Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ข้อสังเกตุในหนึ่งมุมมอง ระหว่าง ความเข้าใจ กับ ความเป็นธรรม ในคดีที่ดินรัชดา ติดต่อทีมงาน

การเสพข้อมูลข่าวสารในสังคม ที่ถ่ายภาพพจน์ ถึงสภาวะความเป็นอยู่ในสังคม ทำให้เห็นความแตกต่าง ของ คำว่า ....ยุติธรรม.... ในชีวิตประจำวันของตัวเองว่า เป็นความจริงที่ในประเทศไทย มีระบบตุลาการ ที่มีความยุติธรรม มาตลอด เพียงแต่ปัญหากับ ทำอย่างไร ถึงจะได้รับความเป็นธรรม ต่างหาก อันที่ทำให้เกิด กรณีสัพสนและกรณีพิพาทและความเข้าเป็นว่า ในประเทศไทยก็มี ....อยุติธรรม.... ในปัจจุบัน นั่นเองครับ

อย่างเช่น ในกรณีอดีตนายก ทักษิณ ผู้ถูกตัดสินเป็นผู้กระทำผิดและถูกลงอาญา จากมติ ๕/๔  โดยมีมูลฐานความผิด เนื่องจาก กฎบัญญัติ หรือที่ใช้เรียกกันว่า กฎหมาย ปปช.ระบุว่า เป็นการกระทำผิด และโดยเชื่อมโยงด้วยการตีความ กับนิติกฎหมายอาญาถึงความผิดในกรณี ทุจริตต่อหน้าที่ ในเมื่อเป็นความผิดในกรณีความอาญา ทำให้การใช้ วิธีพิจารณาความอาญา ในการพิจารณาตัดสินลงอาญา ตามลักษณะโทษทางอาญาได้อย่าง เป็นธรรม หรือที่เข้าใจกันว่า ....ยุติธรรม.... นั่นเอง ครับ

ถ้าจะอธิบายง่าย ๆ อย่างคนรู้น้อย ก็จะมองว่า ขั้นตอนการพิจารณา ....ความผิด.... ตามรูปหลักวิธีพิจารณาความอาญา จะแบ่งออกเป็น สอง ช่วงตอน คือจะเริ่มจากช่วง พิสูจน์ความผิด และจบด้วยมาตราการลงอาญา (ลงทันฑ์) เพราะการลงอาญา เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพต่อชีวิต และร่างกาย ตามนิติกฎหมายอาญา ที่จากพื้นฐานจะอยู่ในหน้าที่คุ้มครองของรัฐ ที่จำเป็นใช้กับผู้ที่ละเมิด โดยให้ศาลได้สิทธิอำนาจพิจารณาวินิจฉัย ตามบัญญัติ รธน. ได้เท่านั้น

เพราะสิทธิอำนาจ ของศาล สามารถให้ละเมิดสิทธิเสรีภาพต่อชีวิต และร่างกาย เฉพาะผู้มีความผิดอย่างแน่ชัด เท่านั้น ทำให้ลักษณะของช่วง พิสูจน์ความผิด มีความจำเป็นต้องใช้ความแน่ชัด ถึงการกระทำผิด ที่มีผลสรุปเป็นเอกฉันท์ และในกรณีคลุมเคลือจำเป็นต้องยกผลประโยชน์ ให้กับฝ่ายจำเลย (ผู้ถูกกล่าวหา) อันกระบวนการ พิสูจน์ความผิดแน่ชัด ที่อย่างน้อย มีความละเอียดอ่อนหรือน้ำหนักการกระทำอยู่ที่ ความจงใจ ในฐานะสาเหตุการกระทำ แยกแยะจาก บังเอิญ จำเป็น จนถึง จงใจ ทำให้ระบบพิจารณาความ มีถึงสองช่วงตอน คือศาลต้น และศาลอุทร นั่นเอง

ส่วนศาลฎีกา คือที่สิ้นสุดของคดีความ หรือส่วนใช้มาตราการลงอาญา (ชี้ชัดถึงผลพิจารณา) เท่านั้น ในช่วงตอนนี้ หมายถึงว่า การพิสูจน์ความผิด เป็นที่สิ้นสุดไปแล้ว เพราะการชี้ชัดถึงความผิด ได้นำเอากฎบัญญัติ ผู้มีหน้าที่ราชการ มาใช้ (ข้อกำหนด) โดยมิจำเป็นถึงการชี้ชัดของ ความจงใจ  ฉนั้นจึงอยู่ในดุลย์พินิจของศาลฎีกา ที่จะพิจารณาตามความผิดแน่ชัด คือผิดกฎหมาย ปปช. โดยมาตราการให้ลงอาญา ด้วยความยุติธรรม ในแง่ของตุลาการ (ศาลฎีกา) เพราะมีการลงอาญากับผู้กระทำผิด ใงครับ

