ปรับ ครม. หลังน้ำลด? "ปู"ลุย-ตรวจการบ้าน ขึ้น"บัญชีดำ"รัฐมนตรี ผู้ประสบภัยการเมือง
จากกระแสข่าวการปรับ ครม. ที่ก่อตัวมาจากทุกทิศทุกทางขณะนี้
ทำให้บรรดานักพยากรณ์การเมืองฟันธงตรงกันว่ามีความเป็นไปได้มากว่า หลังสถานการณ์น้ำลดแล้วจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายในรัฐบาลอย่างแน่นอน
จากที่เคยมีการคาดหมายกันแต่แรกว่ารัฐบาล ยิ่งลักษณ์ 1 มีฐานะเป็นเพียงรัฐบาลขัดตาทัพ
ตั้งขึ้นมาเพื่อรอเวลาการกลับสู่อิสรภาพทางการเมืองของอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย 111 คน หรือที่เรียกกันว่าสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ซึ่งจะอยู่ในราวเดือนพฤษภาคม 2555
อันเป็นกำหนดเดิมว่าจะมีการปรับ ครม. ชนิดที่เรียกว่าปรับใหญ่ เพื่อเปิดพื้นที่ให้แกนนำพรรคตัวจริงเสียงจริงเข้ามามีบทบาททางการเมืองเต็มตัว หลังจากต้องหลบๆ ซ่อนๆ แอบใช้อำนาจอยู่เบื้องหลังมานาน 5 ปีเต็ม นับแต่ถูกยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมืองปี 2550
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 กลับต้องเผชิญกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน คือภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่ที่สร้างความเสียหายในทุกด้านให้กับพื้นที่ครึ่งค่อนประเทศ
โดยเฉพาะการปล่อยให้กรุงเทพมหานครเมืองหลวงของประเทศต้องกลายเป็นฟลัดเวย์ ยิ่งเป็นตัวเร่งปฏิกริยาของคนกรุงให้เกิดความไม่พอใจต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลมากยิ่งขึ้น
แน่นอนว่าในสถานการณ์ที่กรุงเทพฯ ตกเป็นเมืองขึ้นของกองทัพน้ำ ในมุมการเมืองคือโอกาสทองที่พรรคเจ้าถิ่นอย่างประชาธิปัตย์จะนำมาขยายผลตื้บซ้ำรัฐบาล
โดยตั้งเป้าไว้สูงถึงขนาดเรียกร้องให้มีเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี เพราะมองว่าการปรับ ครม. เพียงอย่างเดียวไม่น่าจะเพียงพอต่อความรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น
ถึงแม้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะประเมินเสียงเรียกร้องให้เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี
ไม่ว่าที่ดังมาจากพรรคฝ่ายค้านหรือดังมาจากสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ตามรายงานข่าวของสื่อบางฉบับว่า เป็นเพียงแค่สีสันทางการเมือง
แต่ในเรื่องของการปรับ ครม. นั้น หากประเมินจากประโยคการตอบคำถามนักข่าวของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ที่ว่า
ขอประเมินสถานการณ์การทำงานเป็นระยะก่อน แล้วค่อยพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไร แต่ขณะนี้ยังไม่มีการปรับ ขอเก็บข้อมูลไปเรื่อยๆ ก่อน
ก็น่าจะชัดเจนพอจะเชื่อได้ว่าการปรับ ครม. ต้องเกิดขึ้นแน่นอน เพียงแต่ยังไม่ใช่ตอนนี้
และนั่นเท่ากับเป็นการเพิ่มน้ำหนักความเป็นไปได้ให้กับรายงานข่าวที่ว่า นายกฯ ยิ่งลักษณ์ เปรยกับคนใกล้ชิดว่า น่าจะมีการปรับ ครม. ในช่วงเดือนมกราคมปีหน้า
ส่วนรัฐมนตรีที่อยู่ในข่ายถูกปรับออกจะมีใครบ้างนั้น
ผลงานการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ จะเป็นตัวชี้วัดสำคัญว่า ใครจะอยู่ใครจะไป
ตามหลักการปรับ ครม. ถูกกำหนดให้เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีแต่เพียงผู้เดียวที่จะพิจารณา แต่สำหรับรัฐบาลยิ่งลักษณ์แล้ว
