(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 18 พฤศจิกายน 2554)
พระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษ ในโอกาสวันที่ 5 ธันวาคม 2554
ซึ่งตามตัวเลขจะมีผู้ได้รับประโยชน์กว่า 2.6 หมื่นคน ในจำนวนนี้จะมีคนชื่อ
ทักษิณด้วยหรือไม่
ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องจับตามองกันต่อไป
ยังต้องโต้แย้งกันไปอีกหลายยก
แต่สำหรับอดีตนายกฯอีกคน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รวมทั้งอดีตรองนายกฯ
คู่บารมี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กำลังจะต้องเผชิญหน้ากับคดีสำคัญ
คดีที่สืบเนื่องจากเหตุการณ์เมื่อเดือนเมษายนจนถึงพฤษภาคมปี 2553
กำลังร้อนระอุขึ้นมาอีกครั้ง
เมื่อพนักงานสอบสวนของกองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งได้รับโอน
สำนวนคดี 16 คดีจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อมาสรุปรวบรวมพยาน
หลักฐานเพิ่มเติม
โดยเป็น 16 สำนวน ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษชี้เอาไว้เบื้องต้นว่า
น่าจะเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหาร
กำลังเร่งสอบปากคำเจ้าหน้าที่ทหารที่เกี่ยวข้องอย่างขะมักเขม้น
กระทั่งถึงคิวพยานปากสำคัญ
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ซึ่งในขณะเกิดเหตุ ดำรงตำแหน่งโฆษก
ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือ ศอฉ.
ได้เข้าให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวน ไปเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
ความสำคัญของพยานปากนี้สำหรับพนักงานสอบสวน ถือเป็นพยาน
ที่จะให้รายละเอียดสายการบังคับบัญชา ขั้นตอนการสั่งการในเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้น
ตามข่าวบอกว่า ครั้นถึงเวลาเข้าให้การก็ไม่ทำให้ผิดหวัง
เพราะ พ.อ.สรรเสริญได้ให้รายละเอียดอย่างชัดเจน
เน้นๆ เลยว่า โดยระบบของกองทัพ โดยอำนาจของกองทัพ
โดยภารกิจของกองทัพ จะไม่สามารถสั่งให้ทหารนำอาวุธยุท
โธปกรณ์เข้ามาปฏิบัติการในใจกลางกรุงเทพมหานครได้
ดังนั้นที่ทหารลากปืน ลากรถถัง รถหุ้มเกราะ ออกมาเต็มถนน
ไปหมดนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการสั่งการของกองทัพแต่อย่างใดทั้งสิ้น
แล้วใครสั่ง แล้วอำนาจอะไรมากำหนดให้ทหารเข้ามา
ปฏิบัติการกลางเมืองหลวงเช่นนั้นได้
คำให้การของโฆษก ศอฉ.ระบุว่า ไม่ใช่คำสั่งของกองทัพ
แต่เป็นคำสั่งของ ศอฉ.
แล้ว ศอฉ.มาจากไหน
พ.อ.สรรเสริญให้การว่า ศอฉ.เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นมาด้วย
ลายเซ็นของคนชื่ออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และมีนายสุเทพ
เทือกสุบรรณ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการ
ด้วยอำนาจของ ศอฉ.นี่เอง ที่สั่งการให้ทหารพร้อมอาวุธ
เข้ามาปฏิบัติการกระชับพื้นที่
ดังนั้น ทั้งหลายทั้งปวงที่ทหารเข้ามาปฏิบัติการ
ล้วนเป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชาแห่ง ศอฉ.
รายละเอียดคำให้การคงจะมีอะไรมากมายกว่านี้
แต่ที่หลุดรอดเป็นข่าวออกมา เน้นให้เห็นว่า ผู้แทนของทหาร
เข้าให้การในแง่สายการสั่งการชัดเจนแล้ว
มัดแน่นไปที่ผู้มีอำนาจสั่งการ ในศอฉ.
ผลในทางคดี ก็จะนำไปสู่ขั้นตอนการดำเนินคดีกับ
ผู้สั่งการได้ชัดเจนขึ้น
แต่อันที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องผิดคาด เพราะกองทัพเป็นหน่วยงาน
ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของอำนาจการเมือง
ในยุคหนึ่งอำนาจการเมืองใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สั่งการให้ทหาร
เข้าปะทะกับม็อบ เปื้อนเลือดไปตามๆ กัน
ในยุคปัจจุบัน อำนาจการเมืองไม่ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มอบหมาย
ให้ทหารเข้าปะทะกับน้ำ เพื่อช่วยเหลือประชาชน
เต็มไปด้วยเสียงชื่นชมจากสังคม
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321614497&grpid=&catid=02&subcatid=0207
ไม่ค่อยมีความรู้นะคะ มองจากมุมของสื่อ เขาคิดแบบนี้
ถือว่าต่างมุมมอง จะให้ดีต้องเขียนไปโต้แย้งที่ "มติชน"
นะคะ ลงชื่อด้วยว่า thyrocyte จากบอร์ดพันทิบ รดน.
อยู่ในโลกไซเบอร์ คนรู้น้อยค่ะ
"มติชน" เปิดกว้างค่ะ ดิฉันเคยเขียนอะไรที่โดนใจ ส่งไป
ยังเคยได้ลง ยิ่งข้อมูลเพียบแบบนี้ ลองเลยค่ะ จะได้ตาสว่างกัน