. เกียรติศักดิ์ แสงสง่าง (ธกส.)
๓๖. ชุมพล นนทาโซะ (ธุรกิจส่วนตัว)
๓๗. สายัณห์ ผิวบาง (ธุรกิจส่วนตัว)
๓๘. บัญชา ราชมณี (นักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)
๓๙. สุพัฒน์ สุตะวงศ์ (ธุรกิจส่วนตัว)
๔๐. บงการ อิ่มสำอางค์ (มหาสารคาม)
๔๑. นายธัชชนันท์ จันทกูล (นักศึกษาปริญญาโท เทคโนโลยีวิศวกรรมการก่อสร้าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ)
-------------------------------------------------------------------------------
อีกไม่นาน คงมีทะยอยเปิดตัวขึ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
อ.สมคิด รีบไปหากองหนุนมาเพิ่มแต่เนิ่นๆเน้อ เดี๋ยวจะไม่ทันการ
ว่าแต่โดน อ.พนัส ตุ้ยท้องไปเมื่อวานก่อน หายจุกหรือยังคร๊าบ
แก้ไข เอาลิ้งค์มาวาง เผื่อจะมีนักวิชาการท่านใดสนใจจะเข้าร่วมแสดงจุดยืนต้านรัฐประหาร
หรือว่าใครต้องการให้กำลังใจอาจารย์ผู้กล้าทุกท่านครับ. http://www.wiraja.com/?p=1356
ชอบประโยคนี้มากครับ ขอให้ประชาธิปไตยจงเบ่งบาน มวลหมู่เผด็จการจงสิ้นสูญ
แก้ไข 2 มาอัพเดทครับ จากเมื่อคืนมีอาจารย์แสดงตน 12 ท่าน เช้านี้ ณ เวลา 9.35 น. เพิ่มเป็น 17 ท่านแล้วครับ
และคาดว่าจะเพิ่มมาเรื่อยๆ ดีใจจัง ย้ำอีกครั้งครับ ขอให้ประชาธิปไตยจงเบ่งบาน มวลหมู่เผด็จการจงสิ้นสูญ
แก้ไข 3 ณเวลา 12.35 น. เพิ่มเป็น 24 ท่านครับ
" ขอให้ประชาธิปไตยจงเบ่งบาน มวลหมู่เผด็จการจงสิ้นสูญ"
แก้ไข 4 ป๊าด มาแรงจริงๆ ณ เวลา 21.58 น. ของวันที่ 4 ตุลาคม เพิ่มเป็น 37 ท่านครับ
แก้ไข 5 อัพเดทครับ ณ เวลา 10.00 น. ถ ตุลาคม 2544 มี 42 ท่านแล้วครับ
แก้ไข 6 มีรายชื่อซ้ำอยู่ท่านหนึ่ง เหลือ 41 ท่านครับ
แก้ไขเมื่อ 05 ต.ค. 54 10:04:13
แก้ไขเมื่อ 05 ต.ค. 54 10:01:47
แก้ไขเมื่อ 04 ต.ค. 54 21:54:06
แก้ไขเมื่อ 04 ต.ค. 54 12:35:59
แก้ไขเมื่อ 04 ต.ค. 54 09:34:33
แก้ไขเมื่อ 04 ต.ค. 54 05:58:19