+++++ การโกหกเรืองน้ำในเขื่อน ของคนบางจำพวกเพื่อให้พวกตนพ้นผิดอย่างน่าละอาย +++++++
|
 |
เนื่องจากมีการกล่าวอ้างผิดๆเกี่ยวกับปริมาณน้ำในเขื่อนในช่วงที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์เข้ามาบริหารงาน จึงขอนำข้อมูลจากกระทู้เก่ามาลงซ้ำเพื่อประโยชน์แก่สมาชิก ดังนี้
1.น้ำในเขื่อนมีมากมาก่อนหน้า จนรัฐบาลนี้บริหารจัดการไม่ได้หรือไม่
ใน วันที่นายกฯยิ่งลักษณ์ได้รับตำแหน่งคือ 5 สิงหาคม 2554 นั้น น้ำในเขื่อนใหญ่ที่สำคัญที่มีผลอย่างมากต่อการเกิดน้ำท่วมในที่ราบลุ่มภาค กลางอย่างเช่นเขื่อนภูมิพลนั้น มีน้ำอยู่เพียงแค่ร้อยละ 66 ของความจุเท่านั้น และในเวลานั้น มีการระบายออกมาเพียงวันละ 20 ล้านลบ.ม. ส่วนเขื่อนสิริกิตต์แม้จะมีน้ำอยู่มากคือราวร้อยละ 84 ของความจุ แต่น้ำจากเขื่นสิริกิตต์ก็ไม่ได้มีผลต่อการเกิดน้ำท่วมในเวลาต่อมาเลย และความจุโดยรวมของเขื่อนทั้งหมดในภาคเหนือในวันที่ 5 สิงหาคม 2554 อยู่ที่ ร้อยละ 73 เท่านั้น มิใช่ร้อยละ 90 อย่างทีมีการกล่าวอ้างกันผิดๆ คลิกดูได้ได้ Click
ดัง นั้น ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลหรือเขื่อนอื่นๆในภาคเหนือ ที่เป็นเขื่อนสำคัญจึงไม่ได้มากเกินไปในเวลาที่ รัฐบาลนี้เข้ามา หากคิดจะบริหารจัดการให้ดีในเวลาต่อๆมา ความคิดที่ว่า มีการกักเก็บน้ำไว้มากเกินไปในเขื่อนนี้ก่อนรัฐบาลเข้ามา จนมีปัญหาในการจัดการของรัฐบาลนี้จึงไม่เป็นความจริง น่าจะเป็นการใส่ร้ายหรือโยนชั่วให้พ้นตัวเอง เพราะหากในเวลานั้น มีน้ำอยู่เกินกว่าที่ควรจะเป็นรัฐบาลใหม่ย่อมสามารถสั่งให้เขื่อนพร่องน้ำ เพื่อรอรับน้ำฝนที่อาจจะเข้ามาใหม่ ไม่ใช่มารอจนเขื่อนจะเต็มแล้วจึงปล่อยกันวันละ 100 ล้านลบ.ม.เอาในเดือนตุลาคม จนเป็นเหตุสำคัญให้น้ำท่วมใหญ่
2.รัฐบาลอ้างได้หรือไม่ว่า รัฐบาลไม่ใช่เทวดา จึงจะรู้ว่าอาจจะมีน้ำท่วม จึงไม่ได้ศึกษาหรือรีบจัดการน้ำเสียแต่ต้นมือ
เป็น การอ้างเพื่อจะปัดความรับผิดชอบ เพราะเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าช่วง กันยายาย-ตุลาคม-พฤศิจากยน ไทยมักจะมีน้ำท่วมในภาคเหนือและในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางทุกปี ดังนั้น รัฐควรจะต้องระวังในเรื่องนี้อยู่้บ้างไมช่ปล่อยปละละเลยให้เป็นเรื่องใหญ่ อีกประการ ในช่วงที่มีการจัดคณะรัฐมนตรีอยู่นั้น ก็มีเหตุน้ำท่วมเตือนรัฐบาลที่จะมาใหม่ให้ระวังเรื่องนี้อยู่แล้วคือ น้ำท่วมที่ลำปาง แพร่ แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นน้ำท่วมไม่ใหญ่คลี่คลายได้ในไม่กี่วัน ช่วงที่รัฐบาลแถลงต่อสภาเสร็จเมื่อ 25 สิงหาคม 2554 ปัญหาน้ำท่วมที่เปรียบเสมือนสัญญาณเตือนนี้คลี่คลายลงบ้าง
