+++++ ตอบคุณDeutsche เกี่ยวกับคดีที่ดินรัชดา ที่คุณสอบถามP11373660 +++++
|
 |
ก่อนอื่นขอแย้งตอนต้นสักนิด เพราะที่คุณกล่าวตอนต้นว่า “พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ที่ทำให้คุณทักษิณรับโทษจำคุกเนี่ย มีไว้ก็ตามชื่อเลย ป้องกันการทุจริต คนผิดกฎหมายนี้คือคนที่กระทำการทุจริต” นั้นไม่เป็นความจริงครับ และความคิดทำนองเช่นนี้ ที่ผูกโยงแต่เรื่องที่ว่าคุณทักษิณได้ทุจริตหรือไม่ทุจริต ทำให้การตั้งคำถามสองข้อข้างล่างของคุณ ดูแปลกไม่ตรงกับบริบทของคำพิพากษาหรือบทความผิดที่เกิดขึ้น
อันว่า พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ที่ทำให้คุณทักษิณรับโทษจำคุกเนี่ย มีไว้ตามชื่อคือ เพื่อทั้งป้องกันการทุจริต เพื่อปราบการทุริต และเพื่อปรามการทุจริต
ในการปรามการทุจริตนั้น พรบ.ได้มีมาตราหลายมาตรา แต่ที่สำคัญก็คือมาตราใน หมวด ๙ การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ที่บัญญัติห้ามไม่ให้กระทำการบางอย่างนั้นเอง หากฝืนกระทำก็จะมีความผิดและมีบทลงโทษ การกระทำในมาตราในหมวดนี้ จะว่าเป็นการทุจริต ก็อาจจะยังไม่ถึงขั้นนั้น หากเกิดทุจริตจริงทางราชการอาจจะไม่สามารถจับได้ ดังนั้น ทางกฎหมายถือว่าเป็นการกระทำที่อาจนำไปสู่การทุจริต หรือเกี่ยวข้องกับการทุจริต ที่ยากแก่การที่จะตรวจสอบจับกุม กฏหมายจึงบัญญัติห้ามไว้เสีย
ซึ่งเป็นกรณีที่คุณทักษิณเอง ก็ได้ฝืนกระทำการตามที่มีห้ามในหมวดนี้นั้นเอง ตอบคำถามของคุณ ซึ่งผมขอตอบไว้ทั้งสองข้อเลย ดังนี้
1) คุณทักษิณทุจริต (อธิบายนิดนึงก็ได้ว่าทุจริตอย่างไร) และก็ผิดตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ตอบ คุณทักษิณไม่ได้ถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาทุจริตตามกฎหมายอาญา หรือกฏหมายอื่น แต่ถูกตัดสินว่าได้กระทำผิดโดยมีการฝืนกระทำ การที่ขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม อันกฎหมายบัญญัติห้ามไว้แล้ว แต่ยังได้ฝ่าฝืนกระทำ และมีบทลงโทษตามความผิดนั้น ตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พศ.2542 มาตรา 100(1) ประกอบ วรรคสาม ในหมวดที่ 9 การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม
2) คุณทักษิณ ผิดตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งโดนตัดสินให้จำคุกโดยการตีความกฎหมาย
ตอบ คุณทักษิณกระทำผิดโดยมีการฝืนกระทำที่ขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม อันกฎหมายบัญญัติห้ามไว้แล้ว การตัดสินว่ามีความผิด ผู้พิพากษาที่มีอำนาจในการตีความองค์ประกอบความผิด ได้ตีความมาตรา 100(1) ประกอบวรรคสาม ไปตามอำนาจที่มี เหมือนดังในการพิจารณาคดีอื่นๆก็เป็นเช่นนั้น คือผู้พิพากษาจะเป็นผู้ตีความกฎหมายที่ใช้พิจารณาคดีอยู่เป็นปกติธรรมดาที่ปฏิบัติ แต่การตัดสินจำคุกนั้น ตัดสินเป็นไปตามบทบัญญัติ ตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พศ.2542 มาตรา 122 ไม่มีการตีความ
โดยรวมแล้ว เรื่องนี้มีกำเนิดมาตั้งแต่รัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 ได้มีการตรา มาตรา ๓๓๑ ที่บัญญัติให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญคือกฎหมาย พรบ.ปปช.2542 ดังกล่าวต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกระทำ อันเป็นการร่ำรวยผิดปกติและการทุจริตต่อหน้าที่ การกระทำอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม และให้มีบทกำหนดโทษไว้ดังที่ทราบกัน
เรื่องนี้มีบัญญัติมาแต่ก่อนคุณทักฺษณจะเข้ามาเป็นนายรัฐมนตรีเสียอีกครับ

จากคุณ |
:
thyrocyte
|
เขียนเมื่อ |
:
24 พ.ย. 54 10:19:03
A:58.137.0.146 X:
|
|
|
|