+++ตอบคุณ POE จาก P11426471หน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ และการขัดกันระหว่างประโยชน์ ตามกฏหมายปปช. +++
|
 |
คุณ POE ครับ มาตรา ๑๐๐ บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดดำเนินกิจการ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจ กำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี ส่วนที่คุณตั้งข้อสังเกตุๆไว้ในกระทู้ P11426471 ผมขอไล่เรียง เรื่องเป็นขั้นตอนตอบดังนี้
คำถาม ธนาคารแห่งประเทศไทย แม้ไม่ใช่ส่วนราชการ ถือเป็นหน่วยงานของรัฐตามพรบ.ปปช.หรือไม่ ตอบ เป็น อย่างแน่นอน เพราะหน่วยงานของรัฐตามรพบ.ปปช.มิได้จำกัดเอาเฉพาะแต่ หน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการ อย่างที่คุณตั้งข้อสังเกตุ เพราะมาตรา 100 เอง บัญญัติว่า หน่วยงานของรัฐเฉยๆ เท่านั้น ซึ่งปกติหน่วยงานของรัฐจะถูกกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งมีออกมาหลายฉบับ แต่สามารถสรุปรวมได้ดังนี้คือ หน่วยงานของรัฐตามกฏหมาย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ ดังนี้
- ส่วนราชการ หมายถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบให้บริการสาธารณะทางปกครองซึ่งเป็นภารกิจหลักของรัฐ ให้บริการเป็นการทั่วไปและไม่มุ่งกำไร - รัฐวิสาหกิจ หมายถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหารายได้ ต้องสามารถเลี้ยงตัวเองจากการดำเนินงานเชิงพาณิชย์ - องค์การมหาชน หมายถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบบริการสาธารณะทางสังคมและวัฒนธรรม ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร เป็นนิติบุคคลและมีความสัมพันธ์กับรัฐ รัฐจัดตั้ง - หน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ หมายถึงองค์การของรัฐที่เป็นอิสระ ซึ่งเป็นหน่วยงาน รูปแบบใหม่ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุม กำกับดูแลกิจกรรมของรัฐตามนโยบายสำคัญที่ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย
ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นหน่้วยงานของรัฐ ตามกฏหมายมาก่อน และตามพรบ.ปปช.เน่นอน ( คลิก )
คำถาม ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานของรัฐที่นายกรัฐมนตรี มีอำนาจ กำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ ตามความหมายของพรบ.ปปช. หรือไม่ ตอบ เป็น ดังจะเห็นได้จาก
1. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ซึ่งมีอำนาจในการตีความกฎหมายเพื่อใช้กับคดีนี้ได้วินิจฉัยไว้ในเบื้องต้น บทบัญญัติมาตรา 100 นี้ ...มิได้จำกัดว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นจะต้องมีอำนาจกำกับดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีในหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ โดยตรง โดยการตีความแบบนี้เป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อปรามและป้องกันการใช้ช่องทางอ้อมแบบนี้ เข้าหาผลประโยชน์ 2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ที่คุณยกมานั้น เป็นส่วนของกฏหมายที่ระบุนายกรัฐมนตรีมีอำนาจควบคุมรัฐมนตรี 3. ด้วยอำนาจตาม พรบ.ธนาคารแห่งประเทศไทย รัฐมนตรี มีอำนาจควบคุมการรการกองทุน โดยมีอำนาจที่จะแต่งตั้งและปลดกรรมการกองทุนฟื้นฟู ตามมาตรา ๒๙ และตามมาตรา ๒๙ เอกาทศ ส่วนปลัดกระทรวงการคลังเป็นข้าราชการประจำ ที่เป็นหนึ่งในกรรมการกองทุนโดยตำแหน่ง ก็อยู่ในฐานะผู้ใต้บังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ 4. จึงเป็นส่วนของกฎหมาย 2 ฉบับ คือในข้อ 2 และข้อ 3 ที่สร้างความต่อเนื่องในการควบคุมจากนายกรัฐมนตรีไปยังกองทุนเพื่อการฟื้นฟู
คำถาม คุณถามว่า “พิสูจน์ว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการจริง หรือมีกรณีตัวอย่างเทียบเคียงที่เกิดขึ้นจริง” คำตอบ คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวเนื่องกับกฎหมายพรบ.ปปช. ที่มีเจตน์จำนงค์ป้องกันการประพฤติมิชอบ แสวงหาผลประโยชน์หรือเอื้อประโยชน์ จากช่องอำนาจทางราชการมีให้ไว้ คดีนี้มิใช่ที่คดีที่เกี่ยวกับการปกครองของศาลปกครอง
ดังนั้น การที่นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการเช่นธนาคารแห่งประเทศไทยจริงหรือไม่ จึงไม่ได้เป็นสาระสำคัญในคดีนี้เท่ากับว่า นายรัฐมนตรี มีช่องอำนาจทางกฎหมายที่มีให้ไว้ ในการที่อาจจะใช้ช่องอำนาจที่มีอยู่นั้น เข้าแสวงหาผลประโยชน์หรือเอื้อประโยชน์โดยมิชอบได้หรือไม่
ในกรณีนี้ศาลพบว่าช่องอำนาจตามกฏหมายที่ว่านั้นมีอยู่จริง กรณีจึงผิดหลักมาตรา 100 โดยช่องอำนาจที่ว่านั้นคือ การที่นายกฯสามารถปลดเปลี่ยนตัวรมต.คลังได้ สามารถสั่งการให้รมต.คลังดำเนินการใดๆได้ และการที่รมต.คลังสามารถปลดเปลี่ยนกรรมการกองทุนเกือบทั้งหมดได้ ดังนั้น หากภรรยาของรมต.คลังหรือภรรยาของนายกฯ เข้ามาเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียกับกรรมการกองทุน เฉพาะแต่กรรมการกองทุนที่อาจจะเอื้อประโยชน์ให้แก่ภรรยาของรมต.คลังหรือภรรยาของนายกฯ เท่านั้นที่อาจจะคงอยู่ในตำแหน่งได้ขณะที่มีการประมูล
กรณีแบบนี้ถือว่าเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ตามหลักของ หมวด ๙ ในพรบ.ปปช. ที่กฏหมายห้ามมิให้เข้ามายุ่งเกี่ยวกระทำ ผู้ใดเข้าเข้ามายุ่งเกี่ยวหรือกระทำการเช่นนี้ จึงถือว่ามีความผิด
ส่วนประเด็นที่คุณสอบถาม ควต้องไปสอบถามศาลปกครอง แต่คดีนี้มิใช่เรื่องทางการปกครอง แต่เป็นเรื่องปปช.ที่จะปรามและปราบ การประพฤติมิชอบที่อาจจะมีการใช้ช่ิองอำนาจใดๆ ในการเื้อื้อประโยชน์ต่อกัน
จากคุณ |
:
thyrocyte
|
เขียนเมื่อ |
:
7 ธ.ค. 54 11:26:47
A:58.137.0.146 X:
|
|
|
|