+++++ ความผิดพลาดในการบริหารจัดการน้ำและการรับมือปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ +++++
|
 |
ได้นำบทความของทีมการเมือง ไทยรัฐออนไลน์มาลงให้อ่านกันแล้วในกระทู้ข้างล่าง(คลิกที่นี้) ก็เป็นมุมมองของทีมการเมือง ซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นสมาชิกหรือเล่นพันทิพ แต่ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง และเป็นสมาชิกพันทิพ ก็ขอใช้สิทธิวิจารณ์เรื่องนี้ในฐานะประชาชนคนไทยคนหนึ่งที่มีสิทธิวิจารณ์รัฐบาลบ้าง อาจจะมองในมุมที่ต่างไปจากทีมการเมืองไทยรัฐ แต่ก็มีข้อสรุปเหมือนกัน คือ ข้อสงสัยในประสิทธิภาพและความสามารถในการจัดการบริหารจัดการน้ำและการรับมือปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาล
1.น้ำในเขื่อนมีมากมาก่อนหน้า จนรัฐบาลนี้บริหารจัดการไม่ได้หรือไม่
ในวันที่นายกฯยิ่งลักษณ์ได้รับตำแหน่งคือ 5 สิงหาคม 2554 นั้น น้ำในเขื่อนใหญ่ที่สำคัญที่มีผลอย่างมากต่อการเกิดน้ำท่วมในที่ราบลุ่มภาคกลางอย่างเช่นเขื่อนภูมิพลนั้น มีน้ำอยู่เพียงแค่ร้อยละ 66 ของความจุเท่านั้น และในเวลานั้น มีการระบายออกมาเพียง วันละ 20 ล้านลบ.ม. เท่านั้น ส่วนเขื่อนสิริกิตต์แม้จะมีน้ำอยู่มากคือราวร้อยละ 84 ของความจุ แต่น้ำจากเขื่นสิริกิตต์ก็ไม่ได้มีผลต่อการเกิดน้ำท่วมในเวลาต่อมาเลย (คลิกดูน้ำในเขื่อนในเวลานั้นได้)
ดังนั้น ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลที่เป็นเขื่อนสำคัญจึงไม่ได้มากเกินไปในเวลาที่รัฐบาลนี้เข้ามา หากคิดจะบริหารจัดการให้ดีในเวลาต่อๆมา ความคิดที่ว่า มีการกักเก็บน้ำไว้มากเกินไปในเขื่อนนี้ก่อนรัฐบาลเข้ามา จนมีปัญหาในการจัดการของรัฐบาลนี้จึงไม่เป็นความจริง เพราะหากในเวลานั้น มีน้ำอยู่เกินกว่าที่ควรจะเป็นรัฐบาลใหม่ย่อมสามารถสั่งให้เขื่อนพร่องน้ำ ให้ระบายน้ำออกวันละมากกว่า 20 ล้านลบ.มได้เพื่อรอรับน้ำฝนที่อาจจะเข้ามาใหม่ ไม่ใช่มารอจนเขื่อนจะเต็มแล้วจึงปล่อยกันวันละ 100 ล้านลบ.ม.เอาในเดือนตุลาคม จนเป็นเหตุสำคัญให้น้ำท่วมใหญ่
2.รัฐบาลอ้างได้หรือไม่ว่า รัฐบาลไม่ใช่เทวดา จึงจะรู้ว่าอาจจะมีน้ำท่วม จึงไม่ได้ศึกษาหรือรีบจัดการน้ำเสียแต่ต้นมือ
เป็นการอ้างเพื่อจะปัดความรับผิดชอบ เพราะเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าช่วง กันยายาย-ตุลาคม-พฤศิจากยน ไทยมักจะมีน้ำท่วมในภาคเหนือและในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางทุกปี ดังนั้น รัฐควรจะต้องระวังในเรื่องนี้อยู่้บ้างไมช่ปล่อยปละละเลยให้เป็นเรื่องใหญ่ อีกประการ ในช่วงที่มีการจัดคณะรัฐมนตรีอยู่นั้น ก็มีเหตุน้ำท่วมเตือนรัฐบาลที่จะมาใหม่ให้ระวังเรื่องนี้อยู่แล้วคือ น้ำท่วมที่ลำปาง แพร่ แม่ฮ่องสอน(คลิกดูปัญหาน้ำท่วมตอนนั้นได้) ซึ่งเป็นน้ำท่วมไม่ใหญ่คลี่คลายได้ในไม่กี่วัน ช่วงที่รัฐบาลแถลงต่อสภาเสร็จเมื่อ 25 สิงหาคม 2554 ปัญหาน้ำท่วมที่เปรียบเสมือนสัญญาณเตือนนี้คลี่คลายลงบ้าง (คลิกดูปัญหาน้ำท่วมที่เริ่มดีขึ้นได้)
