Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ยุติธรรม...คือ..ยุติ..ที่เป็นธรรม มิใช่เพื่อใคร ?? ติดต่อทีมงาน

จากคดีอากง SMS ที่ลือลั่น..สนั่นวงการยุติธรรม..ในเพลานี้   มีข้อให้คิดถึงแนวบรรพตุลาการที่วางไว้  เพื่อรักษา..สิทธิและเสรีภาพ...ของ "ผู้บริสุทธิ์"  ไว้อย่างแข็งแรง  และมุ่งมั่นที่จะยึดแนวดังกล่าวไว้เป็นปราการอันยิ่งใหญ่   เพราะมนุษย์...ทุกคนมีศักดิ์ศรี...ที่ไม่อาจจะถูก "กระบวนการ" ใด ๆ มาทำให้ตกต่ำลง...แม้แต่กฎหมายของบ้านเมือง..ก็ตาม  

-  การปล่อยคนที่กระทำผิด(แต่รัฐฯ พิสูจน์ไม่ได้) 100 คน  ดีกว่า จับคนที่ไม่ได้กระทำผิด หรือ "ผู้บริสุทธิ์" เพียง 1 คน  จึงเป็นหลักฯที่นำมาสู่แนวทางพิจารณาในคดีอาญา คือ ปล่อยตัวไป เพราะมีเหตุอันควรสงสัย..." ??????? 

เพราะ "กฎหมาย" เป็นเพียงกติกา..ของสังคม...ที่กำหนดโดย..ผู้มีอำนาจ..มาแต่ยุคโบราณ  เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน...มีแนวความคิดที่จะปกป้องรักษาสิทธิมนุษยชนฯ เพื่มมากขึ้น...กฎหมายจึงมาจาก "ตัวแทนของประชาชน"...ที่เป็นเสียงส่วนใหญ่    แต่ก็มิใช่ว่า "กฎหมาย" ตามแนวคติของ "อำนาจ" เดิม จะหมดสิ้นไปจาก "กลุ่มผู้ร่างกฎหมาย"..ก็หาไม่

ว่าไปถึงคดีอากงฯ  จากข้อเท็จจริงที่นำสืบมาของโจทก์(ผู้ฟ้องคดี)  ก็ขาดพยานหลักฐานที่เชื่อมโยงไปโดยตรงว่า  ตัว "อากง" เป็นผู้ส่ง " SMS" หมิ่นพระมหากษัตริย์..ด้วยตนเอง  หรือไม่ ??????

เพราะพยานต่าง ๆ  ของฝ่ายโจทก์...ไม่ได้ชี้ไปถึงตัว "อากง"  ว่าเป็นผู้กระทำการอันเป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าวเอง...แต่ประการใด  เพียงแต่ครอบครอง "เครื่องโทรศัพท์...มือถือที่พิพาท" เท่านั้น   หมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ส่งข้อความไป.."ก็ไม่ใช่หมายเลขโทรศัพท์" ของ "อากง"   ไม่มีพยานโจทก์คนใดยืนยันว่า "อากง" เคยใช้หมายเลขที่ส่งข้อความ..แม้สักคนหนึ่งก็ตาม

ประเด็นข้อต่อสู้  หมายเลขที่ส่ง SMS ไม่ใช่ของ "อากง"  แต่เมื่อเป็นหมายเลขที่ใช้ในการกระทำความผิด  ย่อมเป็นสิ่งที่โจทก์..ต้องมีภาระพิสูจน์ว่า  ใครเป็นผู้ใช้ "หมายเลขโทรศัพท์" ดังกล่าว   ซึ่งสามารถตรวจค้นได้จาก บริษัทฯที่จำหน่ายหมายเลขโทรศัพท์เจ้าปัญหาว่า..ขายไปให้แก่ตัวแทนใด และตัวแทนฯได้จำหน่ายไปให้แก่บุคคลใด   ก็สามารถหาผู้ครอบครองหมายเลขดังกล่าวได้ไม่ยาก.....เพราะระเบียบฯ ที่ออกมาในปัจจุบัน  การซื้อหมายเลขโทรศัพท์ หรือซิมหมายเลขโทรศัพท์...ผู้ซื้อต้องให้รายละเอียดของผู้ซื้อหมายเลขโทรศัพท์..ทุกครั้ง..มิใช่หรือ ???  เมื่อโจทก์มีภาระพิสูจน์...แต่ไม่ได้นำสืบพิสูจน์ให้เห็นได้ชัดแจ้ง และยังเป็นข้อที่ไม่สามารถชี้ชัดลงไปว่า "อากง" คือผู้ครอบครอง  ก็ต้องยกเรื่องหมายเลขนี้ลงไปในข้อเท็จจริงว่า "อากง" ไม่เกี่ยวข้องกับหมายเลขโทรศัพท์ที่ส่งข้อความดูหมิ่นฯ

