+++หลักใกล้ชิดกับผลสำเร็จ ชี้ว่าการใช้กำลังทหารติดอาวุธเมื่อ พค.53 ไม่ใช่ความผิดกฎหมายอาญาฐานพยายามฆ่าประชาชน+++
|
 |
สืบเนื่องจากมีสมาชิก ให้ความเห็นแบบผิดๆว่า การนำกำลังทหารเข้ามา ในเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อ เมย.-พค.2553 นั้น สามารถเอามาอ้างว่าผู้สั่งการในเวลานั้นมีเจตนากระทำความผิดอาญาในฐานฆ่าผู้อื่นแล้วนั้น ความเห็นในทำนองนี้น่าจะให้คลาดเคลื่อนต่อหลักกฎหมาย
ลำพังการสั่งทหารเข้ามา หากมีแต่คำสั่งให้ใช้อาวุธเท่าที่จำเป็น แต่มีการเสียชีวิตเกิดขึ้นจากการปะทะ และเจ้าหน้าที่ต้องใช้อาวุธตอบโต้เพื่อป้องกันตนเองหรือผู้อื่น หรืออาจมีเจ้าหน้าที่บางส่วนลุแก่อำนาจ ใช้อาวุธเกินความจำเป็นนั้น หากเป็นแค่นี้ ก็ มิอาจจะทำให้ผู้สั่งใช้ทหาร มีความผิดที่ต้องรับโทษทางอาญาฐานพยายามฆ่าผู้อื่นหรือประชาชนได้แต่อย่างใด อย่างที่มีการพยายามบิดเบือนไปในลักษณะเช่นนั้น
อย่างที่ได้กล่าวในกระทู้ข้างล่างแล้วว่า การสั่งใช้กำลังทหารตามพรก.ฉุกเฉินนี้ รัฐบาลทุกรัฐบาลต่างก็ใช้ในพื้นที่ภาคใต้ ลำพังการนำกำลังทหารติดอาวุธลงไปในพื้นที่ดังกล่าว แต่ก็มิอาจจะฟ้องรัฐบาลในฐานพยายามฆ่าผู้อื่นหรือประชาชนได้
ทั้งนี้ เพราะลำพังการสั่งกำลังทหารติดอาวุธเข้าพื้นใด ก็ยังถือว่ายังห่างไกลต่อผลสำเร็จ (ในที่นี้คือการฆ่าหรือพยายามฆ่า) เพราะตามหลักใกล้ชิดต่อผลสำเร็จของกฎหมายนั้น การกระทำนั้นเป็นขั้นตอนที่อยู่ใกล้ชิดต่อผลที่เป็นความผิดนั้น เช่นกรณีนี้ ต้องมีคำสั่งให้ทหารที่ติดอาวุธเข้ามาทำการฆ่าเสียก่อน แบบนี้จึงจะมีความผิด มิใช่แต่คำสั่งให้ทหารติดอาวุธเข้ามาและมีแต่คำสั่งให้ใช้อาวุธเท่าที่จำเป็น ตามกฎการใช้กำลัง
การสั่งทหารติดอาวุธเข้าควบคุมเหตุการณ์ ถือว่ายังห่างไกลจากการเสียชีวิตของผู้ชุมนุม และยังต้องอาศัยเหตุปัจจัยอื่นๆเข้ามาประกอบ จึงจะเกิดการเสียชีวิตของบุคคลได้ ดังที่กล่าวแล้วคือ 1.ต้องมีการปะทะกันเจ้าหน้าที่ป้องกันตัวตามกฎหมาย 2. มีผู้ชุมนุมบางส่วนสร้างสถาการณ์ทำร้ายผู้ชุมุนมด้วยกันเพื่อป้ายความผิดให้ราชการ 3.ต้องมีทหารบางส่วนลุแก่อารมณ์และลุแก่อำนาจ ใช้อาวุธเกินกว่าที่ศอฉ.สั่งการไว้
