ขอตั้งกระทู้สั้นเกี่ยวกับเรื่องภาษีครับ
สมัยที่ผมเรียนวิชาภาษีอากร อาจารย์สอนว่า อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งของไทยและของต่างๆประเทศ ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นการเก็บในอัตราก้าวหน้า คือมีเงินได้มากเก็บในอัตรามาก คนมีน้อยก็เก็บในอัตราน้อย เช่น (ตัวอย่างสมมติ) คนมีเงินได้สุทธิเกิน 10,000,000 เก็บในอัตราร้อย 30% ของเงินได้สุทธิ ส่วนคนที่มีรายได้สุทธิไม่เกิน 500,000 บาท ก็เก็บภาษีในอัตรา 5% ของเงินได้สุทธิ
มีเพื่อนนักศึกษาด้วยกันถามอาจารย์ว่า ทำไมถึงต้องเก็บเป็นอัตราก้าวหน้า อย่างงี๊ก็ไม่เสมอภาคนะซิ? ทำไมอัตราภาษีไม่เป็น 5, 10, 15 30% ให้เท่ากันหมด?
อาจารย์ก็อธิบายว่า เนื่องจากหลักการเก็บภาษีเข้ารัฐเพื่อให้รัฐนำมาเป็นรายได้แล้ว เหตุผลหนึ่งที่ต้องเก็บภาษีเป็นอัตราก้าวหน้า เพราะเชื่อว่า การที่คนมีรายได้มากเพราะทำกิจกรรม(ประกอบการ) มาก การที่ทำกิจกรรม (ประกอบการ)มาก ก็เท่ากับเป็นการใช้ประโยชน์จากสาธารณูปโภคของรัฐมากกว่าคนที่รายได้น้อยเป็นหลายเท่าตัว ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภคของรัฐหรือบริการของรัฐในรูปแบบใดก็ตาม ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเสมอภาคมากที่สุด รัฐจึงจำเป็นต้องเก็บภาษีใรอัตราก้าวหน้าครับ
หวังว่าการตั้งกระทู้นี้จะมีส่วนทำให้กลุ่มบุคคลที่ชอบดูถูกผู้อื่นหรืออ้างว่าตนมีสิทธิเหนือผู้อื่นโดยใช้ความแตกต่างทางด้านฐานะ มีมุมมมองในอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้บุคคลเหล่านั้น หยุดพฤติกรรมที่ดูถูกเหยียดหยามเพื่อนร่วมชาติด้วยกันเองครับ
เพราะประเทศเราเป็นประชาธิปไตย (พยายามปลูกฝังให้คนเข้าใจในหลักการประชาธิปไตย) หากหยุดดูถูกเหยีดยดหยามผู้อื่น ผมเชื่อว่าประเทศเราจะมีประชาธิปไตยที่ดีขึ้นกว่าทุกวันนี้





แก้ไขเมื่อ 21 พ.ย. 54 21:28:18
แก้ไขเมื่อ 21 พ.ย. 54 21:27:42