[Free-R.Gong] ถึงคุณ "คนชาย" กรณีกระทู้ ประชาชง พิชัยตบ "ความเหมือนที่แตกต่าง"{แตกประเด็นจาก P11394165}
|
 |
คุณคนชาย : อีกประเด็น ประชาชง ฆ่า ตัวตายชัดๆ ประชาชง ยอมรับอย่างเป็นทางการ พฤติกรรมของ สส.รัฐบาล มี พฤติกรรมแบบเดียวกับ สส. ฝ่ายค้าน เขาเรียกว่าตายคาเขียงครับ แถ ไม่ออก เลยต้องลากฝ่ายตรงข้ามให้ตายตกตามกันไปด้วย
กรณีของพล.ต.อ.ประชา ว่าด้วยมาตรา 265 และ 266 ผมขอชวนคุณคนชายมาดูความเห็นของกฤษฎีกานะครับ
ศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอุทกภัย หรือศปภ. แต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 193/2554 เพื่อทำหน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางในการจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยภิบัติเกี่ยวกับอุทกภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมทั้งปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี เป็นเพียงหน่วยงานชั่วคราว ที่จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตราที่ 11 (3) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
เพื่อทำหน้าที่ประสานการบริหารงานของส่วนกลาง ของส่วนราชการ และหน่วยงานอื่นของรัฐที่รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอยู่แล้วตามอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐนั้นๆ และในการบริหารงานของศปภ. มีลักษณะเป็นการดำเนินการให้เป็นไปด้วยความราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
เมื่อเสร็จภารกิจหรือสิ้นสุดสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นอันยุติ
การดำเนินการของศปภ.จากลักษณะของการจัดตั้งและการปฏิบัติงานของศปภ.จึงมิได้เป็นหน่วยราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ตามในนัยแห่งบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในมาตรา 265 และมาตรา 266 แต่อย่างใด
ข้อมูลประกอบ
- มาตรา ๑๑ นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓) บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม (๘) วางระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดย รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น (๙) ดำเนินการอื่น ๆ ในการปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบตาม (๘) เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ใช้บังคับได้
- มาตรา ๒๖๕ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้อง
(๑) ไม่ดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น
(๒) ไม่รับหรือแทรกแซงหรือก้าวก่ายการเข้ารับสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ อันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
(๓) ไม่รับเงินหรือประโยชน์ใดๆ จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เป็นพิเศษนอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติต่อบุคคลอื่นๆ ในธุรกิจการงานตามปกติ
(๔) ไม่กระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา ๔๘ บทบัญญัติมาตรานี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา รับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินปีพระบรมวงศานุวงศ์ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และมิให้ ใช้บังคับในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภารับหรือดำรงตำแหน่งกรรมาธิการของ รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา หรือกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งในการบริหารราชการแผ่นดิน
ให้นำความใน (๒) (๓) และ (๔) มาใช้บังคับกับคู่สมรสและบุตรของสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา และบุคคลอื่นซึ่งมิใช่คู่สมรสและบุตรของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิก วุฒิสภานั้น ที่ดำเนินการในลักษณะผู้ถูกใช้ ผู้ร่วมดำเนินการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาให้กระทำการตามมาตรานี้ด้วย
- มาตรา ๒๖๖ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ใช้สถานะหรือ ตำแหน่งการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือราชการ ส่วนท้องถิ่น
(๒) การบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง และเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้าราชการการเมือง พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือ
(๓) การให้ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำและมิใช่ข้าราชการการเมือง พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือราชการ ส่วนท้องถิ่น พ้นจากตำแหน่ง
กรณีของคุณหมอวรงค์ เป็นเรื่องของคุณหมอวรงค์ในฐานะสส. กับท่านผู้ว่า ผมขอชี้ไปที่มาตรา 266 วงเล็บหนึ่ง
- มาตรา ๒๖๖ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ใช้สถานะหรือ ตำแหน่งการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาเข้าไปก้าวก่ายหรือ แทรกแซงเพื่อประโยชน์ ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือราชการ ส่วนท้องถิ่น จาก 2 กรณี ระหว่างคุณประชาเซ็นคำสั่งแต่งตั้งนายการุณ โหสกุลและนายสุรชาติ เทียนทอง กับคุณหมอวรงค์โทรไปขอถุงยังชีพจากท่านผู้ว่ามาใช้ในกิจกรรมของสมัครพรรคพวกตนเอง ที่พล.ต.อ.ประชาคิดและคุณคนชายพิมพ์ว่า พฤติกรรมของ สส.รัฐบาล มี พฤติกรรมแบบเดียวกับ สส. ฝ่ายค้าน
ในมุมมองของผม ถ้ายึดตามความเห็นของกฤษฎีกาและข้อกฎหมายข้างบนที่ผมยกมาประกอบ ผมเห็นว่า 2 กรณีที่เกิดขึ้น มันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงตามตัวบทกฎหมายครับ เคสของพล.ต.อ.ประชา ศปภ.เป็นเพียงหน่วยงานชั่วคราว เมื่อเสร็จภารกิจหรือสิ้นสุดสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นอันยุติ ศปภ.จึงมิได้เป็นหน่วยราชการหรือหน่วยงานของรัฐ
เคสของคุณหมอวรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดถือเป็นข้าราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทยซึ่งถือเป็นหน่วยงานของรัฐ กรณีที่คุณหมอวรงค์โทรไปหาท่านผู้ว่าและแจ้งว่านายอภิสิทธิ์จะมา คุณหมอวรงค์จึงขอให้ท่านผู้ว่าจุดถุงยังชีพให้ ในลักษณะที่ท่านผู้ว่ารู้สึกเหมือนถูกข่มขืนใจ(บังคับ)
ด้วยพฤติกรรมที่ว่านี้มันจึงทำให้คุณหมอถูกมองเหมือนว่าคุณหมอได้ใช้ตำแหน่งสส.และชื่อของนายอภิสิทธิ์ไปทำเบ่งเพื่อกดดันก้าวก่าย แทรกแซง ท่านผู้ว่า กรณีแรกของพล.ต.อ.ประชาก็มีการยื่นถอดถอน ยื่นตรวจสอบกันไปแล้ว ก็คงเหลือแต่กรณีของคุณหมอวรงค์ ที่งานนี้ผมก็ไม่รู้จะมีใครเสนอตัวมาเป็นเจ้าภาพ "จัดให้" ตามคำเรียกร้องของคุณคนชายหรือเปล่า
ประเด็นคุณหมอวรงค์กับท่านผู้ว่า ผมไม่ซีเรียสนะครับ ผมว่าแกเป็นคนที่ซื่อน่ารักดี คุณหมอวรงค์แกคงโกหกใครไม่เป็น จากคำแก้ตัวของคุณหมอวรงค์เลยกลายมาเป็นคำสารภาพ "ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่" น้ำลายที่พรรคฝ่ายค้านพ่นออกไป แทนที่จะไปโดนหน้าฝ่ายตรงข้าม มันจึงย้อนศรกลับมารดหน้าตนเอง
จากคุณ |
:
สิงห์สนามหลวง
|
เขียนเมื่อ |
:
29 พ.ย. 54 14:23:15
A:61.90.21.35 X:
|
|
|
|