ประเด็นการปรับ ครม. ซึ่งถูกจุดขึ้นมากลางน้ำ บรรยากาศกลับไม่แตกต่างกับช่วงการจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม
นั่นก็คือการมีชื่อของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาเกี่ยวข้องในฐานะผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ผู้เป็นน้องสาวอีกทอดหนึ่ง
โดยเชื่อมโยงจากรายงานข่าวที่ว่า การแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลและศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ช่วงที่ผ่านมา สร้างความไม่พอใจให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ
เนื่องจากเกิดข้อผิดพลาดบกพร่องมากมายทั้งในด้านข้อมูลและการประสานงาน จนก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบ สร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์และคะแนนนิยมของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ รวมถึงพรรคเพื่อไทย
ดังนั้น จึงต้องการให้มีการปรับ ครม. โดยเฉพาะรัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ทั้งในโควต้าของพรรคเพื่อไทย
และโควต้าในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาล
สําหรับรัฐมนตรีในโควต้าพรรคเพื่อไทยซึ่งมีชื่อในบัญชีดำนั้น
โดดเด่นมากที่สุดคือ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และรมว.มหาดไทย ซึ่งถูกมองว่ายังติดยึดรูปแบบการทำงานข้าราชการมากเกินไป ทำให้บทบาทของ มท.1 แทบไม่มีความหมายทั้งที่มีเครื่องมือกลไกมากกว่ากระทรวงอื่น
อีกรายคือ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ผลงานความรับผิดชอบในการดูแลเยียวยาผู้ประสบภัย ยังไม่เข้าตาทั้งด้านความฉับไวและความทั่วถึง
ขณะที่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม ก็ถูกบทบาทของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กลบเสียสนิท
เช่นเดียวกับ น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ ดูแลสื่อของรัฐ ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าเป็นจุดอ่อนรัฐบาลด้านการประชาสัมพันธ์
แต่ที่ต้องจับตาคือกรณีของ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม ซึ่งถูกเลขานุการของตนเองนำเรื่องไปฟ้องนายใหญ่ในต่างประเทศว่ารวบอำนาจการทำงานไว้คนเดียว
ยังมี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ในเรื่องของการปล่อยให้สินค้าขาดแคลน ราคาแพงและเกิดการกักตุน
นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ นายฐานิสร์ เทียนทอง สอง รมช.มหาดไทย ที่หายตัวไปพร้อมกับสายน้ำ เหมือนกับ นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ รมช.เกษตรฯ พรรคเพื่อไทย ที่แทบไม่เคยมีใครได้ยินชื่อ
อย่างไรก็ตาม มีการประเมินกันว่าการปรับเก้าอี้ภายในพรรคเพื่อไทยไม่น่าจะมีปัญหายุ่งยาก เท่ากับการปรับในส่วนของโควต้าพรรคร่วมรัฐบาล
ไม่ว่าจะเป็น นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ โควต้าของพรรคชาติไทยพัฒนา ซึ่งถูกมองว่าบริหารข้อมูลน้ำในเขื่อนใหญ่ผิดพลาด จนทำให้นายกฯ ยิ่งลักษณ์ เกิดอาการสำลักน้ำตามไปด้วย