นอกจากนี้   ในประเด็นข้อต่อสู้ที่ว่า "อากง"  ไม่เคยส่ง "SMS"  เพราะส่งไม่เป็น   แต่ผู้พิพากษา..กลับวินิจฉัยไปว่า 

      "ข้ออ้างของจำเลยที่กล่าวอ้างว่า ส่งSMS ไม่เป็น และไม่รู้จักเบอร์โทรศัพท์ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุาการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ นั้น มีแต่จำเลยเท่านั้นที่รู้เห็น เป็นการง่ายที่จะกล่าวอ้าง"

      จริงครับ  มันเป็นการง่ายที่จะกล่าวอ้าง  แต่ก็ไม่ยากต่อการพิสูจน์ของโจทก์ด้วย  ใช่หรือไม่    ในเมื่อการส่ง SMS เป็นส่วนหนึ่งในการกระทำความผิด  (เพราะข้อความมิได้ลอยออกไปจากเครื่องโทรศัพท์..ด้วยตนเอง..ซะเมื่อไร)   โจทก์จึงต้อพิสูจน์ให้แจ้งชัดว่า  "อากง" เป็นผู้มีความสามารถในการส่ง SMS หรือไม่  ซึ่งการพิสูจน์ก็ไม่ยากเย็นอะไร... โดยตรวจค้นประวัติจากหมายเลขโทรศัพท์ที่ "อากง" ใช้ประจำอยู่นั่นเองว่า "เคยส่งข้อความ SMS ออกไปหาผู้ใดบ้างหรือไม่ ???  ซึ่งถ้าไม่เคยส่ง SMS ก็ย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ตามข้อกล่าวอ้างของจำเลยให้รับฟังได้  ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลจะนำมาตัดสินคดีโดยอาศัย "ความเชื่อ" ว่า จำเลยมักจะกล่าวอ้างแก้ตัวอยู่วันยังค่ำ   กลับเป็นแรงย้อนกลับไปหาศาล ซึ่งก็ดูหลักฐานไม่หนักแน่นในประเด็นนี้ที่จะลงโทษจำเลย

ข้อความสุดท้ายในคำพิพากษา  ศาลเองยังวินิจฉัยว่า

    " แม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบพยานให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้ที่ส่งข้อความตามฟ้องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องดังกล่าว ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนายสมเกียรติ แต่ก็เพราะเป็นการยากที่โจทก์จะสามารถนำสืบได้ด้วยประจักษ์พยาน เนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดดังกล่าวย่อมจะต้องปกปิดการกระทำของตนมิให้บุคคลอื่นได้ล่วงรู้ จึงจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลประจักษ์พยานแวดล้อมที่โจทก์นำสืบเพื่อชี้วัดให้เห็นเจตนาที่อยู่ภายใน" 

    เพียงประโยคต้น ๆ ก็เพียงพอที่จะสงสัยในข้อเท็จจริงและข้อกล่าวหาของโจทก์ได้แล้ว   และยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้น...ให้แก่จำเลย...ด้วยการยกฟ้องและปล่อยตัวจำเลยไป....จึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำเพื่อยืนยันหลักประกันความมีเสรีภาพ และความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหา...จนกว่าจะพิสูจน์ให้ชัดเจนหนักแน่นเพียงพอ..ในเรื่องความผิดทางอาญา....มิใช่หรือ ???

    การนำเจตนาในใจ...มาพิสูจน์ด้วยพยานแวดล้อม  ก็ยังทำให้ "คติ" ในเรื่องนี้ แปลกออกไปจากที่เคยศึกษาหลักกฎหมายที่เคยมีมา   เนื่องจาก ข้อกล่าวหาของโจทก์ในข้อหาดูหมิ่น ตามมาตรา 112  ไม่มีส่วนใดที่ต้องการ "เจตนาในใจ"    ส่วน "กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา"  ก็มิใช่หลักกฎหมายของประเทศไทยนี้..แต่อย่างใด  เป็นเพียง สุภาษิตทางกฎหมายเท่านั้น   เมื่อข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานต่าง ๆ ยังถือไม่ได้ว่า..ใกล้ชิดกับการกระทำของจำเลย"  การจะใช้บทพิสูจน์จาก "พยานแวดล้อม..ที่ห่างไกล"  มาเป็นเครื่องพิสูจน์ความผิดของคน ๆ หนึ่ง และลงโทษตามกฎหมาย   จึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ในทางวิชาการและกฎหมาย  และสะท้อนกลับไปสู่ผู้ตัดสินเองว่า "ได้อำนวยความยุติธรรม" ให้แก่ประชาชน หรือ ใคร ??????

-------------------------

ความยุติธรรมไม่มี....สามัคคี..ไม่เกิด

-------------------------

แก้ไขเมื่อ 25 พ.ย. 54 13:41:55

จากคุณ : ไทยทีดี
เขียนเมื่อ : 25 พ.ย. 54 10:43:45 A:202.183.225.174 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com