คุณคนชาย :
งันคงต้องมาดูประเด็น ศปภ.ไม่ได้เป็นหน่วยงานของรัฐ จริงหรือเปล่า ต้องดูอันนี้ก่อนเลย ถ้าไม่ใช่ หน่วยงานของรัฐ คือ จบ!!! ^_^
ผมพยายามค้นหา "ผมขอชวนคุณคนชายมาดูความเห็นของกฤษฎีกานะครับ" สงสัยผมไม่ฉลาดมาก เลยหาไม่เจอ ที่กฤษฎีกาตีความ แต่ที่เจอ ดันเป็น คำพูด ของ
เหลิม "แต่นายกฯตั้ง ศปภ.เป็นเพียงหน่วยงานชั่วคราว" ไอ้นี้หัวหมอ ^_^
ที่สำคัญมาก ประชา บอก "ส่วนการแต่งตั้งส.ส.เป็นคณะกรรมการบริหารจัดการถุงยังชีพนั้น ได้หารือกับกฤษฎีกาแล้ว โดยกฤษฎีกาตีความว่าศปภ.เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยอิสระตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่หน่วยงานรัฐ"
เอาแบบนี้ ประชา "ได้หารือกับกฤษฎีกาแล้ว" แต่ คุณสิงห์สนามหลวง บอก ว่า "ผมขอชวนคุณคนชายมาดูความเห็นของกฤษฎีกานะครับ" ผมเริ่มมึน ตกลงว่า กฤษฎีกา ตีความแล้วยังครับ
ในการลุกขึ้นชี้แจงในสภา พล.ต.อ.ประชา ได้อ่านความคิดเห็นของกฤษฎีกาครับ ถ้าคุณคนชายไม่ได้ติดตามการอภิปรายโดยตลอดเช่นผม คุณคนชายสามารถ จิ้มดูคลิป (พล.ต.อ.ประชาชี้แจงโดยการอ่านความคิดเห็นของกฤษฎีกา) ได้ครับ
ในความคิดเห็นส่วนตัวของผม "ความคิดเห็นของกฤษฎีกา" ก็ยังไม่ใช่เครื่องการันตีว่าพล.อ.ประชาจะร้อนพ้นสันดอน มีความปลอดภัยในตำแหน่ง การลงมติแม้จะผ่านพ้นไป เรื่องของพล.ต.อ.ประชายังต้องฝ่าด่านการตรวจสอบจากองค์กรอิสระ หรือกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นกระบวนการที่ผมไม่ให้ความยอมรับเชื่อถือว่ามีความเที่ยงธรรม เที่ยงตรง และเที่ยงแท้ในการตัดสินคดีความทางการเมือง
คุณคนชาย :
ทีนี้มาดูดีกว่า "หน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยอิสระตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่หน่วยงานรัฐ" แต่ทำไม มีอำนาจอย่างกับหน่วยงานของรัฐ
เริ่มที่
ประชา มีอำนาจตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการจัดซื้อถุงยังชีพ ที่แพงเกินจริง ถ้าไม่ใช่หน่วยงานของรัฐเอาอำนาจอะไรไปแต่งตั้ง ปลัดกระทรวงพาณิชย์
http://www.matichon.co.th/daily/view_news.php?newsid=01p0110271154§ionid=0101&selday=2011-11-27
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 193/2554 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ถ้าไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือ คำสั่งเถื่อน แต่ถ้าชอบด้วยกฎหมาย ศปภ. หน่วยงานนี้มีสถานะเป็นอะไร ในเมื่อ ผอ. ศปภ. และ เหลิม บอกว่าไม่ได้เป็นหน่วยงานของรัฐ
คำสั่งนายก ที่ 193/2554 แต่งตั้งหน่วยงานที่ชื่อว่า ศปภ. ที่ใช้ทรัพยากรของรัฐบาล เงินบริจาคของประชาชน เงินจากภาครัฐ คนที่กินเงินภาษีของรัฐฯ ทำงานอยู่ในนั้น เราต้องเรียกหน่วยงานนี้ว่าอะไรดีครับ ^_^
ต้องมีคำอธิบายที่ชัดเจนกว่านี้ครับ
หวังว่าจะได้ถกกับ คุณสิงห์สนามหลวง ด้วยหัวใจ คนเป็นกลาง อิอิ
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 193/2554 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 193/2554 เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายครับ ไม่ใช่คำสั่งเถื่อนแต่ประการใด เพราะเป็นคำสั่งที่อาศัยอำนาจตามความในมาตราที่ 11 (3) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. ๒๕๓๔
หมวด ๑ การจัดระเบียบราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี
มาตรา ๑๑ นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(๓) บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม
(๘) วางระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดย รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
(๙) ดำเนินการอื่น ๆ ในการปฏิบัติตามนโยบาย
ระเบียบตาม (๘) เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ใช้บังคับได้
ด้วยบทบัญญัติดังกล่าว กับคำถามของคุณคนชายที่ว่า "แต่ทำไม มีอำนาจอย่างกับหน่วยงานของรัฐ?" ผมชวนคุณคนชายดูข้อความที่ผมขีดเส้นใต้ในวงเล็บสาม แปด และเก้า ซึ่งผมคิดว่าได้อธิบายแสดงความหมายได้ชัดเจนสมบูรณ์ในตัวมันอยู่แล้
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผมขอชวนคุณคนชายย้อนกลับไปดู "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 280/2553" ที่แต่งตั้งคณะกรรมการและจัดตั้งศูนย์อำนวยการ กำกับ ติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เรียกโดยย่อว่า “คชอ.” มีนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตยเป็นประธาน เป็นคำสั่งที่ลงนามโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (จิ้มดาวน์โลหดเพื่อดูรายละเอียดคำสั่งเพิ่มเติม หรือ จิ้มอ่านที่นี่ )
ด้วยบทบัญญัติทางกฎหมายเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตราเดียวกัน แห่งพระราชบัญญติระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เหมือนกัน มันเป็นไปไม่ได้หรอกครับว่า ในสถานการณ์ที่เกิดอุทกภัยเช่นเดียวกัน นายกรัฐมนตรีคนหนึ่งสามารถออกคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่พอเปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี กลายเป็นนายกออกคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย