ท้วงเตือน นุ่มนวล จาก บรรหาร ศิลปอาชา ถึง คุณชาย "ผู้ว่าฯ"
ไม่ว่าจะเป็นการส่งหนังสือถึง ศปภ.ฉบับที่ 3 ของ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ไม่ว่าจะเป็นการส่งหนังสือถึง ศปภ.ฉบับที่ 4
ก็อีหรอบเดียวกันกับ การร้องขอ "กระสอบทราย"
นั่นก็คือ เป็นการร้องขอกลางอากาศ นั่นก็คือ เป็นการร้องขอโดยผ่านการแถลงข่าวต่อสื่อแล้วให้สื่อไปป่าวร้อง
จากนั้น หนังสือทางราชการจึงค่อยส่งตามไป
ขณะที่กรมชลประทานซึ่งมิได้รับหนังสือจากกทม. รู้สึกเสียหน้า ฉันใด ศปภ.ซึ่งเคยถูกร้องขอกระสอบทรายผ่านสื่อก็รู้สึกเสียหน้า ฉันนั้น
มิหนำซ้ำกระสอบทรายยังถูกเปิดโปงเสมือนว่าเป็นกระสอบ "กระดาษ" อีกด้วย
ท่วงทำนองของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ต่อศปภ.และต่อกรมชลประทานเช่นนี้เองที่ นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรีส่งเสียงท้วงติงว่า
"อย่าถือยศเลย"
ต้องเห็นใจ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะมองจากสถานะที่ดำรงอยู่ ไม่ว่าจะมองจากชาติวุฒิอันเป็นรากฐานดั้งเดิม และไม่ว่าจะมองจากคุณวุฒิอันได้มาด้วยสมองก้อนโต
อย่าลืมเป็นอันขาดว่าท่านเป็นคนในราชสกุล
อย่าลืมเป็นอันขาดว่าท่านเป็นนักเรียนประจำในสหราชอาณาจักร และศึกษาได้เป็นมหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
อย่าลืมเป็นอันขาดว่าฐานะทางเศรษฐกิจของท่านก็จัดอยู่ในชั้นของผู้มั่งคั่ง
อย่าลืมเป็นอันขาดว่า นอกเหนือจากการได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อันเป็นนครหลวงแห่งประเทศไทยแล้ว ท่านยังเคยเป็น ส.ส.กรุงเทพมหานครและยังเคยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ต้องยอมรับว่าการ "ถือยศ" ถือศักดิ์ของท่านย่อมเป็นเรื่องธรรมดาอย่างยิ่ง
กระนั้น การถือยศ ถือศักดิ์ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ในท่ามกลางสถานการณ์น้ำท่วมและในสถานการณ์ที่สภาพทางการเมืองมีการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง
อาจไม่เป็นผลดีในการประสานงานและขอความร่วมมือ
เพราะว่านายกรัฐมนตรีแม้จะได้ปริญญาโทจากเท็กซัส สหรัฐอเมริกา แต่ก็เป็นเด็กบ้านนอกจากสันกำแพง เชียงใหม่
ผู้อำนวยการ ศปภ.ก็เป็นนายตำรวจจากภาคอีสาน
บางทีการร้องขอความร่วมมือจากคนเหล่านี้ผ่านการแถลงข่าว และการตำหนิความล่าช้าและข้อบกพร่องอย่างตรงไปตรงมาอาจเป็นลักษณะที่ตรงไปตรงมาและเหมาะสมกับฐานานุรูป
กระนั้น ผลก็อาจไม่เป็นไปตามความต้องการที่กำหนดไว้ในใจ
ไม่ว่านายกรัฐมนตรี ไม่ว่าผู้อำนวยการ ศปภ. ไม่ว่าอธิบดีกรมชลประทาน ล้วนเปิดใจกว้าง
เปิดใจกว้างเพื่อประสานและร่วมมือกับ กทม.ในการป้องกันกรุงเทพมหานคร ในการรักษากรุงเทพมหานครเหมือนเป็นไข่ในหิน แต่เมื่อน้ำไหลเข้ามามากการป้องกันรักษาอาจไม่ราบรื่น
แต่ความไม่ราบรื่นที่หนักหนาสาหัสยิ่งกว่าอาจเป็นในเรื่องความเคารพในกันมากกว่า
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dOVEEzTVRFMU5BPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1TMHhNUzB3Tnc9PQ==
การร่วมมือกันแก้ปัญหาจำเป็นต้องร่วมมือกันอย่างไกล้ชิด การประสานกันก็ย่อมจะง่าย แค่เท่าที่เห็นไม่มีการประสานกันเท่าที่ควร ต่างคนต่างอยู่
ครั้งแรกคือมาพูดออกสื่อว่า รัฐให้ถุงกระดาษมาใส่ทราย ซึ่งความจริงแล้วเป็นถุงกระดาษเคลือบพลาสติก ซึ่งไช้ได้เหมือนกัน ซึ่งรัฐบาลก็ไม่ได้ตอบโต้
ครั้งต่อมา ขอเครื่องสูบน้ำ ซึ่งก่อนหน้านั้น กทม.ยืนยันความพร้อมมาโดยตลอด และ กทม.ก็มีเครื่องมือเครื่องสูบอยู่พร้อมอยู่แล้วแต่พอเมื่อแก้ปัญหาของตัวเองไม่ได้ กลับใช้วิธีเล่นการเมือง ทำหนังสือราชการขอไป ซึ่งความจริงแล้วเพียงประสานไปยังศปภ.ก็จะได้รับการตอบสนองทันที และเล่นวิธีเดิมคือ ทวงผ่านสื่อ จะให้เข้าใจว่าอย่างอื่นไปมิได้
การแก้ปัญหาร่วมกัน ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนเท่าเทียมกับรัฐบาล จะไม่รับผิดแต่รับชอบไม่ได้
เลิกเล่นการเมืองแล้วมาร่วมแก้ปัญหาดีกว่าครับ ทุกคนรักประเทศไทย รักกรุงเทพฯด้วยกันทั้งนั้น
แก้ไขเมื่อ 07 พ.ย. 54 18:13:06
แก้ไขเมื่อ 07 พ.ย. 54 18:00:42