แต่จากความรู้สึก ของตาสีตาสา อาจมองว่า เป็นลักษณะ  อยุติธรรมของศาลฎีกา อันก็หมายถึง เป็นกรณีความผิดด้าน ...หมิ่นประมาท... ขึ้นทันที เพราะศาลฎีกา ได้ปฎิบัติถูกต้อง และอย่างเป็นธรรม ตามอำนาจหน้าที่ คือใช้มาตราการลงอาญากับผู้กระทำผิดทางอาญา นั่นเอง ส่วนในสังคมนิติศาสตร์สากล ที่ไม่ยอมรับการ พิจารณาคดีลงอาญา ว่าเป็น การพิจารณาความคดีอาญา ก็เพราะด้วยขาดระบบขั้นตอน พิสูจน์ความผิดแน่ชัด ตามนิติวิธีพิจารณาความอาญา ทำให้เกิดเป็นคำว่า คดีที่ขาดความสมบูรณ์ โดยใช้ข้อพิจารณาให้ผิด แทนพิสูจน์ชี้ชัดถึงความผิด ตามระบบขั้นตอนวิธีพิจารณาความอาญา ให้เป็นคดี ....คดีการเมือง.... และในบางประเทศ ที่มีระบบปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย มักจะนำลักษณะ ยุติธรรม ในลักษณะนี้ขึ้นใช้ ครับ

เพราะระบบ ประชาธิปไตย ที่มี รบ. และรัฐธรรมนูญ ที่มาจากมติชนส่วนใหญ่  จะไม่มีการใช้นิติรัฐ โดยปรับแยก หรือ บังคับใช้ นิติกฎหมาย อันที่เรียกกันว่า เป็นนิติที่มาจากผลพวงของผู้มีอำนาจ เข้ามาตัดตอน นิติวิธีการพิจารณาความอาญา ได้ อันจะเป็นในลักษณะตรงกันข้าม คือจะยึดบังคับใช้ หรือแก้ใข ให้มีการใช้แต่เฉพาะ นิติวิธีพิจารณาความอาญาเต็มรูปแบบ การเรียกร้อง ความยุติธรรม ให้กับผู้ต้องโทษในคดีการเมือง ก็คือให้มีการ พิจารณาตามขั้นตอนของ นิติวิธีพิจารณาความอาญา โดยให้คดีการเมือง ที่เป็นผลพวงของผู้อยู่ในอำนาจที่มิได้มาจาก ระบบขั้นตอนประชาธิปไตย ให้เป็นโมฆะ และให้เริ่มต้นใหม่ ในรูปแบบที่สมบูรณ์ ของการพิจารณาคดีอาญา นั่นเองครับ

อย่างคนแก่ๆ ที่ชอบหลงลืม ก็จะใช้ความจำเก่าๆ ยกประเด็นร้องทุกข์ ต่อ รมต.กระทรวงยุติธรรม และ สส.ถึงสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีมติ ยกคำพิพากษาศาลฎีกา ด้วยเหตุผล ๓ ประการเป็นโมฆะ  อันเชื่อว่า คนหนุ่มๆ สามารถมีพละกำลังเชื่อมโยง รธน. และ นิติกฎหมาย ในส่วนย่อยได้เอง จึงไม่ระบุชี้ชัดในที่นี้ ครับ

 

๑.) ขั้นตอนการพิจารณาของศาลฎีกา ไม่เป็นไปตาม นิติวิธีพิจารณาความอาญาอย่างสมบูรณ์ เพราะใน นิติวิธีพิจารณาความอาญามิได้ให้สิทธิ กับการพิจารณาตัดสินลงอาญา โดยการถูกกำหนดให้เป็นความผิด แต่จากการพิสูจน์ตามข้อมูลพยานหลักฐานถึงความผิด ได้เท่านั้น

 

๒.) กฎบัญญัติ ใดๆ ที่ระบุข้อปฎิบัติ หรือล๊ะเว้นการปฎิบัติ ที่อาจมีลักษณะวินิจฉัยความผิด เช่นเดียวกัน หรือแตกต่าง กับนิติวิธีพิจารณาความอาญา และนิติกฎหมายอาญา ก็ตาม แต่สิทธิอำนาจ ตาม รธน. ถึงการพิจารณาลงอาญา มีความจำเป็นต้องใช้ระบบขั้นตอน ของศาลฎีกา ต่อเมื่อการพิจารณา ผ่านศาลขั้นต้น และศาลอุทร แล้วสิ้นลงไปเสียก่อน เท่านั้น

 

๓.) จากการใช้มติเสียงข้างมาก ๕ ต่อ ๔ เป็นพื้นฐานการพิจารณา การมีความผิด เป็นข้อชี้ชัด และพิสูจน์ ตามนิติวิธีพิจารณาความอาญา ได้ว่า เป็นลักษณะของความผิดที่ไม่แน่ชัด อันจากสิทธิอำนาจ ของศาล จำต้องยกผลประโยชน์ให้กับฝ่ายถูกกล่าวหา และไม่สามารถใช้เป็นข้อพิสูจน์ความผิด รวมทั้งไม่มีสิทธิอำนาจในการพิจารณาลงโทษอาญา นั่นเอง

 

ด้วยเหตุนี้ รมต.กระทรวงยุติธรรม ผู้มีอำนาจสูงสุดของข้าราชการฝ่าย ตุลาการ จะหลีกเลี่ยง การปฎิบัติตามคำร้องไม่ได้ นอกเสียแต่ เป็น รบ. ที่ยังอยู่ภาพใต้ผลพวงของการยึดอำนาจ นั่นเอง อันนี้ก็เป็นเหตุผลที่น่าสนใจอันหนึ่ง ที่การขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ กับ รมต.กระทรวงยุติธรรม ถึงต้องบังเกิดขึ้น ถูกใหมครับ

 

แก้ไขเมื่อ 22 พ.ย. 54 04:01:46

จากคุณ : พลายทมิฬ
เขียนเมื่อ : 22 พ.ย. 54 04:00:24 A:217.227.44.218 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com