จากกระทู้
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P11409723/P11409723.html
ที่ผมอ้างว่า ****ถูกต้องครับ เพราะประชามติ ก็คือประชาธิปไตย ครับ
การใช้ชีวิตในสังคม สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ คือ ความเสมอภาคกับการใช้ชีวิต (ความสุขสมประสงศ์) ทำให้ในแต่ล๊ะสังคมมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ มติเสียงข้างมาก ในการตั้งพิจารณา กฎระเบียบการใช้ชีวิตร่วมกัน (รธน.) ขึ้นมา หรือในอีกแบบหนึ่งก็คือ มติเสียงของคนๆ เดียว (ส่วนน้อย) คุณคิดว่า ลักษณะใด ควรเป็นสังคมที่น่าอยู่กว่ากัน ล๊ะครับ
ที่ผมอ้างว่า **** เป็นไปได้ใหมครับ ว่า เรื่องของเรื่องก็คือ การนำเอาความผิดกรณี กฎระเบียบต้องห้ามของข้าราชการ มาพิจารณาลงอาญาด้วย วิธีพิจารณาความอาญา เพราะการโทษทางอาญาเท่านั้น ที่ รธน. ให้สิทธิอำนาจ การกระทำละเมิดต่อชีวิตและร่างกาย หรือลงอาญา ได้ วิธีพิจารณาโดยขาดข้อวินิจฉัยชี้ชัดถึงสาเหตุของการกระทำ มิใช่ลักษณะวิธีพิจารณาความอาญา ครับ
การกระทำผิด กฎระเบียบข้าราชการ เป็นลักษณะข้อพิพาทที่เกี่ยวกับ สัญญาว่าจ้าง ที่อยู่ในขอบข่าย วิธีพิจารณาความแพ่ง ส่วนลักษณะความผิดที่อยู่ในขอบข่ายกับ การลงอาญา (นิติกฎหมายอาญา) ก็จำเป็นตามกฎบัญญัติ รธน. ให้ใช้วิธีพิจารณาความอาญาเป็นหลัก ในคดีที่ดินรัชดา เป็นความผิดต่อสัญญาว่าจ้าง (แพ่ง) แต่พิจารณาตัดสิน ลงอาญา ด้วยมาตราการ กฎหมายอาญา อันนี้คือความขัดแย้งครับ
ที่ผมอ้างว่า **** เป็นไปได้ใหมครับ ว่า การชุมนุมในพื้นที่สาธารณะโดยสันติอหิงสาเพื่อเรียกร้องในสิ่งที่ไม่ผิด บัญญัติ รธน.
คำว่า พื้นที่สาธารณะ แสดงความหมายการเป็นเจ้าของๆ ส่วนรวม ที่อยู่ในอำนาจการปริหารควบคุม การใช้พื้นที่ จาก จนท.รัฐ ฝ่ายปกครองในพื้นที่นั้นๆ เป็นหลัก ในกรณีที่ บัญญัติ รธน. ให้สิทธิ์เฉพาะเพื่อใช้พื้นที่สำหรับชุมนุม (มติเสียงข้างมาก) เป็นเหตุผลที่ ทำให้การใช้พื้นที่ผิดลักษณะ (กฎระเบียบการใช้) ถึงแม้ว่า จะล่วงสิทธิการใช้ ไม่เป็นความผิด ตราบใดที่ไม่เป็นความผิด ตามนิติกฎหมายอาญา บังเกิดขึ้น
ถ้าคุณ อยากจะสังเกตุ ในลักษณะ ใช้ผิดจุดประสงศ์ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องยึดบทกำหนด ของการให้สิทธิของ บัญญัติ รธน. เป็นหลัก ครับ
๑.) การชุมนุม มิได้ให้สิทธิในการปรับเปลี่ยน ลักษณะสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ ฉนั้นในกรณีชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ ที่มี การจัดตั้งเวทีอภิปราย สิ่งก่อสร้างเพื่อการ การจัดปิดกั้นบริเวณชุมนุม โดยมิได้รับอนุญาต หรืออนุโลม จาก จนท.ควบคุม และ บริหาร พื้นที่ เป็นการกระทำผิดสิทธิอันชอบธรรม ของ บัญญัติ รธน. และ กฎระเบียบการใช้
๒.) การชุมนุม เป็นสิทธิของการแสดงออกความเห็นและข้อเรียกร้อง ระหว่าง กลุ่มชน ต่อ รัฐบาล นอกรัฐสภา ในขณะที่ การชุมนุมได้บรรลุผล คือ เรียกร้องให้ รบ.ยุบสภา และ รบ.ได้ยืนยันรับทราบ เป็นทางการแล้ว สิทธิอันชอบธรรม ตาม บัญญัติ รธน. ในการชุมนุม ก็จะเป็นการสิ้นสุดลง อนึ่งการชุมนุมยืดเยื้อ (ค้างคืน) เกินความจำเป็น ที่พร้อมมีลักษณะบังคับ หรือต่อรอง ไม่ใช่ลักษณะ แสดงความเห็น หรือแถลงข้อเรียกร้อง มิได้อยู่ในสิทธิคุ้มครอง ตาม บัญญัติ รธน.
