+++++ ตอบคุณ Thothmusic1 เพราะบทความของตุลาการผู้ไม่ภิวัตน์นั้นอ้างบทกฏหมายผิด+++++
|
 |
ผมได้อ่านคำถามของคุณ Thothmusic1 ที่ลงไว้ในกระทู้ P11363168 แล้ว พบว่าเป็นเรื่องเดิมๆที่ ท่านผู้ที่อ่จจะไม่ทราบข้อกฏหมายได้ไปอ่านบทความนี้ของผู้เขียนที่ชื่อ ตุลาการผู้ไม่ภิวัตน์ ซึ่ง ได้ตีความบทกฏหมายไว้ผิด จนผู้อ่าน โดยเฉาพะคนเสื้อแดงจำนวนไม่น้อยหลงเข้าใจผิด ไปเชื่อตามนั้น
โดยคำถามของคุณมีว่า--- ปรากฏจากคำพิพากษาที่อ่านและเปิดเผยแล้วว่า คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คนลงมติด้วยคะแนน 5 ต่อ 4 ว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดให้จำคุก 2 ปี ย่อม แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า ในชั้นที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ทำหน้าที่ประธานสอบถามความเห็นผู้พิพากษา อีก 8 คนนั้น มีผู้พิพากษา 4 คนเห็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดแต่ผู้พิพากษาอีก 4 คนเห็นว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด
ทั้งนี้ในกระทู้เดิมนั้น ตุลาการผู้ไม่ภิวัฒน์ ตีบทกฏหมายอย่างผิดๆไว้ว่า ศาลฏีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่ปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 184 โดยอ้างว่า “...ในชั้นที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ทำหน้าที่ประธานสอบถามความเห็นผู้พิพากษา อีก 8 คนนั้น มีผู้พิพากษา 4 คนเห็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดแต่ผู้พิพากษาอีก 4 คนเห็นว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด คะแนนเสียงจึงเป็น 4 ต่อ 4 เท่ากัน แย้งกันอยู่..”
แต่ตามกฏหมายนั้น ศาลฏีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่ได้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในการพิจารณาคดีครบ แต่ใช้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๒ ในการพิจารณาคดี
ซึ่งในพรบ.นี้ มาตรา ๒๐ ระบุว่า ....การทำคำสั่งที่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดหรือการพิพากษาคดี ให้ผู้พิพากษาในองค์คณะผู้พิพากษาทุกคน ทำความเห็นในการวินิจฉัยคดีเป็นหนังสือพร้อมทั้งต้องแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ และให้ถือมติตามเสียงข้างมาก .....
นั้นคือ ก่อนการลงมติ ผู้พิพากษาทุกคนร่วมทั้งประธานหรือเจ้าของคดี จะต้องสรุปความเห็นของตน คำวินิจฉัยของตน เป็นลายลักษณ์อักษรมาก่อนจะเข้าที่ประชุมว่า จำเลยผิดหรือไม่ อย่างไร ในที่ประชุม คำวินิจฉัยนี้ จึงมิอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ เพราะต้องสรุปมาก่อนจะเข้าที่ประชุมแล้ว รวมทั้งของประธานหรือเจ้าของคดีเอง มิอาจจะมาเปลี่ยนแปลงความเห็นของตนในที่ประชุมได้ เพราะกฏหมายไมได้บัญญัติให้ทำเช่นนั้น
เมื่อแต่ละผู้พิพากษา ได้แถลงความเห็นของตนตามมาตรา 20 ของพรบ.แล้ว ในคดีนี้ก็ปรากฏว่าคะแนนเป็น 5 ต่อ 4 การลงคะแนนจึงมีข้อสรุปตามเสียงข้างมาก และถือเป็นไปตามกฏหมายมาตรา 20
ดังนั้น จะต้องแก้ความเห็นของตุลาการผู้ไม่ภิวัฒน์เป็นดังนี้จึงจะถูก
“...ในชั้นที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ทำหน้าที่ประธานสอบถามความเห็นผู้พิพากษา อีก 8 คนนั้น ปรากกว่า มีผู้พิพากษา 5 คนเห็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิด คือรวมตัวประธานที่จะต้องแถลงความเห็นตามกฏหมายมาตรา 20 และผู้พิพากษาอีก 4 คนเห็นว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด คะแนนเสียงจึงเป็น 5 ต่อ 4 เป็นคะแนนเสียงข้างมาก ตามมาตรา 20 ไม่มีการแย้งกันอยู่เลย”
หวังว่าคุณจะเข้าใจ
จากคุณ |
:
thyrocyte
|
เขียนเมื่อ |
:
21 พ.ย. 54 21:17:47
A:124.121.162.73 X:
|
|
|
|