จากคดีโจรปล้นบ้านนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดคมนาคม
ตามที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ แฉกลางสภาว่าเงินที่คนร้าย
ได้ไปมีที่มาโยงใยกับการทุจริตโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3-4 สาย
ในรัฐบาลชุดก่อน ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯ
จากคดีอาชญากรรมธรรมดายก ระดับขึ้นเป็นคดีทุจริตระดับชาติ
นักการเมืองระดับคีย์แมนอดีตพรรคร่วมรัฐบาลเข้าไปเกี่ยวข้อง
ตามเค้าโครงเรื่องที่เปิดออกมาจึงน่าตื่นเต้นเร้าใจกว่าเยอะ
ถ้าเทียบกับคิวฝ่ายค้านประชาธิปัตย์ฉวยโอกาสขณะรัฐบาลของ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ กำลัง "เสียศูนย์" จากปัญหา
น้ำท่วมใหญ่ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 2 เดือน
ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก
รมว.ยุติธรรม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือ
ผู้ประสบอุทกภัย หรือศปภ.
จัดหนักใน 3 ข้อหาคือ
บริหารงานบกพร่องผิดพลาดทำให้วิกฤตน้ำท่วมบานปลาย
ปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตจัดซื้อถุงยังชีพ และแต่งตั้ง
ส.ส. พรรคเพื่อไทย 4 คน เป็นกรรมการบริหารจัดการถุงยัง
ชีพและสิ่งของบริจาค เข้าข่ายขัดต่อรัฐ ธรรมนูญ
อย่างไรก็ตามการยื่นญัตติเชือดของฝ่ายค้านครั้งนี้
มีกระแสข่าวออกมาว่าแม้แต่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ด้วย
กันเองก็มีความเห็นแตกออกเป็นสองฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งเห็น
ว่ายังไม่สมควรเปิดอภิปรายตอนนี้
เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่สุกงอมพอ
ทั้งยังอาจขัดต่อความรู้สึกของประชาชนส่วนใหญ่ที่ต้องการ
ให้นักการเมืองสงบศึกกันชั่วคราว แล้วหันหน้าเข้าหากัน
ร่วมแก้ไขความเดือดร้อนให้ผู้ประสบภัย
มากกว่าจะฉวยเอาวิกฤตประเทศชาติมาแปรเป็นโอกาส
ทำลายกันในทางการเมือง
แต่อีกฝ่ายหนึ่งกลับเห็นว่าควรฉวยจังหวะตีเหล็กตอนกำลังร้อน
เพราะที่ผ่านมารัฐบาลได้แสดงให้เห็นถึงความผิดพลาด
บกพร่องในการบริหารจัดการปัญหา
ประกอบกับภาพเหตุการณ์ม็อบผู้ประสบภัยต่างลุกฮือพร้อมกัน
หลายจุด เนื่องจากเริ่มไม่พอใจการแก้ปัญหาของรัฐบาลที่
ปล่อยให้จมอยู่กับน้ำเน่านานนับเดือน
จึงเป็นจังหวะเหมาะจะขย่มซ้ำรัฐบาล
บวกกับเงื่อนงำการจัดซื้อถุงยังชีพที่ขมวดปม รอไว้ก่อนล่วง
หน้า จึงเชื่อว่าการอภิปรายครั้งนี้จะฝากรอยแผลไว้ให้รัฐบาล
ได้แน่นอน
แม้ว่าพรรคร่วมฝ่ายค้านทั้งพรรคภูมิใจไทยและพรรครักประเทศไทย
ของนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ จะไม่เห็นด้วยกับการเดินเกมของ
ประชาธิปัตย์และไม่ร่วมลงชื่อในญัตติขอเปิดอภิปรายด้วยก็ตาม
จึงต้องรอดูว่าการขาดเอกภาพภายในของฝ่ายค้าน จะทำให้การ
อภิปรายไม่ไว้วางใจที่ประธานสภากำหนดให้มีขึ้นวันที่ 27 พ.ย.