๓.) การชุมนุม โดยสันติอหิงสา ตามบัญญัติ รธน. มิได้ให้สิทธิ ในการยึดครองพื้นที่สาธารณะ อย่างเช่น การปรับเปลี่ยน พื้นที่สาธารณะเป็นเคหะสถาน(หลับนอน) ถึงแม้ว่า ชั่วคราวก็ตาม หรือการ ปรับปรุงอาหาร การทำธุรกิจซื้อขาย โดยมิได้รับอนุญาตเฉพาะการ จาก จนท.ควบคุมบริหารพื้นที่ เป็นลักษณะการใช้พื้นที่ผิดลักษณะ
ในเมื่อ เกิดการกระทำผิด ตามปรกติแล้ว จนท.ควบคุมบริหาร ในพื้นที่ มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าปฎิบัติหน้าที่ โดยทันที แต่ด้วยจากการ ไม่มีปฎิกริยา และอำนวยความสะดวก ก็เป็นเสมือน การอนุมัติ หรืออนุโลม โดย จนท.รัฐ โดยปริยาย ในกรณีที่เกิดผู้เสียหาย ก็คือ การยื่นแจ้งคดีเรียกร้องความเสียหาย ที่มาจากการกระทำผิดในราชการ (การปฎิบัติหรือละเว้น) ของ จนท.รัฐ แต่มิใช่จากผู้ชุมนุม
ลักษณะกดดัน และบานปลาย ของการชุมนุม ที่บังเกิดต่อ รบ. ก็เป็นสถานะการณ์ ที่บังเกิดขึ้นได้ โดยการไม่รับผิดชอบในหน้าที่ ของ จนท.รัฐ ที่มีสิทธิอำนาจและหน้าที่ทางราชการในพื้นที่ แต่มิได้อยู่กับ ผู้บริหารสูงสุด ที่มีสิทธิอำนาจและหน้าที่ราชการครอบคลุมทั้งประเทศ ด้วยลักษณะเช่นนี้ การประกาศใช้ พรบ.ฉุกเฉิน โดย ผู้บริหารประเทศ ถึงแม้จะเป็นสิทธิการกระทำ แต่ขาดเหตุผลอันชอบธรรม ตามบัญญัติ รธน. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สภาวะฉุกเฉินมิได้เริ่มต้นตามลำดับขั้นตอน คือจากรายงานของ จนท.ผู้รับผิดชอบในพื้นที่ นั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้วยการอำนวยความสะดวก ก็ยังเป็นเหตุผล ตรงกันข้ามกับความจำเป็น ในการประกาศใช้ พรบ.ฉุกเฉิน ฉนั้นความเสียหายต่างๆ ที่บังเกิดจาก การประกาศใช้ พรบ.ฉุกเฉิน จะอยู่ที่ผู้ประกาศ (รัฐบาล) เป็นหลัก ส่วนการกระทำที่เป็นความผิด ตามนิติกฎหมายอาญา ยังจะอยู่ในความรับผิดชอบทางแพ่งและอาญา จากผู้สั่งจนถึงผู้กระทำอีกด้วย
ตรงกันข้าม กลุ่มชุมนุม ที่มีการกระทำผิด ในหลายรูปลักษณะ แต่จะรับผิดชอบในกรณี ความผิด ตามนิติกฎหมายอาญา โดยจะต้องมีส่วนลด ขอบข่ายการลงอาญา เนื่องจากการล๊ะเลย การปฎิบัติหรือละเว้น หน้าที่ราชการ ของ จนท.ราชการ อีกด้วย ส่วนในกรณี ใช้พื้นที่ผิดจุดประสงศ์ จากการสมยอมของ จนท.ควบคุมบริหารพื้นที่ จะถือเอาความผิดมิได้ ฉนั้นคำสั่ง จับกุม หรือดำเนินคดี โดย ศอฉ. ถึงแม้ว่าจะอ้างสิทธิอำนาจ ตาม พรบ.ฉุกเฉิน ก็ตาม แต่เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วย บัญญัติ รธน. และนิติกฎหมายอาญา หรือสรุปได้ว่า การปฎิบัติการ ของ ศอฉ. รวมทั้ง การประกาศใช้ พรบ.ฉุกเฉิน เป็นการใช้สิทธิอำนาจโดยไม่ชอบธรรม
คุณ Aromvao ครับ ผมคิดว่า ผมเข้าใจกับความรู้สึก ของผู้ถูกละเมิดสิทธิ์ และที่ได้รับความเสียหาย จากการชุมนุมที่ผ่านมา แต่การเรียกร้องให้ชดเชย หรือให้เกิดความสงบในสังคมประชาธิปไตย (กฎหมู่) มีความจำเป็นที่จะต้อง ทำความเข้าใจถึงโครงสร้างและระบบการ ครับ ในเมื่อ ฝ่าย รบ. ใช้สิทธิอำนาจ แต่ขาดลักษณะชอบธรรม และประชาชนผู้ขาดสิทธิอำนาจ แต่ไม่ทราบความชอบธรรมที่มี ก็ไม่แปลกที่ทำให้ สังคมมาอยู่ในสภาวะเช่นนี้ นั่นเองครับ
เลิกเถอะครับ พวกคุณ พวกผม ผมเป็นคนไทยคนหนึ่ง เท่านั้นครับ
แก้ไขเมื่อ 02 ธ.ค. 54 22:14:56