Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ข้อสังเกตุ ตาม รธน.๕๐ พรบ.ฉุกเฉิน และนิติกฎหมายอาญา กับกรณี ปฎิบัติการของ ศอฉ. ติดต่อทีมงาน

ใน รธน.๕๐ ม. ๓๒

บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้ แต่การลงโทษตามคำพิพากษาของศาล หรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการ ลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้ การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิ และเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ.....


สมมุติกันว่า ได้มีการประกาศใช้ พรก.บริหารราชการในสถานะการณ์ฉุกเฉิน ขึ้นมา ข้อสังเกตุแรกก็คือ ขอบเขตุของ พรก. คือ อำนาจการบริหารราชการ หรืออำนาจที่อยู่เฉพาะแต่ในกรณีปกครอง ส่วนคำว่า สถานะการณ์ฉุกเฉิน หมายถึงเฉพาะหน้าที่ไม่เป็นตามระบบปรกติที่มีอยู่แล้ว หรือเกิดความไม่เพียงพอในช่วงขณะ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นอำนาจพิเศษชั่วคราวที่ฝ่ายบริหาร สามารถ ควบคุมบริหารในฝ่าย ปกครอง ตามสิทธิอำนาจของ รธน. เพื่อแก้ใขให้กลับสู่สภาวะปรกติ ส่วนลักษณะที่อยู่ในขอบข่ายของ อำนาจการบริหาร ก็คือสถานะการณ์ที่เป็นภัยพิบัติต่อ สาธารณะ ในช่วงขณะผิดปรกติ (ฉุกเฉิน) โดยในช่วงปรกติอยู่ในหน้าที่รับผิดชอบของ ข้าราชการฝ่ายพิทักษ์สันติราษฎร (ตำรวจน) และเป็นขอบข่ายสิทธิอำนาจของการบริหารและปฎิบัติการ นั่นเอง อันเหตุผลของการประกาศใช้ ก็คือ เฉพาะกับสภาวะบังเกิดภัยพิบัติต่อสาธารณะชน (การกระทำต้องห้ามตามนิติกฎหมายอาญา) ที่ข้าราชการฝ่ายพิทักษ์สันติราษฎร อยู่ในสภาพผิดปรกติ (ฉุกเฉิน) กับการปฎิบัติหน้าที่ นั่นเอง ฉนั้นข้อสังเกตุในแง่ เจตนารมณ์ ของ รธน.๕๐ น่าจะสันนิฐานได้ว่า การประกาศใช้ ของ รบ.อภิสิทธิ์ ไม่อยู่ในเหตุผลสมควร หรือมีความชอบธรรม ครับ


การจัดตั้งหน่วยงาน ศอฉ. เพื่อปฎิบัติการ ปกปัดสภาวะบังเกิดภัยพิบัติต่อสาธารณะ มีความจำเป็นโดยขอบข่ายสิทธิอำนาจ ของ พรก.ฉุกเฉิน (ผิดปรกติ) ให้เป็นไปตามคัลลองของ รธน.๕๐ คือเฉพาะตามสิทธิอำนาจของ ฝ่ายผู้พิทักษ์สันติราษฎร (ตำรวจ) ในการบริหารและปฎิบัติการ เป็นหลัก ส่วนการผูกโยงข้าราชการรัฐ ส่วนต่างๆ สามารถประสาน ให้อยู่ในฐานะเพื่อช่วยราชการ หรือระดับรับช่วงปฎิบัติการ เท่านั้น ฉนั้นถ้าโครงร่างของการบริหาร ประสาน และปฎิบัติการ ที่ไม่อยู่ในขอบข่าย หรือควบคุม บัญชาการจาก ฝ่ายราชการของ ผู้พิทักษ์สันติราช น่าจะเป็นข้อสันนิฐานได้ว่า เป็นหน่วยงานที่ไม่มีสิทธิอำนาจคุ้มครอง ตาม พรก.ฉุกเฉิน และเจตนารมณ์ ของบัญญัติ รธน.๕๐ ครับ


การออกคำสั่ง ให้หน่วย ข้าราชการทหาร เพื่อเข้าช่วยราชการ ในฐานะสนับสนุนกองกำลัง ฝ่ายพิทักษ์สันติราษฎร ที่เกิดความขาดแคลนกำลังการปฎิบัติการ ในสถานะการณ์ฉุกเฉิน เป็นสิทธิอันชอบธรรม ที่เจาะจงไว้ในบัญญัติ รธน.๕๐ แต่คำสั่งใดๆ ที่มอบหมายให้ ข้าราชการทหาร ที่มีสิทธิอำนาจหน้าที่ในด้านปกป้องภัยพิบัติ ต่อประเทศจากภายนอก และการดำรงศ์อยู่ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ในฐานะองส์พระประมุข มาเป็นผู้บริหาร กำหนดมาตราการให้ปฎิบัติการ หรือปฎิบัติการ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบธรรม ทั้งผู้ออกคำสั่ง และผู้รับคำสั่ง ตามบัญญัติ รธน.๕๐ ข้อกำหนดการปฎิบัติ ในหน้าที่ราชการ รวมทั้ง นิติกฏหมายอาญา อันสันนิฐานได้ว่า จากเหตุการณ์ ที่ผ่านมา นายก ศอฉ. และ ผบ.ทหาร ที่ให้ หน่วยทหารปฎิบัติการ นำพา อาวุธยุโธปกรณ์สงคราม เข้าปฏิบัติการ แค่บังเกิดเป็นคำสั่ง หรือยังไม่มีการเคลื่อนกำลังพล ก็เป็น กรณีมิชอบด้วย รธน.และนิติกฎหมายอาญา ครับ


