เป็นกระทู้ของนาย Ben060 แล้วไม่รู้จะว่าอะไรต่อกับความคิดครับ พูดไม่ออก เลยเฉลยให้นะครับ
จากสัมภาษณ์ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิจัยจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งสิงคโปร์ ต่อกรณีการแถลงข่าวร่วมระหว่างนางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา กับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย ซึ่งสาระสำคัญไม่ใช่การให้ความช่วยเหลือเรื่องน้ำท่วมและการกู้สนามบินดอนเมือง
อะไรเป็นสัญญาณที่น่าสนใจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐวานนี้
ผมคิดว่ามีทั้งหมด 5 เรื่อง เรื่องแรกคือรัฐบาลสหรัฐยืนอย่างเข้มแข็งอยู่เบื้องหลังรัฐบาลพลเรือนของไทย สอง คือสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลไทยในการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันประชาธิปไตย สาม คือสนับสนุนให้ไทยเคารพในหลักของกฎหมายและหลักการปกครองที่ดี หรือ Good Governance สี่ คือสนับสนุนเรื่องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ห้า เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสมานฉันท์ด้านการเมือง ผมคิดว่านี่เป็นสาระที่สำคัญของรัฐบาลสหรัฐ
และที่สำคัญคือผมคิดว่าสหรัฐเริ่มเข้าใจการเมืองไทยมากขึ้นในแง่ที่ว่า ที่ผ่านมา 20-30 ปี ความสนใจของสหรัฐอยู่ที่การคงไว้ซึ่งมิตรภาพที่มีอยู่กับกองทัพและสถาบันอื่นๆ แต่ว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยที่ผ่านมาทำให้สหรัฐต้องเปลี่ยนจุดยืน ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยได้ และผมคิดว่าสหรัฐปรับตัวช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น จีน เป็นต้น แต่ปรับตัวช้าก็ยังดีกว่าไม่ปรับตัวเลย
อาจารย์เคยให้สัมภาษณ์เมื่อหลายเดือนมาแล้วว่าสหรัฐได้ข้อมูลที่ช้าไม่อัพเดท ท่าทีของฮิลลารี คลินตันครั้งนี้น่าจะมาจากการเปลี่ยนแปลงในด้านการรับข้อมูลข่าวสารด้วยหรือเปล่า
ผมคิดว่าส่วนหนึ่งอาจจะใช่ เพราะมีการเปลี่ยนตัวของเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำกรุงเทพฯ ด้วย และตั้งแต่การเปลี่ยนตัว ทูตคริสตี้ (เคนนีย์) ก็ออกมาแสดงบทบาททางการเมืองของไทยค่อนข้างมาก มีการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสถานทูตกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ผมคิดว่านี่เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ
อีกส่วนหนึ่งคือ เคิร์ท แคมพ์เบล มาเมืองไทยเมื่อก่อนที่จะมีการสลายการชุมนุม และอยากพบกับผู้นำคนเสื้อแดง ผมคิดว่านั่นก็เป็นสัญญาณที่สำคัญว่าสหรัฐอยากจะรู้จริงๆ ว่าเกิดอะไรขึ้น และผมคิดว่ามีตัวแปรหลายอย่างเช่น ความเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น เช่น สิ่งที่เกิดในอินโดนีเซีย หรือพม่า ฉะนั้น สหรัฐต้องกลับมาเน้นบทบาทนี้เหมือนเดิม คือ สนับสนุนประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน
อ่านต่อที่ ((กด))
ที่ผ่านมานานหลาย 10 ปี อเมริกาสนับสนุนไทยตั้งแต่เป็นกันชนไม่ให้คอมมิวนิสต์แพร่ขยาย ไม่เคยเข้าข้างประชาชนและเข้าข้างประชาธิปไตย สนับสนุนอย่างเดียวคือ สนับสนุน"อำนาจรัฐ" ไม่ว่าที่มาที่ไปของอำนาจนั้นมีมาอย่างไร รัฐบาลเผด็จการของไทยทุกรัฐบาลในอดีตล้วนแต่ได้รับการหนุนหลังจากมหาอำนาจนี้ ดูได้ง่ายๆจากฑูตสหรัฐคนก่อนๆ โดยเฉพาะ ราฟ บ๊อยซ์ ว่าสนิทสนมกับฝ่ายใหน แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโดยการมาฑูตหญิงแกร่งคนใหม่มา เราจะเห็นได้ชัดถึงการเปลี่ยนแปลงนั้น
และจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก ไปสูประชาธิปไตย ยิ่งทำให้อเมริกาเริ่มเปลี่ยนจุดยืนไปเป็นอย่างที่เห็น
ขบวนการโป๊งๆซึ่งที่หวังว่าจะใช้วิธีการเดิมๆเพื่อสนับสนุนมาร์คขึ้นสู่อำนาจด้วยวิธีซ้ำๆเดิมๆเห็นทีจะไม่ได้ผลแล้วละครับ ที่ผ่านมา มุขเดิมๆนั้นถูกนำมาใช้ไปหมดแล้ว คนไทยและทั้งโลกรู้แล้วว่าประเทศนี้กำลังเกิดอะไรขึ้น
หวังไว้ว่า ขบวนการโป๊งๆซึ่งน่าจะหยุดเคลื่อนไหวเพื่อล้มล้างรัฐบาลประชาธิปไตยได้แล้วรัฐบาลนี้มาโดยถูกต้องตามหลักประชาธิปไตย ถ้ารัฐบาลมีอันเป็นไปก็ต้อง"เป็นไปตามกฎ-กติกาของระบอบประชาธิปไตย"ที่มีบัญญัติไว้ อย่าคิดล้มรัฐบาลด้วยวิธี"สกปรก"อีกต่อไปเลยครับ