1. ตอบคุณเพลิงชมพู
กระทู้ที่ P11410451 นั้น แย้งเรื่องที่มีผู้กล่าวหาว่า ลำพังการนำกำลังทหารติดอาวุธเข้ามาควบคุมฝูงชนนั้นถือเป็นการกระทำความผิดแล้ว แต่เรื่องที่คุณยกมานั้น เป็นขั้นต่อไปจากการนำกำลังทหารติดอาวุธเข้ามา คือเมื่อทหารได้ลงมือปฏิบัติการณ์จริงๆ
โดยคุณถามว่า ...แต่ในการสลายการชุมนุม ผู้กระทำได้มีการชักอาวุธปืนขึ้นมา มีการกระชากลูกเลื่อนแน่ๆ อยู่แล้ว แต่ถามว่ามีใครขัดขวางหรือไม่ กระสุนได้ถูกยิงออกมาหรือไม่ และหลังจากนั้นมีคนตายหรือไม่ แล้วอย่างนี้ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จหรือไม่
ตอบ กรณีที่คุณยกตัวอย่างมา การยิงของทหารจะเป็นความผิดหรือไม่ หรือเป็นความผิดที่ต้องรับโทษหรือไม่ ขึ้นกับข้อเท็จจริงว่า ยิงออกไปเพราะอะไร
หากยิงออกไปเพราะอยู่ในสถานการณ์ที่จำเป็นเพื่อป้องกันชีวิตและความปลอดภัยของตนเองหรือผู้อื่น หรือกระทำไปเพื่อป้องกันทรัพย์สินของราชการหรือของบุคคลอื่น หากทำไปพอสมควรแก่เหตุ เช่นนี้ ประมวลกฏหมายอาญาถือเป็นการกระทำผิดที่ไม่ต้องรับโทษ แต่หากกระทำไปภายใต้อำนาจของพรก.ฉุกเฉิน ผู้กระทำตามหน้าที่ก็ไม่ต้องรับผิดเลย แต่หากกระทำโดยลุแก่อำนาจ หรือลุแก่อารมณ์ย่อมต้องรับผิดต่อกฎหมายอาญา และพรก.ฉุกเฉินก็ไม่คุ้มครองเพราะย่อมเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ
2.ตอบคุณเติ้ง 1234
การที่มีการเบิกอาวุธสงครามและกระสุนจริง รวมทั้งสไนเปอร์มาใช้ ไม่ใช่การแสดงถึง "เจตนา" จะให้เกิดการทำผิดกฎหมายอย่างที่คุณคิดหรอกครับ มันเป็นเพียงการแสดง "เจตนา" จะใช้อำนาจทางทหารมาควบคุมและปราม ผู้ที่กำลังกระทำผิดกฎหมายในเวลานั้น เท่านั้น และขั้นตอนนี้ ตามกฏหมายถือว่าอยู่ห่าวจากผลที่จะเกิด คือการเสียชีวิตของอาวุธ ดังรายละเอียดในนี้ คลิก
การแสดงเพียงแค่ "เจตนา" ในลักษณะนี้ ย่อมไม่ใช่ความผิด และเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้อย่างถูกต้อง แต่อาวุธสงครามและกระสุน ตลอดจนสไนเปอร์ที่นำออกมาจะถูกใช้อย่างถูกกฎหมายหรือไม่ถูกกฎหมาย ย่อมต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในขั้นต่อไป ในขณะที่มีปฏิบัติการณ์และจากเอกสารหลักฐานว่า มีคำสั่งให้ทำร้ายประชาชนเช่นที่กล่าวหากันจริงหรือไม่
หรือมีคำสั่งแค่ ให้ใช้อาวุธเพียงเท่าที่จำเป็นตามกฎการใช้กำลังสากลที่ศอฉ.ได้แถลง
แต่ขั้นตอนการเบิกอาวุธและกระสุนจริงหรือการใช้สไนเปอร์นี้ มิเพียงพอที่จะสรุปกล่วหาผู้ใดว่ากระทำความผิดหรือกำลังจะกระทำความผิด เหมือนดังที่ยกตัวอย่างมากว่าสามครั้งในวันนี้แล้วเรื่องภาคใต้ และขอยกเปรียบเทียบซ้ำอีกครั้งว่า ย่อมเหมือนกับการเบิกอาวุธสงครามและกระสุนจริงเพื่อไปใช้ในพื้นที่ภาคใต้ ย่อมไม่ใช่การแสดงถึง "เจตนา" จะให้เกิดการทำผิดกฎหมายมิใช่หรือ หรือกำลังจะไปฆ่าผู้อื่นในภาคใต้ ฉันใดก็ฉันนั้น
ดังกล่าวแล้ว ลำพังการใช้กำลังทหารติดอาวุธหรือการนำสไนเปอร์เข้ามา จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต หากเรื่องเป็นไปตามนี้ คือ
1 ผู้ก่อความไม่สงบยอมสลายการชุมนุม หรือไม่เข้าปะทะกับเจ้าหน้าที่ด้วยอาวุธ
2.ไม่มีผู้ชุมุนมสร้างสถานการณ์เสียเองด้วยการแอบซุ่มทำร้ายประชาชนเพื่อป้ายความผิด
3.ไม่มีเจ้าหน้าที่ลุแก่อารมณ์หรือลุแก่อำนาจ ทำร้ายประชาชนทั้งๆที่ศอฉ.ไม่ได้มีคำสั่ง
ดังนั้น การที่มีการเบิกอาวุธสงครามและกระสุนจริง รวมทั้งสไนเปอร์มาใช้ โดยตัวของมันเองแล้ว เป็นเพียงการแสดง "เจตนา" จะใช้อำนาจทางทหารมาควบคุมและปรามผู้ที่กำลังกระทำผิดกฎหมายในเวลานั้น เท่านั้น ส่วนการลงมิอปฏิบัติของทหาร จะผิดกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องของการกระทำขั้นตอนต่อไป ซึ่งตรงนี้ ย่อมต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริง ว่าได้มีการสั่งการให้ใช้กำลังทหารที่ว่ามานี้ ไปโดยถูกต้องหรือไม่ มีหลักฐานคำสั่งให้ฆ่าประชาขนหรือไม่ การปฏิบัติ หากได้ทำไปเกินกว่าเหตุเพราะผู้ใดสั่ง หรือทหารลุแก่อำนาจเอง
หรือมีเพียงแค่คำสั่งให้ทหารใช้อาวุธเท่าที่จำเป็นได้ตามกฎการปะทะอันเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุ ซึ่งหากเป็นกรณีนี้ ผู้สั่งทั้งมาร์คและสุเทพ ย่อมพ้นผิดตามที่พรก.สถานการณ์ฉุกเฉินที่ให้ความคุ้มครองไว้