จาก คุณ ไกร เมืองแคน
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P11372133/P11372133.html
ตั้งคำถามด้วยเหตุผล
๑.) ถามถึง ข้อเท็จจริง ที่ได้จากการพิจารณา
(พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มาตรา ๒๑ ข้อ ๔)
๒.) ถามถึง เหตุผลในการวินิจฉัยทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฏหมาย
(พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มาตรา ๒๑ ข้อ ๕)
๓.) ถามถึงบทบัญญัติของกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิง
(พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มาตรา ๒๑ ข้อ ๖)
๔.) ถามถึง การใช้วิธีพิจารณาความผิด
(พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มาตรา ๖)
จาก คุณ พระรถ
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P11372274/P11372274.html
อ้างถึง ไม่เชื่อศาลตัดสิน
****อันที่จริง เป็นคำถามที่ถามถึง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มิใช่หรือครับ
จาก คุณ thyrocyte
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P11372345/P11372345.html
อ้างถึง คดีที่ดินรัชดา คุณทักษิณ ผิดตามพรบ.ปปช. มาตรา 100 (1)
****เป็นไปได้ใหมครับ ว่าความผิดใน มาตรา ๑๐๐ เป็นความผิดกรณีความอาญา ที่มีผลให้ลงอาญาได้ โดยข้อบังคับจำเป็นต้องใช้การพิจารณาความผิด ด้วยนิติวิธีพิจารณาความอาญา อันในกรณี ที่ดินรัฐดา ตามมาตรา ๑๒๒ ระบุถึง ผู้รับผิดชอบเสมือนผู้กระทำผิดในฐานะคู่สมรส ในขณะเดียวกันตาม คำถาม ของคุณ ไกร (๑ – ๔) แสดงถึง การกำหนดวิธีพิจารณาคดีอาญา เป็นหลัก จากข้อวินิจฉัย ๕ / ๔ แสดงให้เห็นถึงกรณีบังคับ ตามวิอาญา ที่จะต้อง ยกผลประโยชน์ให้จำเลย คือเป็นความผิดที่ไม่มีการลงอาญา
เป็นกรณีที่ผู้ผิด มีความผิดตามข้อต้องห้ามจริง เพียงแต่เป็นกรณีการพิจารณาที่ไม่เป็นไปตาม หลักวิอาญา (ขั้นฎีกา) อันก็เป็นเหตุผลที่ไม่สามารถอุทร ต่อคำพิพากษา ที่เป็นคำพิพากษาของ ศาลฎีกา อันในกระบวนการยุติธรรม ถือเป็นที่สิ้นสุดของคดีความ ทำให้ต้องยอมรับคำพิพากษา หรือที่ใน นิติสากล จึงสันนิฐานกันว่า เป็นคดีการเมือง นั่นเอง ครับ
แก้ไขเมื่อ 23 พ.ย. 54 22:57:19