ผมเห้นแย้งคือที่คุณคนชายจั่วหัวไว้ว่า คำพิพากษา การันตีว่า "พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ" โดยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ชอบด้วยกฎหมาย และลงรายละเอียดไว้ว่า "จึงพิพากษาว่าจำเลยที่ 1-7 มีความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้ง 7" (คลิก ) นั้นน่าจะเป็นความจริงอย่างคุณคนชายว่าว่าการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินน่าจะชอบด้วยกฏฆมายแล้ว
เพราะปกติวิสัยของการต่อสู้คดีของฝ่ายจำเลยในลักษณะเช่นนี้ จำเลยจะต่อสู้ด้วยข้อโต้แย้งว่าการประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐบาลนั้นไม่ชอบ ดังนั้น การกระทำของพวกตนในเวลานั้น จึงไม่ผิดและไม่ฝ่าฝืนต่อ พรก. อีกทั้งศาลแพ่งก็เคยให้ความเห็นไปในทำนองเช่นนี้มาก่อนเมื่อ เมษายน 2553
การที่ศาลยอมรับว่าประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นชอบด้วยกฏหมาย ย่อมหมายความว่า เจ้าหน้าที่จะได้รับการคุ้มครองให้พ้นจากการรับผิด หากปฏิบัติหน้าที่ไปโดยชอบ หากมิได้จงใจกระทำร้ายแก่ผู้ใด หากการกระทำนั้นสมควรแก่เหตุ เช่นเป็นการป้องกันตน เฉพาะแต่การกระทำที่ล่วงลุต่ออำนาจอันมิชอบเท่านั้น ที่จะมีผลให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิด กรณีสไนเปอร์ที่อ้างมานั้น จึงต้องพิสูจน์มาว่ามีจริงและเจ้าหน้าที่กระทำเพราะลุแก่อำนาจของตนเองโดยผู้บังคับบัญชาไม่ได้สั่ง หรืออย่างไร
หากเป็นการกระทำที่ลุแก้อำนาจของเจ้าหน้าที่บางราย เจ้าหน้าที่รายนั้นๆย่อมผิด และร่วมถึงหัวหน้าหน่วย แต่ผู้บังคับัญชาระดับสูง อาจจะพ้นผิด หากพิสูจน์ได้ว่า ได้มีการกำชับสั่งการไม่ให้ทำร้ายประชาชนแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ระดับล่างลุแก้อำนาจไปเอง ซึ่งจะคล้ายๆกับกรณ๊สหรัฐที่ส่งหทารไปปฏิบัติการณ์ แล้วมีทหารลุแก่อำนาจทำร้ายประชาชนในประเทศต่างๆเช่นในเวียตนาม หรือที่อื่นๆ ที่มีการทำร้ายประชาชนในพื้นที่อย่างผิดกฏหมายเช่นนี้ ประธานาธิบดี ก็ไม่ได้ต้องรับผิดต่อกฏหมาย