Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
+++++คุณ ASIRAM ผมได้อ่านในลิงค์ที่คุณให้แล้ว และมีความเห็นดังนี้ +++++ ติดต่อทีมงาน


ผมได้ตามไปอ่านลิงค์ที่คุณได้ให้มาแล้ว ขอขอบคุณที่นำลิงค์มาให้อ่าน อย่างไรก็ดี หลังจากพิจารณาลิงค์เท่าที่มีเวลาอยู่นี ผมยังเห็นต่างจากคุณคือ

ผมยังเห็นว่า  การพิจารณาคดีขององค์คณะนี้ไม่ได้เป็นการเหวี่ยงแหครอบจักรวาลอย่างที่คุณเห็น ในทางตรงข้ามองค์คณะฯยึดถือเจตนารมณ์ของกฎหมายปปช.ที่มุ่งจะปรามการกระทำผิด ดังนั้น หากในกรณีใด ที่องค์คณะเห็นว่า ตามสภาพลักษณะแล้ว เจ้าหน้าที่รัฐสามารถใช้ช่องอำนาจตามกฎหมายที่มีให้ เข้ากระทำการทุจริตได้ องค์คณะจึงยึดถือกรณีเช่นนั้น เป็นความผิดตามมาตรา 100(1)

ในกรณีที่ดินรัชดา สภาพคดีบ่งชี้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐสามารถจะใช้ช่องที่กฎหมายให้อำนาจไว้ มีอำนาจเหนือการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการรับประมูล นั้นคืออำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูเอง ดังนั้น ในกรณีคดีนี้ หากภรรยา นายกฯเข้าทำการประมูลกับกองทุนฟื้นฟู ก็จะเป็นไปได้ว่า เฉพาะแต่คณะกรรมการกองทุนที่จะยอมให้ภรรยานายกฯ ได้ประโยชน์จากการเข้าประมูลเท่านั้น ที่จะ คงอยู่ในตำแหน่งได้

หากนายกรัฐมนตรีแน่ใจว่า คณะกรรมการกองทุนชุดเดิม จะไม่อำนวยประโยชน์ให้แก่ภรรยาของตนในการเข้าประมูล นายกฯเอง มีอำนาจที่จะให้รัฐมนตรีที่ดูแล เปลี่ยนตัวกรรมการกองทุนเสียก่อนได้ตามอำนาจที่รัฐมนตรีมีอยู่ หรือนายกฯเองอาจจะเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีเสียเองหากจำเป็นต้องทำ ซึ่งกรณีเช่นที่ว่านี้ อาจจะไม่ได้เกิดหรือเกิดขึ้นจริง ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญของกฎมายมาตรา 100(1) เพราะมาตรานี้อาศัยองค์ประกอบที่ว่า เจ้าหน้าที่นั้นๆ สามารถอาศัยช่องทางกฎหมายที่ตนมี มาเพื่อประโยชน์แห่งตนหรือภรรยาได้หรือไม่ หากได้และมีช่องกฎหมายนั้นอยู่ จะได้ใช้ช่องทางนั้นแล้วหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็น แต่กฎหมายห้ามมิให้เข้าไปยุ่งในการประมูลหรือทำสัญญา

หากองค์ฯคณะชุดต่อไปหรือชุดอื่นในคดีอื่น จะยังคงยึดหลักเดิมที่จะปรามการทุจริต หรือปรามการเข้าไปยุ่งในกิจการที่ตนมีอำนาจกำกับบังคับดูและ โดยอาศัยช่องกฏหมายอำนาจหน้าที่มีเพื่อให้แก่ประโยชน์แห่งตนแล้วไซร้ กรณี การทำสัญญา ของข้าราชการในการเข้าทำงานในทบวงมหาวิทยาลัยที่คุณยกมา จะมีข้อที่แย้งอยู่ว่า การทำสัญญาในลักษณะเช่นนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์พิเศษแก่ผู้ใดเป็นการเฉพาะ   จึงน่าจะถือว่าไม่ได้ขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม และในที่สุด จึงไม่ต้องตามาตรา 100(1) เพราะไม่มีช่องกฏหมายที่ให้อำนาจใดมาแทรกแซงการทำสัญญาได้ ขออนุญาตลงเป็นตารางเทียบ ดังนี้คือ
 กรณีคดีที่ดินรัชดา   
 กรณีภรรยานายกฯเป็นข้าราชการมหาวิทยาลัย
รัฐมนตรี สามารถเปลี่ยนตัวส่วนใหญ่ของกรรมการกองทุนฟื้นฟูได้ตนเอง จึงสามารถนำคนของตนหรือคนที่จะอำนวยประโยชน์ให้ตนเข้ามาได้ หากมีความประสงค์ 
รัฐมนตรีที่กำกับดูแล ไม่สามารถ เปลี่ยนตัว นายกสภาหรือกรรมการสภามหาวิทยาลัยได้เพราะมาตรา ๕๓ ของพรบ.มหาวิทยาลัย ระบุแต่เพียงว่าให้รัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไปซึ่ง กิจการของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในมาตรา ๗ และให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับ มหาวิทยาลัยเป็นการเฉพาะ เท่านั้น

ไม่สามารถนำคนของตนหรือคนที่จะอำนวยประโยชน์ให้ตนเข้ามาได้  แม้จะมีความประสงค์


พรบ.มหาวิทยาลัย ไม่ได้ให้อำนาจรัฐมนตรี ในการให้คุณให้โทษ หรือเปลี่ยนแปลงตัวนายกฯ หรือ กรรมการสภามหาวิทยาลัย แต่ผู้บริหารเหล่านี้จะมาจากการเลือกตั้ง การสรรหาตามข้อบังคับมหาวิทยาลัย และควบคุมดูแลกำกับกันเอง
สัญญาในการประมูลกรณีที่ดินรัชดาหรือสัญญาประมูลอื่นๆ สามารถปรับเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข สาระต่างๆได้ตลอดเวลา ตามอำนาจของคณะกรรมการกองทุน  อันอาจจะเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ใดเป็นการเฉพาะได้    สัญญาจ้างเพื่อเข้าเป็นพนักงานของมหาวิทยาลัย มีสาระที่แน่นอนตายตัวตามระเบียบหรือคำสั่งที่ออกไว้ตายตัว กรณีนี้คือ ตามคำสั่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ ๒๗๘๑/๒๕๕๑

ผู้มีอำนาจในการเซ็นเป็นคู่สัญญา มิอาจจะเปลี่ยนแปลงรายละเอียดแห่งสัญญาเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์ แห่งคู่สัญญาอีกฝ่าย (คือภรรยานายกฯ) ได้ เพราะต้องเป็นไปตามแบบ ตามระเบียบข้อบังคับ
   
 

ในเมื่อสภาพเงื่อนไขในการทำสัญญาเป็นพนักงานหรือข้าราชการ มิอาจจะทำให้เกิดการได้ประโยชน์โดยมิชอบแก่ผู้เข้าทำสัญญาเป็นการเฉพาะได้  ก็น่าสงสัยว่าจะไปต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายปปช.ได้อย่างไร เพราะไม่มีกรณีที่จะเป็นข้อเอื้อประโยชน์

หากจะอ้างว่ารมต.จะใช้อำนาจให้บุคลากรของมหาวิยาลัย รับภรรยานายกฯเข้าทำสัญญาเป็นกรณีพิเศษ ก็ต้องถามว่า ด้วยอำนาจอะไรที่รมต.ทบวงมหาวิทยาลัยจะสามารถเข้ามาก้าวก่าย สั่งการงานภายในของมหาวิทยาลัยให้ทำเช่นที่ว่านั้นได้

เพราะตามกฎหมาย มหาวิทยาลัยนั้นอาศัยสภามหาวิทยาลัยในการบริหารงาน  ซึ่งรมต.ไม่สามารถเข้ามายุ่งเกี่ยวก้าวก่ายหรือสั่งการได้ เพราะรัฐมนตรีมีอำนาจก็แต่ท้วงติงการทำงานได้เฉพาะแต่การบริหารงานที่ไม่เข้าวัตถุประสงค์ในมาตรา ๗ และให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเป็นการเฉพาะ เท่านั้น  ไม่สามารถลงไปในรายละเอียดหรือสั่งการหรือบังคับสั่งการบุคคลากรในมหาวิทยาลัย เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่พนักงานที่เข้ามาทำสัญญาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยได้

แต่ตรงนี้ หากคุณมีความเห็นต่างในเรื่องนี้ ช่วยกรุณาชี้แจงรายละเอียด และยกข้อบังคับหรือกฎหมายประกอบด้วย ว่าสามารถทำเช่นนั้นได้อย่างไร ผมยินดีรับฟัง



ดังนั้น เรื่องนี้ขึ้นกับว่าพรรคเพื่อไทยหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง จะนำเรื่องฟ้องร้องต่อคณะกรรมการปปช.เมื่อใด ซึ่งส่วนตัวผมแล้ว สนใจอย่างยิ่งและอยากให้มีการฟ้องร้องในเรื่องนี้ดู เพื่อดูหลักคิดของคณะกรรมการปปช.หรือ องค์คณะผู้พิพากษา หากเรื่องได้เข้าถึงชั้นศาล ว่าจะยึดตัวอักษรโดยลำพัง หรือยึดหลักเจตนารมณ์ ที่จะปรามการประพฤติมิชอบ ที่อาจจะมีการใช้ช่องอำนาจกฏหมายที่ตนมี ดังที่มีปรากฏในอาจจะเกิดขึ้นในกรณีต่างๆกัน เช่นกรณีที่ดินรัชดาเป็นต้น



 

จากคุณ : thyrocyte
เขียนเมื่อ : 25 พ.ย. 54 15:20:30 A:58.137.0.146 X:



ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com