และในเวลานั้น ปริมาณน้ำในเขื่อนก็ยังมิได้มากเสียจนจะบริหารจัดการไม่ได้(คลิกดูน้ำในเขื่อนได้) มีแต่เขื่นสิริกิตต์ที่มีปริมาณน้ำมากคือร้อยละ 93 แต่ก็ไม่ได้ก่อให้เขื่อนสิริกิตต์ก็ไม่ได้ปล่อยน้ำออกมากจนเป็นปัญหาทั้งในเวลานั้นหรือในเวลาต่อมา ส่วนเขื่อนภูมิพลมีน้ำอยู่ร้อยละ 75 ซึ่งน่าจะได้รับการบริหารจัดการน้ำเสียแต่ในเวลานั้น โดยการพร่องน้ำออกบ้าง แต่รัฐบาลใหม่ก็ไม่ได้ตระหนัก ไม่ได้จัดการเรื่องน้ำให้ถูกต้องแต่ต้นมือ แต่รอให้ทุกอย่างพัฒนาไป จนเกินกว่าจะแก้ไขและมีผลลัพธ์เป็นหายนะครั้งยิ่งใหญ่อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
โดยสรุปคือ เป็นความจริงว่ารัฐอาจจะไม่รู้ว่าจะมีน้ำท่วมใหญ่ เพราะนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดเดาได้อยู่แล้ว แต่รัฐควรสนใจและมีความเฉลียวและรัฐน่าจะรู้ว่ามีโอกาสที่น้ำจะท่วมอยู่ ไม่ว่าจะมากหรือจะน้อยก็ตาม สมควรติดตามและประเมินสถานการณ์ให้ดีให้ทัน ไม่ใช่ปล่อยจนเป็นเรื่องใหญ่ทำลายทรัพย์สินมากมายแบบนี้
3. รัฐไม่ได้กำชับติดตามสถานการณ์ จะมาทำก็จนเมื่อสายไปแล้ว
เรื่องนี้แสดงว่าผู้บริหารระดับสูงสุดในรัฐบาลนี้ ไม่ได้คาดคิดว่าอาจจะมีน้ำท่วมใหญ่ได้ แม้มันจะเป็นเรื่องที่สามารถเกิดได้อยู่เพราะเวลาที่รัฐบาลมานั้น ก็รู้กันอยู่ว่าเป็นช่วงไทยมักจะเกิดน้ำท่วม แต่รัฐบาลกลับไม่ได้กำชับให้มีการตรวจสอบปริมาณฝนปริมาณน้ำ ไม่ได้มีการติดตามสถานการณ์หรือประเมินจนรับทราบว่า ที่จริงแล้วมวลน้ำที่ปล่อยออกจากเขื่อนทั้งหลายและปริมาณน้ำฝนที่ตรวจวัดได้ ได้ก่อตัวเป็นมวลน้ำขนาดมโหฬารที่สามารถก่อให้เกิดมหาอุทกภัยในที่ราบุล่มภาคกลางของไทยอย่างหนักอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อไม่สนใจจะติดตามเรื่องนี้ รัฐจึงไม่รู้ และจึงไม่ได้มีการวางแผนอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันเขตอุตสหกรรมและนิคมอุตสหกรรม ได้ล่วงหน้าและเหมาะสม
4.รัฐบาลไม่วางยุทธศาสตร์ให้ชัด ไม่ทุ่มเทรักษานิคมอุตสาหกรรมอย่างเพียงพอ จนหลือแต่นวนคร
นิคมอุตสาหกรรมทั้ง 5 แห่งล้วนเป็นแหล่งจ้างงานขนาดใหญ่มาก และมีผลต่อระบบและสายการผลิตของประเทศ จนถึงขนาดว่าโรงงานนอกนิคมอุตสาหกรรมหรือกิจการที่น้ำไม่ท่วม ก็ยังต้องหยุดงานหรือชลอการทำงานเพราะขาดวัตถุและสินค้าจากโรงงานในเขตนิคมที่ถูกน้ำท่วม น้ำที่ท่วมนอกจากจะทำความเสียหายให้แก่ตัวโรงงาน อาคาร เครื่องจักร วัตถุดิบที่ติดค้าง ผลิตภัณท์ที่ผลิตแล้วไม่ได้นำออกมา ฯลฯ จึงยังส่งผลกระทบต่อระบบการผลิตของอุตสาหกรรมไทย และผู้ที่เดือดร้อนไม่ใช่แต่พนักงานโรงงานหรือเจ้าของโดยตรง ผู้ขนส่งพนักงาน คนที่ขายของให้พนักงาน ญาติพี่น้องที่ต้องพึ่งพารายได้จากพนักงาน หรือที่เกี่ยวข้องกับโรงงานและพนักงาน ก็ต้องพากันได้รับผลกระทบไปทั่วหน้า