แล้วลงมติในวันที่ 28 พ.ย. ด้อยประสิทธิภาพลงไปหรือไม่
ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลเองก็ไม่ยอมประมาทกับเกมซักฟอกครั้งนี้
โดยมองว่าถึงแม้ในญัตติอภิปรายจะใส่ชื่อพล.ต.อ.ประชาไว้
คนเดียว
แต่เจตนาน่าจะต้องการกระทบชิ่งไปถึงนายกฯ ยิ่งลักษณ์มากกว่า
อีกทั้งส่วนตัวของพล.ต.อ.ประชานั้นถึงจะตั้งใจทำงาน แต่โดย
บุคลิกเป็นคนพูดจาตอบโต้ไม่เก่ง มีสิทธิ์เพลี่ยงพล้ำให้กับทีม
ขุนพลปากตะไกรของประชาธิปัตย์ได้ไม่ยาก
จึงไม่แปลกหากพรรคเพื่อไทยจะจัดหาทีมองครักษ์ไว้คอยเป็นตัวช่วยแก้เกม
ในประเด็นการจัดซื้อถุงยังชีพ นอกจากนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ
รองนายกฯ และรมว. มหาดไทยกำกับดูแลกรมป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) หน่วยงานที่มีหน้าที่จัดซื้อถุงยังชีพ
โดยตรง จะส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอตรวจสอบแล้ว
นายยงยุทธยังเคยชี้แจงในสภาว่า ราคาสิ่งของในถุงยังชีพไม่ข้าวสาร
หรือปลากระป๋อง เกือบเท่ากับเมื่อปีก่อนที่มีการจัดซื้อ มีบางอย่าง
เท่านั้นที่สูงขึ้นก็เป็นเพราะราคาสินค้าแพงขึ้น
ทั้งยังจัดซื้อจากร้านเดียวกับที่รัฐบาลประชาธิปัตย์จัดซื้ออีกด้วย
ส่วนข้อกล่าวหาเซ็นคำสั่งแต่งตั้งส.ส.เพื่อไทย 4 คน
เป็นกรรมการบริหารจัดการถุงยังชีพและเครื่องอุปโภคบริโภค
เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย แม้จะยกเลิกคำสั่งในภายหลัง
แต่ก็ ยังถือว่ามีความผิดฐานขัดต่อรัฐ ธรรมนูญมาตรา 265-266 นั้น
ข้อมูลที่เพื่อไทยเตรียมไว้ตอบโต้ ก็คือ
ในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ
ขณะนั้นมีคำสั่งแต่งตั้ง ส.ส.ประชาธิปัตย์ 19 คนไปช่วยงาน
กระทรวงวัฒนธรรม
ต่อมาพรรคเพื่อไทยนำเรื่องไปยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการ
เลือกตั้ง (กกต.) ให้วินิจฉัยความผิด
กกต.ได้ยกคำร้องด้วยเหตุผลว่า ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า ส.ส.
เหล่านั้นปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมายหรือไม่ อีกทั้งนายสุเทพก็
ลงนามยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งเช่นกัน
ดังนั้นถ้ายึดเอาตามบรรทัดฐานที่รัฐบาลประชาธิปัตย์สร้างไว้
จึงไม่น่าจะมีปัญหา
ยกเว้นประชาธิปัตย์จะเสาะแสวงหาข้อมูลใหม่เรียกได้ว่าเป็น "ทีเด็ด"
จริงๆ ไม่ใช่คลิปจริงมั่ง มั่วมั่งที่มีอยู่เกลื่อนกลาดในโลก ไซเบอร์มาได้
ตรงนั้นถึงจะสร้างความหนักใจให้รัฐบาล
ที่สำคัญคือความคืบหน้าคดี 91 ศพ ภายใต้การลงแส้ของร.ต.อ.เฉลิม
อยู่บำรุง ที่ดำเนินมาถึงจุดใกล้รู้ตัว "คนสั่งการ" ปราบประชาชนเต็มที
บวกกับกรณีปล้นบ้านปลัดสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ที่โยงใยเข้ากับปมทุจริต
โครงการรถไฟฟ้าของรัฐบาลชุดที่แล้ว ซึ่งเป็นจุดเริ่มของคำถามว่า
แล้วคนเป็นนายกรัฐมนตรีขณะนั้น
ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วยหรือไม่
น่าจะเป็นประเด็นสอดแทรกสองเรื่องใหญ่ ทำให้ประชาธิปัตย์ต้อง
กลับมาเป็นฝ่าย "ตั้งรับ" แทนที่จะเป็น "ฝ่ายรุก"
สรุปว่าถ้าพรรคที่ยื่นญัตติเพียงแค่ต้องการอาศัยการตีฝีปากตาม
ฟอร์ม โดยไม่มีข้อมูลใหม่แตกต่างจากที่เคยอภิปรายในการประชุม
ร่วมรัฐสภามาแล้ว
ศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจหนนี้
จึงน่าจะเป็นอะไรที่ชิลชิลสำหรับรัฐบาล
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd2Iyd3dNVEkzTVRFMU5BPT0=§ionid=TURNd05BPT0=&day=TWpBeE1TMHhNUzB5Tnc9PQ==
อ่านกระทู้เพื่อน ๆ แล้ว ก็งง ตกลงวันนี้ อภิปรายพล.ต.อ.ประชาเรื่อง
ศปภ. หรือ เรื่อง พรฎ. เพราะปกติ ดิฉันไม่สนใจการประชุมสภา ฯ
เนื่องจากไม่เห็นมีอะไรเป็นสาระ เป็นเรื่องที่สส.อยากจะแสดงโวหาร
ออกทีวี ให้ปชช. ที่เลือกได้เห็นว่าไปทำหน้าที่ในสภา ฯ เท่านั้นเอง
เอาไว้อ่านเวลาที่เขาสรุปในสื่อ หรือไม่ก็ดู high light ตอนข่าว
ไม่ต้องไปเสียเวลาแช่จอโทรทัศน์ อยู่ที่การประชุม
ทำไมอภิปรายเรื่องน้ำท่วม แล้วมันมีอะไรเกี่ยวกับ พรฏ.ด้วย .......
คุยกับเพื่อนสักนิดนะคะ ..........
หุ่นเชิด หรือ หนังตะลุง.....ก ล า ง ส ภ า โดย คุณตระการฟ้า ตระกองขวัญ
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P11386764/P11386764.html
......วันนี้เขาอภิปรายไม่ไว้วางใจพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ค่ะ โปรดเข้าใจ
ด้วย ทำไมนายก ฯ ต้องชี้แจง
อ่านที่สื่อเขาวิจารณ์ เสริมสมองกันหน่อยดีไหม จะทำหน้าที่ ก็ให้สม
กับที่ได้รับมอบหมายกันหน่อย