ไม่ว่าจะเป็น น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม หัวหน้าพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ซึ่งตั้งรับปัญหาได้ไม่ดีส่งผลให้นิคมอุตสาหกรรม 5-6 แห่งใน จ.พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี ทยอยจมน้ำไปต่อหน้าต่อตา
ทั้งที่รัฐบาลประกาศว่าเอาอยู่มาตลอด
นอกจากในแง่ของการบริหารงานผิดพลาดบกพร่องแล้ว
อีกเหตุผลหนึ่งที่พรรคเพื่อไทยต้องการเวนคืนเก้าอี้ รมว.เกษตรฯ-รมว.อุตสาหกรรม ก็เพื่อให้การวางแนวทางบริหารจัดการน้ำในอนาคต และการฟื้นฟูเยียวยาภาคอุตสาหกรรมหลังน้ำลด
เป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือมีความเป็นเอกภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การที่ นายธีระ-น.พ.วรรณรัตน์ จะถูกเขี่ยออกจาก ครม. ภายหลังน้ำลดหรือไม่
คำตอบอยู่ที่การเจรจาแลกเปลี่ยนระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับ 2 แกนนำพรรคร่วมตัวจริงเสียงจริง คือ นายบรรหาร ศิลปอาชา แห่งพรรคชาติไทยพัฒนา กับ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แก่งพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
โดยเฉพาะในส่วนของพรรคชาติไทยพัฒนา มีรายงานข่าวแจ้งว่านายบรรหารยื่นข้อเสนอต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ไปแล้ว ว่าพร้อมสละกระทรวงเกษตรฯ ให้พรรคเพื่อไทย แลกกับการได้คุมกระทรวงน้ำที่คาดว่าจะตั้งขึ้นใหม่
ซึ่งต้องคอยเงี่ยหูฟังว่าผลสรุปจะออกมาอย่างไร
ท่ามกลางสมาชิกทั้งสองพรรคออกมาเปิดศึกโต้ตอบใส่กันอย่างรุนแรง
ต้องไม่ลืมว่าการที่พรรคเพื่อไทยได้รับเลือกตั้ง ส.ส. เข้ามาพรรคเดียวเกินครึ่งสภา ทำให้มีอำนาจต่อรองล้นมือ ขณะที่พรรคร่วมไม่กล้าเรียกร้องอะไรได้มากนัก
ไม่เช่นนั้นอาจต้องกลายเป็นผู้ประสบภัยการเมืองโดยไม่รู้ตัว ต้องอพยพย้ายไปอยู่กับฝั่งเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์
เพราะในสถานการณ์พรรคเพื่อไทยกำลังตกอยู่ในภาวะคับขัน ถึง พ.ต.ท.ทักษิณ จะมีความสัมพันธ์อันดีกับนายบรรหารมากแค่ไหน
แต่ถึงที่สุดแล้วเลือดย่อมต้องข้นกว่าน้ำอยู่ดี
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1320912399&grpid=no&catid=&subcatid=
หากมีการปรับครม.เกิดขึ้น ก็คงจะพิสูจน์ภาวะการเป็นผู้นำของนายกฯ ได้
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P11322242/P11322242.html
ฟังคำอภิปรายภาวะผู้นำ จากรายการ "ตอบโจทย์" แล้ว ก็เห็นว่า รู้อยู่
แล้วทั้ง 2 คนล้วนมีอคติกับนายก ฯ เลือกคนที่มีคคห.แนวเดียวกัน มา
อภิปราย ก็เหมือนกัยช่วย ถล่ม แถมด้วยการสั่งสอน ... ที่ไม่ใช่แนะนำ
แบบสร้างสรรค์
ขอเสริม เรื่องสว.รสนา หน่อย เธอเป็นคนที่เอาตัวเองเป็ยศูนย์กลาง
ไปดูการระบายน้ำ กทม.ฝั่งตะวันตก ยกแผนที่มาอภิปราย เรื่อง สายน้ำ
คูคลอง วิจารณ์การทำงาน ของกทม. ราวกับเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ
แค่นี้ ดิฉันก็หมดศรัทธาแล้ว รู้ดี รู้ไปหมด ...นี่ขนาดไม่ศรัทธา ผู้ว่า ฯ
นะยังรับไม่ได้เลย
มาลองอ่านที่เขาให้ความเห็นเชิง "บวก" ดูกันบ้าง
เตาหลอม การเมือง ชุบ "นิว" ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อุปสรรค ยากลำบาก
รู้สึกหรือไม่ว่า กระบวนการให้สัมภาษณ์ ตอบคำถามนักข่าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีความเปลี่ยนแปลงนั่นก็คือ ตอบยาวขึ้น
