นานาชาติพร้อมใจแนะกลางเวทียูเอ็น ประเทศไทยควรแก้ไขม.112 พ.ร.บ. คอมพ์
|
 |
สำนักข่าวประชาไทรายงานว่า เมื่อเวลา 19.30 วันที่ 5 ตุลาคม สภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้จัดเวทีการรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย โดยมีตัวแทนจากรัฐบาลไทยรายงานสถานการณ์สิทธิฯ ต่อสหประชาชาติและตัวแทนจากรัฐบาลต่างๆ กว่า 50 ประเทศ
การรายงานการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของแต่ละประเทศ เป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ ในสภาสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ตั้งคำถามต่อประเทศที่ถูกตรวจสอบ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งใน 16 ประเทศของรอบเดือนตุลาคม 2554 ที่ต้องรายงานสถานการณ์สิทธิภายในประเทศต่อประชาคมนานาชาติ โดยใช้เวลารวมทั้งหมดสามชั่วโมง
ทางคณะผู้แทนไทย นำโดยนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ พร้อมตัวแทนจากกระทรวงต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงแรงงาน ได้รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทยโดยรวมว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเสรีภาพสื่อมาก จะเห็นจากการที่สื่อไทยและต่างประเทศสามารถทำงานได้โดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐบาล และกล่าวถึงเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในปีที่แล้วว่า รัฐบาลกำลังดำเนินการทำการเยียวยา และชดใช้ความเสียหายให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบตามความเหมาะสม
ขณะที่ตัวแทนรัฐบาลจากเกือบ 20 ประเทศ อาทิเช่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร นอร์เวย์ สวีเดน แคนาดา ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรเลีย ได้แสดงความกังวลต่อประเด็นเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกในไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องการใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งถูกมองว่าเป็นกฎหมายที่ลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และได้เสนอคำแนะนำต่อประเทศไทย ให้ยกเลิก หรือแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้สอดคล้องตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล
ทางตัวแทนรัฐบาลอังกฤษ กล่าวในประเด็นเสรีภาพในการแสดงออกของประเทศไทยว่า เห็นด้วยกับประเทศไทยที่ชี้ว่า การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์เป็นเรื่องที่ต้องทำด้วยความเคารพ อย่างไรก็ตาม ประชาชนไทยควรจะสามารถถกเถียงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในรัฐธรรมนูญได้ โดยไม่กลัวว่าจะถูกดำเนินคดีเพราะทำผิดกฎหมาย
เช่นเดียวกับตัวแทนรัฐบาลนอร์เวย์ ที่แสดงความเป็นห่วงถึงจำนวนผู้ที่ถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายหมิ่นและ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ที่สูงขึ้นมาก และได้มีข้อเสนอแนะว่า รัฐบาลไทย ควรทำให้กระบวนการยุติธรรมต่อผู้ที่ถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายดังกล่าวเป็นไปอย่างโปร่งใสต่อสาธารณะ และควรให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่เหมาะสมแก่ผู้ถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ ยังกล่าวว่า ในฐานะที่นอร์เวย์เป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบรัฐธรรมนูญอันทรงมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy) นอร์เวย์เองก็มีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หากแต่กฎหมายดังกล่าวกำหนดผู้ฟ้องไว้เฉพาะพระมหากษัตริย์ หรือต้องได้รับคำยินยอมจากพระมหากษัตริย์ก่อนเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำกฎหมายดังกล่าวไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองได้
"เราขอแนะนำให้ประเทศไทย แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก ทั้งนี้ เรายินดีที่จะแบ่งปันประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของเราในประเด็นดังกล่าว [กับประเทศไทย]" ตัวแทนจากรัฐบาลนอร์เวย์ระบุ +++++++++++++++
แบ่งปันกันอ่าน ในสิ่งที่คนภายนอกมองเห็น (คัดลอกบางส่วนจากมติชน)
แก้ไขเมื่อ 09 ต.ค. 54 14:17:24
จากคุณ |
:
จ่าปืนเรือ
|
เขียนเมื่อ |
:
9 ต.ค. 54 13:54:51
A:101.108.51.6 X:
|
|
|
|