รัฐจึงควรตระหนักและวางยุทธศาสตร์การรับมือ โดยให้ความสำคัญถึงขนาดว่าต้องยอมทุ่มทุกอย่างเพื่อรักษาเขตอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรมเหล่านี้ไว้ให้ได้ มิใช่พูดแต่ปากว่าจะป้องกัน แต่มิได้กระทำการอย่างจริงจัง มิใช่ส่งทหารเพียงแค่ 400-500 นายที่ไม่มีความรู้ไปช่วยทำคันกั้นน้ำ แต่ควรจะต้องระดมวิศวกรทั้งไทยและต่างชาติที่มีความรู้มาโดยด่วน ระดมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือหนักเบาทุกอย่างมา เพื่อสร้างแนวกั้นน้ำที่สามารถรับมือกับน้ำหนือที่ไหลมาได้โดยไม่พังทลาย
มิใช่ประมาทปล่อยให้ใครก็ได้ที่มีรถแบ็คโฮตักดินที่ไม่มีคุณภาพมาทำคันกั้นน้ำโดยปราศจากการควบคุมดูแลของคนที่มีความรู้ สุดท้ายคันกั้นน้ำก็พังทลายเพราะคันดินไม่ได้คุณภาพอย่างคันดินของนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค น่าเสียดายที่นิคมอุตสหกรรมมูลค่าเป็นแสนล้านนี้ ต้องมาจมน้ำเพียงเพราะการจัดการที่ไม่เหมาะสมดีพอของรัฐ ซึ่งหากเพียงทุ่มเงินสัก200-300 ล้านบาทหรือพันล้านบาท มาเพื่อทำทุกอย่างเืพื่อทำคันกั้นน้ำที่มีคุณภาพและมีระดับความสูงที่เหมาะสม นิคมอุตสาหกรรมไฮเทคและนิคมอุตสหากรรมอื่นอีก4 แห่ง คงไม่พบกับวันที่ต้องจมน้ำแบบนี้(แต่ดูเหมือนงานนี้ รัฐแทบไม่ไ่ด้ทุ่มเงินหรืออะไรไปกับการป้องกันนิคมอุตสหากรรมทั้ง 5 เลย นอกจากส่งทหารจำนวนหนึ่งเข้าไป ก็เท่านั้น สำหนับนิคมอุตสหากรรมมูลค่าเป็นแสนล้าน)
สรุป ผลลัพธ์ที่ตามมา ความล้มเหลวของรัฐบาลในการรับมือปัญหาน้ำท่วมและการดูแลนิคมอุตสาหกรรม ส่งผลอย่างร้ายแรงต่อประชาชนจำนวนมาก มิใช่เฉพาะแต่พนักงานโรงงานนับแสนๆคนที่ต้องตกงานในทันที่ แต่ส่งผลวงกว้างกว่า ทั้งนี้เพราะความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาล
การจะไปโทษรัฐบาลอื่นหรือคนอื่น หรือโทษดินโทษฟ้า หรือโทษว่ามันสุดความสามารถก็ว่ากันไปเถอะครับ ก็ในเมื่อตนเองรัฐบาลที่มีหน้าที่ต้องดูแลทุกข์สุขของประชาชนในเวลานี้ จะแก้ตัวอย่างไรไป ประชาชนก็ต้องก้มหน้ารับกรรมอย่างเช่นทุกวันนี้แหละ

ขอเข้ามาเพิ่มลิงค์สำหรับท่านที่ต้องการตรวจสอบปริมาณน้ำในเขื่อนในช่วงเวลาต่างและสถานการณ์น้ำทวมในช่วงเวลาต่าง จากลิงค์ต่อไปนี้ - ปริมาณน้ำในเขื่อนใช้ลิงค์ http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.php
-สถานการณ์น้ำท่วมใช้ลิงค์ http://www.thaiflood.com

แก้ไขเมื่อ 16 ต.ค. 54 23:05:28
แก้ไขเมื่อ 16 ต.ค. 54 21:00:06
แก้ไขเมื่อ 16 ต.ค. 54 20:55:19
จากคุณ |
:
thyrocyte
|
เขียนเมื่อ |
:
16 ต.ค. 54 20:52:16
A:124.121.129.247 X:
|
|
|
|