นั่นก็คือ ตอบประเด็นปัญหาที่ซับซ้อนขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวอย่างล่าสุดระหว่างเดินทางไปพบประชาชนที่ศูนย์พักพิงโรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ เขตจตุจักร และเมื่อโดยสารรถประจำทางฟรีไปกับนักข่าว
ไม่เพียงไขข้อข้องใจในเรื่อง "น้ำตา"
หากที่สำคัญเป็นอย่างมากคือการยืนหยัด ยืนยัน "ถ้าดิฉันอ่อนแอคงไม่มานั่งหรือยืนอยู่ตรงนี้ คงถอดใจไปนานแล้ว"
"ดิฉันเข้ามาเพราะประชาชนเลือกจะมาถอดใจได้อย่างไร วันนี้ เราต้องพิสูจน์กันตามระบอบประชาธิปไตย ประชาชนเลือกมาจะให้มาถอดใจกันง่ายๆ ได้อย่างไร"
ที่เคยมั่นใจว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะไปกับน้ำ พิศดูแล้วก็ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น
ต้องยอมรับว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เยาวเรศรุ่นเจริญศรีบนถนนสายการเมืองเป็นอย่างยิ่ง แม้จะเติบใหญ่ในครอบครัวนักการเมืองก็ตาม
ที่สำคัญคือ มิได้ผ่านการเคี่ยวกรำเหมือน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
อย่างน้อย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็เคยเป็นนายตำรวจติดตามนักการเมือง ติดตามบุคคลระดับรัฐมนตรีมาก่อน
แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่เคยเลย
ระยะเวลาของการต่อสู้ก็ราบรื่นสะดวกสบายอย่างเหลือเชื่อ พลันที่ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ หมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย ก็ใช้เวลาเพียง 49 วัน ก็มานั่งอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
2 เดือนเศษในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนี่แหละที่สำมะคัญเป็นอย่างมาก
ปัจจัยสำคัญเป็นอย่างมากมาจากองค์ประกอบใหญ่ๆ อย่างน้อยก็ 3 ส่วนอันเหมือนกับเป็นการต้อนรับน้องใหม่ในระยะเวลา 60-90 วันในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ปัจจัย 1 คือ ปัจจัยอันแข็งแกร่งจากพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นฝ่ายค้าน
ปัจจัย 1 คือ ปัจจัยที่ไม่ยอมรับนับถือภายในปัญญาชนและสื่อมวลชน อันเป็นความต่อเนื่องจากสถานการณ์ก่อนและรัฐประหารเดือนกันยายน 2549
ปัจจัย 1 คือ สถานการณ์ที่เป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำท่วมใหญ่
อาจกล่าวได้ว่า 3 ปัจจัยนี้แหละคือเตาหลอมอันทรงความหมายยิ่งในการเนรมิตประดิษฐ์สร้างให้เกิดการแปรเปลี่ยนเชิงคุณภาพทางการเมืองอย่างใหญ่หลวง
ทำให้ โอลด์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลายเป็น นิว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ในที่สุด ความยากลำบากอาจทำลายบางคน แต่สำหรับบางคนกลับให้ความแข็งแกร่ง
เป็นความแข็งแกร่งที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินหน้าเผชิญปัญหาและอยู่ท่ามกลางปัญหาอันดุเดือดเข้มข้น และก็ค่อยๆ แปรเปลี่ยน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้เด็ดเดี่ยวมั่นคงยิ่งขึ้น
อุปสรรคและความยากลำบากต่างหากที่สร้าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นมา
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dOakV5TVRFMU5BPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1TMHhNUzB4TWc9PQ==
แล้ว เธอ...ก็จะมีวันนั้น คนที่เลือกมา เขามั่นใจกันน่ะ มีไร หรือเปล่า