ลำพังมีแต่การกระทำที่ความห่างไกลต่อผลสำเร็จนี้ดังกล่าวนี้ ตามหลักกฎหมายจะถือว่าพ้นจากความผิดที่ถูกกล่าวหานั้น ดังนั้น หากไม่มีหลักฐานว่ามีการสั่งให้ฆ่าโดยตรง ลำพังการสั่งทหารติดอาวุธเข้ามามิอาจจะถือเป็นความผิดอาญาได้แม้แต่น้อย
คำว่าลงมือกระทำความผิดอาญานั้น ฏีกา 1203/91 คำว่าลงมือจะต้องเป็นการกระทำที่ได้กระทำจนใกล้ชิดกับผลสำเร็จอันพึงเห็นได้ ประจักษ์แล้ว คำว่าใกล้ชิดต่อผลนั้น หมายถึงลงมือในขั้นตอนสุดท้าย ในกรณีนี้คือ ต้องมีการสั่งให้ฆ่า หากไม่มีคำสั่งนี้ มีแต่การให้ใช้อาวุธเพื่อป้องกันตนเองนั้น ก็จะไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่า ตัวอย่าง ที่การกระทำนั้น หากไม่อยู่ในขั้นตอนสุดท้ายแล้ว ศาลจะถือว่าพ้นการกระทำความผิดก็เช่น การกระชากลูกเลื่อนปืนขึ้นเพื่อจะยิง แต่ยังมิทันได้ยกขึ้นเล็ง ศาลไม่ถือว่าเป็นการพยายามฆ่า คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2517
.... ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมจำเลย จำเลยได้ชักอาวุธปืนสั้นออกจากเอวแล้วกระชากลูกเลื่อนเพื่อให้กระสุนเข้าลำ กล้อง แต่เจ้าพนักงานตำรวจวิ่งเข้ามาขัดขวางป้องกันมิให้จำเลยกระชากลูกเลื่อนได้ และแย่งปืนจากจำเลยไป ดังนี้จำเลยยังไม่อยู่ในสภาพพร้อมจะยิง จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่า... | การพยายามชักอาวุธปืนสั้นออกจากเอวแล้วกระชากลูกเลื่อนเพื่อให้กระสุนเข้าลำกล้อง ในสายตาคนทั่วไป ดูเหมือนจะถือว่า เป็นการพยายามจะยิงแล้ว พยายามจะฆ่าแล้ว แต่ศาลถือว่า ต้องมีการกระทำที่ใกล้ชิดต่อผลมากกว่านั้น จึงจะเป็นความผิดได้ คือการยกปืนที่พร้อมจะยิงขึ้นเล็ง จึงจะเป็นความผิด .
|
ดังนั้น จึงขอย้ำท่านที่พยายามจะบิดให้เกิดความเข้าใจผิดเรื่องการนำทหารติดอาวุธเข้ามา แล้วอ้างว่ามีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นนั้น จงเปลี่ยนความคิดให้ถูกต้องเพราะ ลำพังมีแต่การกระทำที่ห่างไกลต่อผลสำเร็จนี้ดังกล่าวนี้ ตามหลักกฎหมายจะถือว่าพ้นจากความผิดที่ถูกกล่าวหานั้น
หากพวกท่านยังไม่มีหลักฐานว่ามีการสั่งให้ฆ่าโดยตรงแล้วไซร้ ลำพังแต่การสั่งให้ทหารติดอาวุธเข้ามาและมีคำสั่งใช้อาวุธตามกฏการใช้กำลังของศอฉ. ก็มิอาจจะถือเป็นความผิดอาญาได้แม้แต่น้อย
.
แก้ไขเมื่อ 02 ธ.ค. 54 16:17:01
จากคุณ |
:
thyrocyte
|
เขียนเมื่อ |
:
2 ธ.ค. 54 16:13:08
A:58.137.0.146 X:
|
|
|
|