กระทู้นี้ดูจะเป็นกระทุ้ที่ 5 ของวัน จะขอใช้กระทู้นี้แย้งความเห็นสมาชิก 3 ท่าน
1. คุณอ้วนกทม.
ผมคลิกลิงค์ที่คุณ ให้ไว้เข้าไปดูแล้ว ก็ยังไม่เห็นมีข้อความใดที่กล่าวว่า รมต.คลังไม่มีอำนาจจะเปลี่ยนตัวกรรมการกองทุนฟืนฟูได้ ที่จริงเรื่องรมต.คลัง นะเปลี่ยนตัวกรรมการกองทุนฟื้นฟูได้ตลอด ผมลงรายละเอียดไว้ให้อ่านตั้งแต่กระทู้ก่อนแล้วที่ P11371195 กรุณากลับไปอ่านให้ดีๆครับ เข้าใจว่าเพราะคุณคงไม่ได้อ่านจึงมาตั้งกระทู้ผิดพลาดแบบนี้ ลแขอนำบทกฏหมายนั้นมาลงเพื่อความชัดเจนอีกทีพร้อมลิงค์ให้คุณไปตรวจสอบ ตามนี้
พระราชบัญญัติ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ลิงค์ 1 (ฉบับสรุปรวมอัพเดทล่าสุด) และ ลิงค์ 2 (ฉบับราชกิจจานุเบกษา 2528)
บัญญัติไว้ชัดเจนเหลือเกินครับว่ารมต.คลังนะมีอำนาจเปลี่ยนแปลงกรรมการกองทุนได้ตลอดเวลา
หมวด ๕ ทวิ
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
มาตรา ๒๙ นว ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการจัดการกองทุน ประกอบด้วยผู้ว่าการเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลังเป็นรองประธานกรรมการ และกรรมการอื่น ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินเก้าคน
มาตรา ๒๙ เอกาทศ ..กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ..... (๓) รัฐมนตรีให้ออก

2. คุณเติ้ง123
ความสัมพันธ์ทางอ้อมที่ศาลยอมรับ เป็นความสัมพันธ์ทางอ้อม ที่เกี่ยวโยงต่อเนื่องไปหากันด้วยบทกฎหมาย มาจากอำนาจในการวินิจฉัยคดีขององค์คณะผู้พิพากษา ตามบัญญัติที่กฏหมายให้ไว้ครับ เห็นได้ชัดเจนจากเนื้อหาแห่งคำวินิจฉัย ที่ได้อ้างบทกฏหมายที่ผู้ถูกกล่าวหาคือคุณทักษิณเกี่ยวข้องไปยังรมต.คลัง ดังกล่าวแล้ว เป็นอำนาจเฉพาะแต่ขององค์คณะผู้พากษาคดี ที่ทรงสิทธิและอำนาจตามกฏหมายที่จะให้ความหมายของกฏหมายมาตราต่างๆ เพื่อให้ได้ตามเจตนารมย์ของกฏหมาย นั้นคือ ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สามารถหาประโยชน์ จากการเข้าเป็นคู่สัญญา กับหน่วยงานที่ตนสามารถมีอำนาจอิทธิพลเหนือ อันอาจนำมาซึ่งการฉ้อฉลได้ ดังที่สรุปไว้ในกระทู้ P11375578
ส่วนที่คุณว่า นายกรัฐมนตรีสามารถควบคุมกำกับรัฐมนตรีได้ตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการ โดยรัฐมนตรีคลังสามารถควบคุมกรมสรรพากรได้ และตามพรบ.ภาษีเงินได้ ทำให้กรมสรรพากรเกี่ยวโยงกับองค์กรเอกชน ผมว่าเพ้อเจ้อของคุณเกินไปกระมังครับ รมต.คลังสามารถควบคุมกรมสรรพากรได้ กรรมสรรพากรเก็บภาษีจากเอกชนได้ แล้วเป็นอย่างไรหรือครับ การเก้บภาษีจะไปมีอำนาจบังคับอะไรแก่องค์กรเอกชนครับ หากเอกชนไม่ทำตามต้องการ สรรพการจะไปเก็ยภาษีเพิ่มก็ไม่ได้ เพราะผิดกฏหมาย หากรัฐบาลเองจะออกกฏมายเก็บภาษีเพิ่ม ก็ทำได้ แต่นั้นทำไปเพื่อประโยฃน์ของรัฐบาล ไม่ใช่ประโยชน์ส่วนตน อำนาจควบคุมที่คุณว่ามา ไม่เห็นจะนำไปสู่การประพฤติไม่ถูกต้องเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคลของใครได้เลย
ต่างจากกรณีกองทุนฟื้นฟู ที่นายกรัฐมนตรี สามารถใช้อำนาจ ให้รัฐมนตรีคลัง ปรับเปลี่ยนตัวกรรมการกกองทุนฟื้นฟูได้ตามชอบใจเพื่อให้ได้สมประโยชน์เมื่อคู่สมรสเข้ามาทำสัญญา เพราะกฏหมายไมได้กำหนดบังคับเงื่อนไขไว้ แต่เป็นอำนาจของรมต.คลังโดยเฉพาะ
3.กระทู้คุณ ASIRAM
ผมไม่ทราบจริงๆเลยนะ ตกลงข้าราชการนี้เป็นคู่สัญญากับรัฐบาลด้วยหรือ หากเป็นอย่างคุณว่าจริง ช่วยกรุณา
1. ช่วยแสดงหลักฐาน กฏหมายหรือสัญญาที่ว่านั้นให้ดูสักหน่อยเถอะ
2. ผมยินดีอย่างยิ่ง ที่จะวิเคราะห์ให้ความเห็นเพิ่มเติมต่อไปหากเรื่องนี้เป็นจริง ขอแต่ให้คุณสามารถแสดงหลักฐานได้ว่า ข้าราชการอย่างภรรยาคุณอภิสิทธิ์ เป้นคู่สัญญากับรัฐ ด้วยเพียงฐานะการเป็นข้าราชการ มาให้ดูก่อน
ผมจะรอคำตอบจากคุณ