ในเวลานั้นตอนรัฐบาลแถลงนโยบายเสร็จ ปริมาณน้ำในเขื่อนก็ยังมิได้มากเสียจนจะบริหารจัดการไม่ได้คืิอเขื่อนภูมิพลเก็บน้ำร้อยละ 75 และรวมกันแล้วเขื่อยภาคเหนือเก็บน้ำร้อยละ 82 คลิก ซึ่งหากรัฐบาลจะเฉลียวสักนิด ก็สมารถทยอยเร่วระบายน้ำออกเสียแต่เวลานั้น ไม่ใช่มาโยนบาปให้รัฐบาลก่อน
3. รัฐไม่ได้กำชับติดตามสถานการณ์ จะมาทำก็จนเมื่อสายไปแล้ว
เรื่อง นี้แสดงว่าผู้บริหารระดับสูงสุดในรัฐบาลนี้ ไม่ได้คาดคิดว่าอาจจะมีน้ำท่วมใหญ่ได้ แม้มันจะเป็นเรื่องที่สามารถเกิดได้อยู่เพราะเวลาที่รัฐบาลมานั้น ก็รู้กันอยู่ว่าเป็นช่วงไทยมักจะเกิดน้ำท่วม แต่รัฐบาลกลับไม่ได้กำชับให้มีการตรวจสอบปริมาณฝนปริมาณน้ำ ไม่ได้มีการติดตามสถานการณ์หรือประเมินจนรับทราบว่า ที่จริงแล้วมวลน้ำที่ปล่อยออกจากเขื่อนทั้งหลายและปริมาณน้ำฝนที่ตรวจวัดได้ ได้ก่อตัวเป็นมวลน้ำขนาดมโหฬารที่สามารถก่อให้เกิดมหาอุทกภัยในที่ราบุล่ม ภาคกลางของไทยอย่างหนักอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อไม่สนใจจะติดตามเรื่องนี้ รัฐจึงไม่รู้ และจึงไม่ได้มีการวางแผนอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันเขตอุตสหกรรมและนิคมอุตสห กรรม ได้ล่วงหน้าและเหมาะสม มิหนำซ้ำยังประมาทว่านำ้จะไม่ท่วมนวนคร ไม่ท่วมดอนเมือง ไม่เท่วมกรุงเทพมหานคร
สรุป ผลลัพธ์ที่ตามมา ความ ล้มเหลวของรัฐบาลในการรับมือปัญหาน้ำท่วมและการดูแลนิคมอุตสาหกรรม การดูแลท่าอากาศยานดอนเมือง ส่งผลอย่างร้ายแรงต่อประชาชนจำนวนมาก มิใช่เฉพาะแต่พนักงานโรงงานนับแสนๆคนที่ต้องตกงานในทันที่ แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสนามบิน ความทุกข์ของคนต่างจังหวัดและคนกรุงเทพฯที่ต้องอพยพหนีน้ำ ส่งผลวงกว้างกว่า ทั้งนี้เพราะความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาล
การจะ ไปโทษรัฐบาลอื่นหรือคนอื่น หรือโทษดินโทษฟ้า หรือโทษว่ามันสุดความสามารถก็ว่ากันไปเถอะครับ ก็ในเมื่อตนเองรัฐบาลที่มีหน้าที่ต้องดูแลทุกข์สุขของประชาชนในเวลานี้ จะแก้ตัวอย่างไรไป ประชาชนก็ต้องก้มหน้ารับกรรมอย่างเช่นทุกวันนี้แหละ

หมายเหตุ สามารถเช็คข้อมูลน้ำมในเขื่อนได้จาก http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.php
.
แก้ไขเมื่อ 03 พ.ย. 54 10:07:52
จากคุณ |
:
thyrocyte
|
เขียนเมื่อ |
:
3 พ.ย. 54 10:06:07
A:58.137.0.146 X:
|
|
|
|