ในกรณี ข้ออ้าง การพกพาอาวุธยุโธปกรณ์สงคราม ของ ทหารเพื่อเป็นการป้องกันตัวในขณะปฎิบัติหน้าที่ ถ้าจะมองจาก เจตนารมณ์ของ รธน.๕๐ มิได้ให้สิทธิในการปฎิบัติการ ของทหาร ในกรณีปกปัดภัยพิบัติต่อสาธารณะชน เช่นเดียวกันกับผู้พิทักษ์สันติราษฎร ฉนั้นการพกพาอาวุธยุโธปกรณ์สงคราม ในการปฎิบัติการ เป็นความผิดในหน้าที่ และนิติกฎหมายอาญา ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลข้ออ้าง อย่างไรก็ตาม เพราะการใช้อาวุธเพื่อป้องกันตัวในขณะปฎิบัติหน้าที่ มีอยู่แต่เฉพาะหน้าที่ที่เกี่ยวกับภัยพิบัติต่อสาธารณะชน ของผู้พิทักษ์สันติราช เท่านั้น ข้อสังเกตุในการปฎิบัติการ ที่มีเหตุให้เกิดการเสียชีวิต และบาดเจ็บ โดยมีผลมาจาก จนท.ปฎิบัติการ ที่พกพาอาวุธยุโธปกรณ์ติดตัวและนำมาใช้ เป็นตัวสาเหตุ เป็นการกระทำผิดโดยจงใจต่อชีวิตและร่างกาย หรือมิชอบตามความหมายของนิติกฎหมายอาญา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดตามบัญญัติ รธน.๕๐ ม. ๓๒ ครับ


สรุปข้อสังเกตุ จากกรณี รบ.อภิสิทธิ์ การประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน หน่วยงาน ศอฉ. และโครงการบริหารและมาตราการในการปฎิบัติการ รวมทั้งการปฎิบัติการ น่าจะอยู่ในขอบข่ายไม่สมควรเหตุสมควรผล หรือตามสิทธิอันชอบธรรม ตามบัญญัติ รธน.๕๐ และนิติกฏหมายอาญา ทั้งสิ้น ป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว อันคดีสอบสวนผู้รับผิดชอบ กับการกระทำผิดต่อชีวิตและร่างกาย ที่กำลังดำเนินอยู่ เป็นลักษณะกระทำผิดต่อท้าย นั่นเองครับ


สาเหตุที่นำมาใช้ ในลักษณะผิดต่อเจตนารมณ์ ของ บัญญัติ รธน. มาจากความคุ้นเคย ระหว่าง ระบบประชาธิปไตย จะกำหนด ให้ นิติกฏหมาย เป็น กฎหมายที่มาจากมติชน ส่วนระบบในโครงร่างประชาธิปไตย จะให้ นิติกฎหมาย เป็นกฎหมายที่มาจากมติรัฐ หรือคำสั่งบังคับใช้ ในรูปของการปกครอง ระบบผู้ครองอำนาจ อย่างเช่น ไม่มีกฎหมาย หรือกฎบัญญัติใด ที่ขัดต่อ รธน.ฉบับนั้นๆ จะไม่มีผลบังคับใช้ และการประกอบร่าง บัญญัติ ที่มิได้มาจากการประกอบร่างโดยมติชน (รัฐสภา) จะไม่มีผลใช้บังคับใช้เสมอหรือขัดกับนิติกฎหมายที่มีไว้ได้ ฉนั้น พรก. และ พรบ. ที่ร่างและกำหนดขึ้นใช้ มีความจำเป็นที่ต้องอยู่ในขอบข่ายของ นิติกฏหมาย ภายใต้บัญญัติ รธน. นั่นเอง ครับ คำถามมักจะมิได้อยู่ที่เจตนารณ์ แต่มักจะอยู่กับความเคยชินของการบังคับใช้ ทำให้กรายเป็นว่า การบริหาร เป็นไปโดยชอบธรรมเสมอไป นั่นเองครับ


ผมเชื่อว่า การปรับเปลี่ยนขั้วอำนาจ หรือความต้องการให้เกิดการปรองดอง มิได้สำคัญอยู่ที่การค้นหาความจริง หรือเรียกร้องความเป็นธรรม แต่ความเป็นสังคมประเทศในขณะนี้ สำคัญและเร่งด่วนก็คือ การบังคับใช้ ส่วนบริหาร ปกครอง และตุลาการ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติ รธน. ที่มาจากการก่อร่างด้วยมติชน รวมทั้งการประสานทำความเข้าใจในระดับประชาชน อย่างเช่น กลุ่มนิติราษฎร ครับ

ผมเชื่อว่า ใน รดน. มีผู้รู้ด้านรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ หลายๆ ท่าน อันผมจะถือเป็นพระคุณอย่างยิ่ง ถ้าจะกรุณาเอาหลักกฎหมายและหลักการ มาชี้แสดง เพื่มขยายว่า ข้อสังเกตุของผมคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง เพื่อประโยชน์กับทุกคน ครับ



แก้ไขเมื่อ 21 พ.ย. 54 04:43:27

จากคุณ : พลายทมิฬ
เขียนเมื่อ : 21 พ.ย. 54 04:42:36 A:217.227.47.227 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com