คงจำได้นะครับที่เมื่อวานนี้ผมตอบปัญหาเรื่องเรือยางของคุณมาแล้ว ที่ผมตอบก็เพราะผมชอบคุณที่ไม่ตั้งกระทู้ล่อเป้าเหมือนคนอื่น แม้จะต่างขั้วแต่ผมก็เห็นว่าคุณไม่ก้าวร้าว อ่อนน้อมถ่อมตนน่านับถือคนหนึ่งครับ
ก่อนอื่นต้องเรียนว่าสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นดินตั้งแต่สระบุรีจนถึงสมุทรปราการมีสภาพเป็นดินเลน การที่มีระดับพื้นดินที่อยู่ในระนาบเดียวกัน สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางเพียงไม่เกิน 3 เมตรเท่านั้นทำให้การไหลของน้ำเป็นไปอย่างเชื่องช้ามาก เมื่อเกิดน้ำท่วมจะมีเวลายาวนาน
(Mr_L) 1.ในเมื่อรู้กันอยู่แล้วว่าน้ำกำลังจะท่วม(ที่สำคัญมันท่วมทุกปี) แล้วทำไมไม่เร่งระบายน้ำในเขื่อนเตรียมไว้ก่อน หรือว่าเราไม่รู้ว่าน้ำจะมา ไม่รู้ว่าเขื่อนจะรับน้ำไม่ไหว....
(ตอบ) ไม่มีใครรู้หรอกครับว่าปีไหนน้ำจะท่วม หรือว่าฝนจะแล้ง(ฝนน้อย)โดยปกติเมื่อสมัยก่อนที่ป่าไม้ยังอุดมสมบูรณ์ดีอยู่น้ำมักจะท่วมประมาณ 4 ปีต่อหนึ่งครั้งตามวงจรการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกที่เรียกกันว่า ลานินญ่า ครับ ปีนั้นจะมี 364วัน
แต่ปัจจุบันป่าไม้ถูกทำลายลงมากโดยเฉพาะในประเทศบราซิลซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นเครื่องปรับอากาศของโลกได้ถูกทำลายลง อีกทั้งบรรยากาศของโลกมีสภาพเป็นเรือนกระจก บวกกับน้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายลงอย่างรวดเร็วเพราะโลกร้อนขึ้น ดินฟ้าอากาศจึงแปรปรวนไม่เป็นไปตามฤดูกาล
เวลาแล้งจะแล้งจัด เวลาฝนตกจะตกมาก จะเกิดพายุขึ้นหลายลูกกว่าทุกปีที่ผ่านมา และแต่ละลูกจะใหญ่กว่าเก่ามาก จึงไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด เพียงแต่รู้ล่วงหน้าประมาณ 1 สัปดาห์เท่านั้น
ก่อนหน้านี้เข้าพรรษาแล้วแท้ๆแต่ ลำน้ำยมกลับแห้งขอด น้ำในอ่างน้อยกว่าทุกปีที่ผ่านมา รัฐบาลอภิสิทธิ์จึงพยายามเก็บน้ำในอ่างเหนือเขื่อนต่างๆให้พอเพียงเพื่อการเกษตรและบริโภค
แต่อยู่ๆ ก็มีพายุเข้ามาถล่มติดต่อกันมาเรื่อยๆจนขณะนี้น้ำในเขื่อนทุกเขื่อนเต็ม 100 % ไม่สามารถจะรับได้อีกต่อไป พายุก็ยังคงเข้ามาอีก เมื่อปล่อยน้ำจากเขื่อนลงมาบวกกับน้ำในพื้นที่ทำให้น้ำท่วมหลายจังหวัด
ทุกจังหวัดที่น้ำผ่านก็กั้นไม่ให้ท่วมพื้นที่ของตน พยายามที่จะให้น้ำไหลลงเจ้าพระยาอย่างเดียว จึงทำให้น้ำลดช้า การปลูกสร้างบ้านเรือนไม่นิยมสร้างแบบใต้ถุนสูง และมักนิยมสร้างกำแพงรอบบ้านจึงทำให้น้ำไหลช้ามากขึ้น เมื่อเป็นอย่างนี้จึงเหมือนเป็นตัวส่งเสริมให้สถานการณ์เลวร้ายกว่าสมัยก่อนมาก
2.พวในังกั้นน้ำเห็นทำมันทุกปี พอน้ำลดก็ปล่อยๆมันไว้ ไม่สร้างเสริมให้ถาวร อย่างการทำพนังกั้นน้ำของ จ.อยุธยา เห็นทำแล้วทำอีก ก็ท่วมไดทุกปีเหมือนกัน ตกลงวิศวกรเราไม่เก่งหรือไม่ทำกันแน่....
(ตอบ) ผนังกั้นน้ำที่ใช้ทั่วไปใช้กระสอบทรายครับ พอน้ำลดจะมาใช้งานอย่างอื่นไม่ได้นอกจากใช้ถมที่ดินเท่านั้น เพราะจะมีตะกอนดินโคลนเข้าไปแทรกจนเม็กทรายติดกันแน่นเหมือนปูนซีเมนต์ จะนำมาป่นย่อยจะไม่คุ้มค่า
ที่จังหวัดอยุธยาจำเป็นต้องเอาออกครับเพราะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทำให้ไม่สวยงามแต่ได้ข่าวว่าทำแบบถาวรบ้างแล้วครับ ที่จังหวัดผมกระสอบทรายแต่ละปีประมาณ 200,000 กระสอบตองเก็บมาแล้วถวายวัดเพื่อถมที่ดินครับ
ผนังกั้นน้ำในหมู่บ้านผมใช้กั้นตลอดชายแม่น้ำเจ้าพระยาระยะทางประมาณ 3 ก.ม. จะใช้งบผูกพันตั้งงบไว้ทำพนังด้วยดินคล้ายทำถนนเท่าที่จะทำได้ ถ้าเกิดน้ำท่วมในปีถัดไปจะลดจำนวนกระสอบทรายได้มาก และจะลดลงไปเรื่อยๆทุกปี แต่ถ้าทำอยู่ตำบลเดียวหากผนังของตำบลอื่นพังก็ท่วมเหมือนกันครับ
3.การกู้ภัย ช่วยเหลือเบื้องต้น อุปกรณ์กู้ภัยต่างๆ เรื่อ ชูชีพฯลฯ ปีก่อนก็ระดมกัน ปีก่อนโน้นก็ระดมกัน แล้วปีนี้ก็ยังระดมกันอีก ตกลงมันใช้ครั้งเดียวทิ้งหรือเปล่า หรือที่ระดมกันไปมันไปลงที่ถุงยังชีพของนักการเมืองหมด....
(ตอบ) เรือกู้ภัยหรือเรือใช้สอยส่วนมากจะได้รับมอบจากกองทัพเรือครับ ทางจังหวัดจะเป็นผู้รับมอบและขึ้นทะเบียนเป็นอัตราพัสดุประจำจังหวัดครับ เมื่อเสียหายก็ต้องรุจำหน่ายเหมือนครุภัณท์ทั่วไป แต่อาจมีบางหน่วยงานที่ไม่ค่อยระวังรักษาเท่าที่ควรครับ